พลวัตของคุณภาพชีวิตและอาชีวอนามัยของนิคมโรคเรื้อนในประเทศไทย

Main Article Content

อาจินต์ ชลพันธุ์
อำนาจ จำรัสจรุงผล
โกเมศ อุนรัตน์

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของชุมชนผู้คนในนิคมโรคเรื้อนของประเทศไทยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่มนุษย์สามารถดำรงอยู่ในสถานการณ์ภาคบังคับกับข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และข้อจำกัดทางด้านร่างกายที่ผู้ป่วยโรคเรื้อนจำเป็นต้องมีวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอด


       โดยพบว่าผู้ป่วยในนิคมโรคเรื้อนมีข้อจำกัดหลายประการในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและความจำเป็นขั้นพื้นฐานด้านการสาธารณสุข แต่มีการพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่โดยตอบสนองความต้องการของตนเพื่อการอยู่รอดและการพัฒนาอาชีวอนามัยโดยภูมิปัญญาและสัญชาติญาณ พบว่ามีการพัฒนาที่เป็นพลวัตแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะได้แก่ (1) ระยะการเรียนรู้ (2) ระยะการสร้างวิถี (3) ระยะการพัฒนาและประยุกต์ ทั้ง 3 ระยะถูกพัฒนา จากประสบการณ์ ความกดดัน ที่เป็นแรงผลักที่ทำให้เกิดพลวัตและการพัฒนาร่วมกันทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นการพัฒนาระบบทางกายภาพเพื่อความอยู่รอด บทความวิชาการนี้เน้นไปในด้านการอยู่อาศัย ด้านสาธารณสุข และอาชีวอนามัยโดยตรง ซึ่งการพัฒนาของมนุษย์จะเน้นการพึ่งพาตนเองและพึ่งพาธรรมชาติเป็นปัจจัยหลัก และเป็นพลวัตการพัฒนาเพื่อเอาชีวิตรอดจากการเป็นโรคเรื้อน เป็นบทเรียนที่ผ่านมาของผู้ป่วยโรคเรื้อนในนิคมโรคเรื้อน แม้ว่าปัจจุบันจะสามารถควบคุมโรคเรื้อนได้แล้วก็ตาม เพื่อเป็นบทเรียนให้กับโรคติดต่ออื่นๆ ที่มีการระบาดอยู่ในทุกๆ ช่วงชีวิตของเรา

Article Details

How to Cite
ชลพันธุ์ อ., จำรัสจรุงผล อ., & อุนรัตน์ โ. (2024). พลวัตของคุณภาพชีวิตและอาชีวอนามัยของนิคมโรคเรื้อนในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 18(3), 190–199. https://doi.org/10.14456/jbidi.2024.18
บท
บทความวิชาการ

References

Department of Disease Control. Recommendations for the diagnosis and treatment of leprosy. 7thed. Bangkok: Department of Disease Control; 2010. p.1-154. (in Thai)

Sirikwanchai S. Ecological Analysis to Determine Human Favorability: A Case Study of Koh Kret Community, Nonthaburi. [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 1998. (in Thai)

Nilpanit C. and Phongsathorn K. The participation of citizens in rural development. In the Teaching Document, General Knowledge for Village Sub-District Development, Unit 8. 3rd ed. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 1989. p. 1-131. (in Thai)

Ramasoota T. History of leprosy in Thailand. 1st ed. Samut Prakan: Master Key; 2016. p. 1-399. (in Thai)

Bhumibol Adulyadej the Great, His Majesty. Occupational Safety, Health and Environment Act [Internet]. Thailand: Government gazette; 2011 [cited 2021 Jan 8]. 22 p. Available from: http://www3.mol.go.th/sites/default/files/laws/th/safety-statute-2554.pdf

Bureau of Occupational and Environmental Diseases Department of Disease Control. Manual for quality assessment in accordance with the standards for the provision of occupational health and environmental medicine services [Internet]. Thailand: The Agricultural Cooperative of Thailand Printing Press; 2017 [cited 2021 Jan 9]. 121 p. Available from: http://203.157.123.7/pimpa/wp-.pdf

Morrow, Baker H. A Dictionary of Landscape Architecture. Albuquerque. 1st ed. New Mexico: University of New Mexico Press; 1987.

Sasakawa Memorial Health Foundation. The 2nd International Workshop on the Preservation of Hansen’s Disease/Leprosy History and Heritage. In: Yamaguchi K, Hoshino N, Tobiki A, editors. Sasakawa Memorial Health Foundation. The 2nd International Workshop on the Preservation of Hansen’s Disease/Leprosy History and Heritage; 2014 October-November 31st- 1st ; Sasakawa Memorial Health Foundation, Tokyo, Japan; 2015. p. 1-80.

World Health Organization. Leprosy disabilities: magnitude of the problem. Weekly Epidemiological Record [Internet]. 1995 [cited 2021 Jan 5]; 70(38): 269-275. Available from:. https://apps.who.int/iris/handle/10665/229537?locale-attribute=en&

ThaiHealth. Situation of leprosy patients in Thailand [Internet]. Thailand: ThaiHealth; 2015 [cited 2021 Jan 5]. 1 p. Available from: https://www.thaihealth.or.th/Content/30249-สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเรื้อนในไทย.html