ความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อการให้บริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติภายใต้ระบบประกันสุขภาพ ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

จริยา ดำรงศักดิ์
เตือนใจ นุชเทียน
แสนสุข เจริญกุล
สุทัศน์ โชตนะพันธ์

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อการให้บริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติภายใต้ระบบประกันสุขภาพในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการเฝ้าระวังการดูแลสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ โดยการสัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบต่อการให้บริการด้านสุขภาพในกลุ่มแรงงานข้ามชาติโดยตรง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และนักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 48 ราย ดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 8 พฤษภาคม 2564 สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแพทย์ร้อยละ 41.7 พยาบาลร้อยละ 33.3 นักวิชาการสาธารณสุข/เจ้าพนักงานสาธารณสุข ร้อยละ 18.8 โดยมีบทบาทเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยโรค และให้แผนการรักษามากที่สุด สำหรับปัญหาที่พบในการระบุตัวตนและตรวจสอบสิทธิ์การรักษามากที่สุดคือ ใช้บริการข้ามเขตนอกพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนไว้ ร้อยละ 30.2 รองลงมาคือ ไม่มีชื่อผู้เอาประกันตน ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางสถานพยาบาล ร้อยละ 27.9 และนายจ้างไม่ประสานงานหรือไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ร้อยละ 16.3 ส่วนปัญหาของระบบที่สำคัญ 3 ลำดับแรกในการดูแลแรงงานข้ามชาติได้แก่ 1. ภาระค่ารักษาที่เบิกจ่ายไม่ได้ในรายอนาถาหรือไม่มีเงินจ่าย รองลงมาคือ 2. บุคลากรสุขภาพต้องทำงานหนักขึ้น 3. โรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำ มีโอกาสแพร่ระบาดและควบคุมได้ยาก สำหรับความเห็นเรื่องปัญหาที่ควรแก้ไขเร่งด่วนในการบริการแก่แรงงานข้ามชาติที่สำคัญ คือ 1. การแก้ปัญหาเรื่องการเพิ่มภาระงานของบุคลากรด้านสาธารณสุข รองลงมาคือ 2. การป้องกันการเกิดโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ 3. การป้องกันการระบาดของโรคในเด็กที่ติดตามมากับแรงงานข้ามชาติ 4. การสูญเสียงบประมาณในการดูแลรักษาแรงงานข้ามชาติ ตามลำดับ
          จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแรงงานข้ามชาติยังคงเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถป้องกันควบคุมโรคโดยเฉพาะโรคระบาดให้มีความเหมาะสม และต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วย

Article Details

How to Cite
ดำรงศักดิ์ จ., นุชเทียน เ., เจริญกุล แ., & โชตนะพันธ์ ส. . (2023). ความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อการให้บริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติภายใต้ระบบประกันสุขภาพ ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 17(2), 104–115. https://doi.org/10.14456/jbidi.2023.10
บท
บทความวิจัย

References

Eastern Economic Corridor (EEC) Office. Eastern Economic Corridor : EEC. August 2018. p.1-8. (in Thai)

Region Development Plan: 2017-2022 (Review Version). [internet]. 2019. [cited 2021 Mar 1]. Available from: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid= 9844 (in Thai)

The Committee of Eastern Economic Corridor Environmental Planning. Eastern Economic Corridor Environmental Planning, 2018-2022 [internet]. 2019. [cited 2021 Apr 14]. Available from: http://www.onep.go.th/ (in Thai)

Office of Work Permit. Monthly Report of Migrant Labour Statistics. [internet]. 2020. [cited 2021 Mar 3]. Available from: https://www.doe.go.th/prd/alien/statistic/param/site/152/cat/82/sub/0/pull/category/view/list-label (in Thai)

Thongpan S. Body of Knowledge about Transnational Migrant and Health: The Result of Research Synthesis of Transnational Migrant Labour in. Thai Journal of Health Education 2020; 43(2): 1-17. (in Thai)

Kesornthong S, Samakkeekarom R, Kunuphakarn R. Occupational health problems among migrant workers in Samut Sakhon Province. Disease Control Journal 2017; 43(3): 255-269. (in Thai)

Mongmuang S. (2014). The Foreign Workers Management: A Case Study in Chiang Rai Province. Journal of Social Science 2014; 7(2): 1-18. (in Thai)

Charoenpo N. Human Resource Development: Migrant Worker with One Stop Service, Bangkok Metropolitan and Vicinity, Thailand. Journal of the Association of Researchers 2017; 22(1): 230. (in Thai)