พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดโควิด 19 อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

นาตยา ปริกัมศีล

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของบุคลากร 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้ และทัศนคติด้านความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ กับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง คือ  แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 3 หน่วยงาน คือ โรงพยาบาลโพธาราม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธาราม และโรงพยาบาลเจ็ดเสมียน ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด 19จำนวน 114 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ Correlation ผลการวิจัย พบว่า


       1) ระดับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุข เกี่ยวกับความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ภาพรวมมากกว่าร้อยละ 80 ถึง ร้อยละ 62.3 ( = 12.87, SD = 1.41), มีทัศนคติในระดับมาก (= 1.57, SD = 0.29) และมีพฤติกรรมอยู่ในระดับสูงที่สุด (= 3.24, SD = 0.53)


         2) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของบุคลากรตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในอำเภอโพธาราม เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตำแหน่ง และหน่วยงานพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


        3) ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01)


         ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ ทัศนคติเชิงบวก ส่งผลต่อพฤติกรรมที่เหมาะสม ในการป้องกันการติดเชื้อ ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมความตระหนัก ทัศนคติแก่บุคลากรอยู่เสมอ

Article Details

How to Cite
ปริกัมศีล น. (2022). พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดโควิด 19 อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 16(2), 37–47. https://doi.org/10.14456/jbidi.2022.10
บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Novel coronavirus: China [Internet]. 2020. [Cited 2020 Apr 15]. Available from: https://www.who.int/csr/don/ 12-january-2020-novel-coronavirus-china/en/.

Bureau of Epidemiology, department of disease control, Ministry of Public Health. Situation of Novel coronavirus (COVID-19) [internet]. 2020 [Cited 2020 Apr 15]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php/10-May-2020. (in Thai)

Photharam hospital. Caring for patients guidelines for managing patients with COVID-19 in the Photharam hospital 2020: Incident Command System committee of Photharam hospital. Ratchaburi: Photharam hospital; 2020. (in Thai)

Junsukon E., Kpracha A. the effectiveness of an empowerment program towards self-care competency among community dwelling elders. PSRU J Science Tech. 2017; 2(1): 24-34. (in Thai)

Pongpumma L., Himanunto S. Knowledge and self care behavior among type 2 diabetes living in Bangsai, Maung, Chonburi, Chonburi Province. J HCU. 2017; 20(40) :67-76. (in Thai)

Boonbamroe S. Work Safety Behaviors of Nurse in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital, Nakhon Ratchasima. J Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima 2014; 20 (2): 83-91. (in Thai)

Department of medical services, Ministry of Public Health. Operational guidelines for service modification in the covid-19 outbreak situation [Internet]. 2020. [Cited 2020 Apr 10]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia//10-Apr-2020. (in Thai)

Bunrodrux J. Factors predicting patient safety competence of professional nurse in community hospitals, Chon Buri Province. Royal Thai Navy Med. J.2019; 46(3): 552-65. (in Thai)

Thongaram P, Thungjaroenkul P, Nuntsupawat A. Work Safety Management System for Nurses: A Case Study of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Nursing hos. 2017: 44(3); 134-43. (in Thai)

Schwartz J, King CC, Yen MY. Protecting Healthcare Workers During the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Outbreak: Lessons From Taiwan's Severe Acute Respiratory Syndrome Response. Clin Infect Dis. 2020 Jul 28; 71(15): 858-860. doi: 10.1093/cid/ciaa255.

Prasansong N. Knowledgement of occupational health and safety in work of the garbage collector Klongtoey District Office Bangkok [dissertation]. Bangkok: Thammasat University; 2016. (in Thai)

Laungwasutha T. Knowledge, Attitudes and Safety Practices in the Workplace of Employees a Case Study of Cotco Metalworks Co, Ltd, Rayong Province [dissertation]. Bangkok: National Institute of Development Administration, NIDA; 2014. (in Thai)

Lan J, Song Z, Miao X, et al. Skin damage among health care workers managing coronavirus disease-2019. J Am Acad Dermatol. 2020; 82: (5); 1215-1216.

Santiprasitkul S, Junlapeeya P, Boonyapak P, Srimanthayamas V. Patient Safety Culture: Perception of State Hospital Nurses. J Royal Thai Army Nurses 2018; 20(2): 327-33. (in Thai)

Kowtrakul S. Educational Psychology. 12nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2016. (in Thai)

Suwan P. Attitude: Change Measurement and Health Behavior. 3rd ed. Bangkok: Odeon store; 1999. (in Thai)