การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรต โดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เทศบาลตำบลโพนแพง จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เทศบาลตำบลโพนแพง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต่อความรู้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และระดับน้ำตาลในเลือด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม (The One–Group Pretest–Posttest Design) จำนวน 39 คน เข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Paired sample T-Test กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประกอบด้วย 1) ระบบการสร้างความรู้ 2) กลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบ ภายหลังการนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปสู่การปฏิบัติ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น (p < 0.001) ระดับคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารภาพรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยมีคะแนนพฤติกรรม 1) ชั่งหรือตวงข้าวก่อนรับประทาน 2) หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้จนอิ่ม 3) นับหน่วยคาร์โบไฮเดรตในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ 4) จำกัดปริมาณอาหารจำพวกข้าว แป้ง 5) งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.013) และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้ความรู้ อยู่ในระดับสูง ( =4.5, SD=0.6) จากผลการวิจัยในครั้งนี้อาจเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี
Article Details
References
Srivanichakorn S. Morbidity and mortality situation of non-communicable diseases (diabetes type 2 and cardiovascular diseases) in Thailand during 2010-2014. Disease Control Journal 2017; 43(4): 379-390. (in Thai).
Division of Noncommunicable Diseases. Number and rate of patients in NCDs 2015 [Internet]. 2015 [cited 2017 Aug 23]. Available from: http://thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid =32&gid=1-020 (in Thai)
Sakon Nakhon Provincial Health Office. Chronic NCDs Report 2010 – 2014 [internet]. 2014 [cited 2020 November 25]. Available from: https://www.skko.moph.go.th/dward/document_file/ncd/ncd_stat_link/20140127170225_964532898.rar
Aekplakorn W, Chariyalertsak S, Kessomboon P, Assanangkornchai S, Taneepanichskul S, Putwatana P. Prevalence of diabetes and relationship with socioeconomic status in the thai population: national health examination survey, 2004–2014. J Diabetes Res 2018 Mar 1; 2018(1654530): 1-8. Doi: 10.1155/2018/1654530.
Norabin N, Chanpen U, Sowat C. The experience in controlling blood sugar levels for type 2diabetic patients. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand 2020; 10(2): 351-365. (in Thai)
Ronghanam S. The development of a holistic nursing service system for diabetic patients receiving diabetes care at mahasarakham hospital. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North-Eastern Division 2009; 27(3): 22-30. (in Thai)
Wattanakorn K, Deenan A. Developing the eating behavioral modification program for obese diabetics. Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health 2013; 27(2): 143-155. (in Thai)
Kasikun R, Muktabhant B. Assessment of carbohydrate counting counseling in the Type 2 diabetic patients. Srinagarind Med J 2013; 28(4): 442-450. (in Thai)
Dzed L. Development of nutrition educational tool for diabetic patients in Bhutan based on the basic level of carbohydrate counting concept [dissertation]. Bangkok: Mahidol University; 2009. (in Thai)
Zipp C, Roehr J T, Weiss L B, Filipetto F. Impact of intensive nutritional education with carbohydrate counting on diabetes control in type 2 diabetic patients. Journal of Patient Preference and Adherence 2010 Dec 30 ; 5: 7–12. doi: 10.2147/PPA.S13907. PMID: 21311697
Ewers B, Bruun JM, Vilsbøll T. Effects of basic carbohydrate counting versus standard outpatient nutritional education (The BCC Study): study protocol for a randomised, parallel open-label, intervention study focusing on HbA1c and glucose variability in patients with type 2 diabetes. BMJ Open 2019 Nov 21; 9(11): e032893. doi: 10.1136/bmjopen-2019-032893.
Martins MR, Ambrosio AC, Nery M, Aquino RD, Queiroz MS. Assessment guidance of carbohydrate counting method in patients with type 2 diabetes mellitus. Prim Care Diabetes 2013 May 20; 8(1): 39-42. Doi: 10.1016/j.pcd.2013.04.009.
Chaiyakhot J, Somwang S, Hathaidechadusadee A, Areevut C, Saetung S, Saibuathong N, et al. Effects of Carbohydrate Counting on Glycemic Control in Type 1 Diabetes Patients: Clinical Experience in Thailand. J Med Assoc Thai 2017; 100(8): 856-63. (in Thai)
Lopes Souto D, Lopes Rosado E. Use of carb counting in the dietary treatment of diabetes mellitus. Nutr Hosp 2010; 25(1): 18-25.
Wibunrattanasri N. Development of the self-help guidelines for meal planning using carbohydrate counting for diabetes care [dissertation]. Bangkok: Mahidol University; 2002. (in Thai)