การพัฒนาแบบวัดการจัดการนวัตกรรมทางการพยาบาล สำหรับผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างแบบวัดการจัดการนวัตกรรมทางการพยาบาลของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลทั่วไปขนาด สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 274 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่พัฒนาขึ้นตามทฤษฎีของทิดด์และแบสท์ วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน (CVI = .90) ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้ของการจัดการนวัตกรรมทางการพยาบาลประกอบด้วยข้อคำถาม 23 ข้อมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดกลยุทธ์และแผนกลยุทธ์ในการจัดการนวัตกรรม (β = .93) มี 5 ตัวบ่งชี้ 2) การจัดการกระบวนการนวัตกรรมและทรัพยากรนวัตกรรม (β = .88) มี 4 ตัวบ่งชี้ 3) การจัดการองค์การนวัตกรรม (β = .92) มี 5 ตัวบ่งชี้ 4) การจัดการความเชื่อมโยงองค์การการพยาบาลกับภายนอก (β = .87) มี 4 ตัวบ่งชี้และ 5) การจัดการความรู้(β = .83) มี 5 ตัวบ่งชี้ ในแต่ละองค์ประกอบมีค่าเป็นบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 พบว่า โมเดลแบบวัดการจัดการนวัตกรรมทางการพยาบาลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 326.87, df = 212, c2 /df = 1.5, GFI = .91, AGFI =.90, CFI = 1.0, RMSEA = .04, RMR = .02, SRMR =.04) สรุปได้ว่าเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมีความเที่ยงและความตรงสามารถนำไประยุกต์ใช้ในการวัดประเมินผลการจัดการนวัตกรรมทางการพยาบาลของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นในองค์กรการพยาบาลได้
Article Details
References
2. International Council of Nurses. Delivering Quality, Service Communities: Nurses Leading Care Innovations. International nurses day. 3, place Jean Marteau, 1201 Geneva, Switzerland. 2009.
3. Singchungchai,P . Innovative leadership in Nursing Management.6(1),The southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2009. 260 – 267. (in Thai)
4. Bessant, J. R., & Tidd, J. Innovation and entrepreneurship. West Sussex: John Wiley & Sons. 2007.
5. Cormican, K and D O’Sullivan. Auditing best practice for effective for product innovation management. Technovation, 24(10), 2004. 819–829.
6. Tidd, J., Bessant, J., & Pavitt, K. Managing innovation: Integrating technological, market and organizational change. Chichester: John Wiley and Sons Ltd. 2005.
7. Goffin, K., & Mitchell, R. Innovation management: Strategy and implementation using the pentathlon framework. Palgrave Macmillan, Basingstoke. 2005.
8. Adams, R., Bessant, J., & Phelps, R. Innovation management measurement: A review. International Journal of Management Reviews, 8 (1) 21–47. 2006.
9. Smith, M., Busi, M., Ball, P., & Van der Meer, R. Factors influencing an organisations ability to manage innovation: A structured literature review and conceptual model. International Journal of Innovation Management, 12 (4), 655-676. 2008.
10. Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. Multivariate Data Analysis . (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall. 2014.
11. Tidd, J., & Bessant, J. Managing Innovation: Integrating Technological, Market, and Organizational Change. (4 th ed). West Sussex: 2009.
12. Tidd, J & Bessent, J. Management innovation. (5thed). West Sussex: Wiley. 2014.
13. Burns, N., and Grove, S. K. The practice of nursing research: Conduct, critique, & utilization (4th.ed.) Philadelphia: W.B. Saunders. 2001.
14. Nursing Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health National Nursing Service Strategy 2017 - 2021 in accordance with the 20 Year National Strategy Plan (Public Health). 1st edition, Bangkok. Printing organization for the delivery of goods and parcels. 2018.