สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ สถาบันบำราศนราดูร
Main Article Content
บทคัดย่อ
พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่จำเป็นต้องมีสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่สำคัญ การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ สถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ 5 คน กลุ่มที่ 2 คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายเปิด และ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ สถาบันบำราศนราดูร ประกอบด้วย สมรรถนะ 6 ด้าน คือ 1) สมรรถนะด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ 6 ข้อ 2) สมรรถนะด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ 13 ข้อ 3) สมรรถนะด้านการเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่ 8 ข้อ 4) สมรรถนะด้านการจัดการและประเมินผลลัพธ์ 10 ข้อ 5) สมรรถนะด้านการพัฒนาคุณภาพการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ 7 ข้อ และ 6) สมรรถนะด้านการสื่อสารและประสานงาน 7 ข้อ
ผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปพัฒนา และเพิ่มความรู้ ทักษะ และความสามารถของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่
Article Details
References
2. Spencer, L. and Spencer, S. Competency at work: models for superior performance. New York: John Wiley and Sons; 1993.
3. Satsin T. Emergency nurses’ competency in the provision of palliative care and related factors [Master of Nursing Science Degree Thesis]. Bangkok: Thamasart University; 2006. (in Thai)
4. Tumsawad T. Professional nurses’ competencies in caring for chronic illness patients in the general and regional hospitals, Ministry of Public Health. [Master of Nursing Science Degree Thesis]. Chonburi: Braham University; 2013. (in Thai)
5. Aree P, Kunaviktikul W. One health: how can nurse be Involved. Nursing j [Internet]. 2013 [cited 2019 September 21]; 40Suppl: 143-49. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/download/19061/16780/ (in Thai)
6. Tilley DS. Competency in nursing: A concept analysis. J Contin Educ Nurs. 2008; 39:58-64. doi: 10.3928/00220124-20080201-12. Source: PubMed PMID: 18323142.
7. Rebmann T, Carrico R. Consistent Infection prevention: vital during routine and Emerging Infectious Diseases care. OJIN 2017;22: Manuscript1. doi: 10.3912/OJIN.Vol22No01Man01. PubMed PMID: 28488751.
8. Niyomwit K. Competency of Infectious Control Ward Nurse [Master of Nursing Science Degree Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2013. (in Thai)
9. Niyomwit K., Prachusilpa G. Competency of Infectious Control Ward Nurse. JOPN [Internet] 2015 [cited 2019 July 22]; 7:154-65. Available from: https://he01.tci- thaijo.org/index.php/ /policenurse/article/view/41107 (in Thai)
10. Chunplin O. The expected competency of Nosocomial Infection surveillance of staff nurse in patient units. [Master of Nursing Science Degree Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2008. (in Thai)
11. Murphy DM, Hanchett M, Olmsted RN, Farber MR, Lee TB, Haas JP, et al. Competency in infection prevention: a conceptual approach to guide current and future practice. AJIC 2012; 40: 296-03. doi: 10.1016/j.ajic.2012.03.002. PubMed PMID: 22541852.
12. Unahalekhaka A. Surveillance and outbreak investigation of nosocomial infections. Chiangmai: Mingmueangnawarat; 2011.
13. Ministry of Public Health. Thailand Nursing and Midwifery Council. Announcement of Thailand Nursing and Midwifery Council: scope and performance of advanced practice nurse [Internet]. 2009 [cited 2019 December 24]. Available from: http://www. tnc.or.th/files/2010/02/page-125/__20344.pdf (in Thai)
14. Charnsawat C. A factor analysis of characteristics of professional nurses’ competencies in Community Hospitals Southern Thailand [Master of Nursing Science Degree Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2010. (in Thai)