การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาในโรงเรียนภายใต้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): แนวคิดและแนวปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ที่ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบมาก่อน การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาในโรงเรียน จึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งมีความฉลาดรู้ทางสุขภาพ ตลอดจนสามารถส่งต่อข้อมูลไปยังครอบครัวและชุมชนของตนเอง เพื่อลดโอกาสของการแพร่ระบาดของโรค
ภายใต้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นอกจากจะดำเนินการป้องกันควบคุมโรคในโรงเรียนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแล้ว ควรมุ่งเน้นให้นักเรียนมีระบบความคิด การเตือนตนเอง และการมีคุณธรรม เพื่อสามารถปรับตัวและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนในภาวะปกติ การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในกรณีที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด และการจัดการเรียนรู้ที่บ้านในกรณีที่มีการแพร่ระบาดขยายวงกว้างหรือรุนแรง
นอกจากนี้ควรจัดกิจกรรมพิเศษสำหรับนักเรียน ได้แก่ 1) อาสาสมัครนักเรียน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาสาสมัครนักเรียนป้องกัน COVID-19 และอาสาสมัครนักเรียนสื่อข่าวสาร COVID-19 โดยกลุ่มแรกทำหน้าที่ช่วยเหลือครูในการเผยแพร่ข้อมูล ออกแบบและจัดทำสื่อในการให้ความรู้และรณรงค์เพื่อป้องกันโรค ส่วนอาสาสมัครนักเรียนกลุ่มที่ 2 ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโรค ตรวจสอบแหล่งข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งต่อให้กับอาสาสมัครนักเรียนป้องกัน COVID-19 เพื่อนำไปจัดทำสื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากครูผู้รับผิดชอบ 2) การแนะแนวสุขภาพ เป็นการจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้คำแนะนำ คำปรึกษา และมีการเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อศึกษาต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและหารือกับผู้ปกครองของนักเรียน
แนวคิดและแนวปฏิบัติดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Article Details
References
He F, Deng Y, Li W. Coronavirus disease 2019: What we know? J Med Virol 2020 Mar 14; 92(7): 719-25. doi: 10.1002/jmv.25766.
Zhu N, Zhang D, Wang W, Li X, Yang B, Song j, et al. A novel coronavirus from patients with pneumonia in China, 2019. N Engl J Med 2020 Feb 20; 382(8): 727-33. doi: 10.1056/NEJMoa2001017.
Eurosurveillance Editorial Team. Note from the editors: World Health Organization declares novel coronavirus (2019-nCoV) sixth public health emergency of international concern. Euro Surveill 2020 Feb 6; 25(5): 200131e. doi: 10.2807/1560-7917.ES.2020.25.5.200131e.
World Health Organization. Naming the coronavirus disease (COVID-19) and the virus that causes it [Internet]. 2019 [cited 2020 May 27] Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/naming-the-coronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it
Worldometer. COVID-19 coronavirus pandenmic [Internet]. 2020 [cited 2020 Sep 8] Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus/
Wattanaburanon A, Piyaaramwong P. Health education and health development in the 21st Century. Chula Med J 2018; 62(5): 871-8. doi: 10.14456/clmj.2018.15. (in Thai)
Wattanaburanon A. Principle of health education. Bangkok: Odeon Store; 2013. (in Thai)
Guan W, Ni Z, Hu Y, Liang W, Ou C, He J, et al. Clinical characteristics of coronavirus disease 2019 in China. N Engl J Med 2020 Feb 28; 382(18): 1708-20. doi: 10.1056/NEJMoa2002032.
Wattanaburanon A. Development research of LOVE Model for enhancing comprehensive humanization: A research program for higher education students. JRM 2015; 28(2): 119-52. (in Thai)
Wattanaburanon A. LOVE Model and health education learning management. Journal of Liberal Arts, Maejo University 2020; 8(1): 233-45. (in Thai)
Piyarit R, Wongboonngam N, Kampol P. Effect of learning management of the LOVE Model on critical thinking ability of students in Phetchaburi Rajabhat University. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University 2019; 9(1): 220-25. (in Thai)
Piyarit R, Isarankura-Na-Ayudhya W. Effect of learning management of local curriculum by applying the LOVE Model on critical thinking ability and attitude toward local community: A case of Phetchaburi studies subject. OJED 2015; 10(1): 161-74. (in Thai)
Hurtubise L, Hall E, Sheridan L, Han H. The flipped classroom in medical education: Engaging students to build competency. Journal of Medical Education and Curricular Development 2015 Apr 27; 2: 35–43. doi: 10.4137/JMECD.S23895.
Bureekarn N, Wattanaburanon A. Effect of health education learning management using the flipped classroom approach on responsibility and learning achievement of lower secondary school. OJED 2014; 9(4): 768-84. (in Thai)
Wattanaburanon A, editor. Health guidance for better. Learning management in developing school health. Bangkok: Chulalongkorn University printing house; 2005. p. 56-66. (in Thai)