การประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตในเหตุการณ์ระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2560

Main Article Content

อภิญญา นิรมิตสันติพงศ์

บทคัดย่อ

          โรคอาหารเป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย จากเหตุการณ์การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การประเมินระดับความรุนแรงของผู้ป่วยและให้การรักษาอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษโดยใช้สัญญานเตือนภาวะวิกฤต (Nakornping Early Warning Signs score: NEWS score) ในเหตุการณ์ระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในกลุ่มผู้มาร่วมงานของวัดแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 80 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบรายงานการสอบสวนโรคและเวชระเบียนผู้ป่วย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป อาการทางคลินิก และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยที่เข้าได้กับนิยามของโรคอาหารเป็นพิษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง โดยใช้สถิติ Student’s t test, Mann-Whitney U test และ Chi–square test รวมทั้งวิเคราะห์ค่าความไว ความจำเพาะ ค่าการคาดหมายที่เป็นบวก ค่าการคาดหมายที่เป็นลบ และพื้นที่ใต้โค้ง ROC เพื่อหาความสามารถของ NEWS score ในการจำแนกผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากโรคอาหารเป็นพิษออกจากผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง


          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าได้กับนิยามของโรคอาหารเป็นพิษที่มีผลตรวจสัญญาณชีพและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ จำนวนทั้งสิ้น 80 ราย มีตัวแปรที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษที่มีอาการรุนแรงกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง คือ อาการไข้ ความดันเลือดเฉลี่ย และค่าครีเอตินิน จากการศึกษาพบจุดตัด NEWS score ที่ ≥ 3 คะแนนขึ้นไป ให้ค่าความไว (Sensitivity) เท่ากับร้อยละ 100 ค่าความจำเพาะ (Specificity) เท่ากับร้อยละ 94.4 ค่าการคาดหมายที่เป็นบวก (Positive predictive value: PPV) เท่ากับร้อยละ 98.4 ค่าการคาดหมายที่เป็นลบ (Negative predictive value: NPV) เท่ากับร้อยละ 100 มีความถูกต้องของการทำนายร้อยละ 95.2 และค่าพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.952 ดังนั้น NEWS score สามารถจำแนกผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงของโรคอาหารเป็นพิษได้ และควรใช้ประเมินผู้ป่วยในเหตุการณ์การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษหรือกลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Food and Water Sanitation, Department of Health, Ministry of Public Health. Food and water sanitation practices manual for Public Health Officer. Nonthaburi: The Printing House of the Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Limited; 2014. (in Thai)

Burden epidemiology reference group. WHO estimates of the global burden of foodborne diseases [internet]. 2015 [cited 2020 Apr 6]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/199350/9789241565165_eng.pdf;jEsessionid=D5533A48E452BAB12CB09AA699557FF?sequence=1

Bureau of Epidemiology. Annual epidemiological surveillance report 2017 [internet]. 2017 [cited 2020 Apr 6]. Available from: https://apps.doe.moph.go.th/boeeng/download/AESR-6112-24.pdf. (in Thai)

Srisamutnak C, Doung-ngern P. Situation analysis of food poisoning except food poisoning from mushrooms in Thailand 2013-2017. Weekly Epidemiological Surveillance Report Thailand Internet [internet]. 2019 [cited 2019 Apr 20]; 50(8): 117-23. Available from: https://wesr.doe.moph.go.th/wesr_new/file/y62/F6281_1708.pdf. (in Thai)

Surasit K, Supatrakul W. A model development of early warning signs assessment and patient care in Female Medical Ward at Nakornping Hospital Chiang Mai. In: Khunpradit S, Jianwattanakanok K, editors. The 8th hospital research network club academic conference; 2015 Jul 7-10; Dusit Island Resort Hotel, Chiang Rai. Chiang Rai: 2015. p.46. (in Thai)

Nupaw J, Surasit K, Samuthtai W. Evaluation of a Nakornping Early Warning Scores (NEWS) at Emergency Department to predict 24-hour mortality of sepsis patients. Journal of Nakornping Hospital 2020; 11(1): 28-44. (in Thai)

Division of Epidemiology, Office of the permanent secretary. Definition of infectious diseases in Thailand. Bangok: Printing organization for the delivery of goods and parcels; 2001.

Taylor D, Echeverria P, Sethabutr O, Pitarangsi C, Leksomboon U, Blacklow N, et al. Clinical and micorbiologic features of Shigella and Enteroinvasive Escherichia Coli infections detected by DNA hybridization. JCM 1988; 26(7): 1362-6.

Seidlein L, Kim D, Ali M, Lee H, Wang Z, Thiem V, et al. A multicentre study of Shigella diarrhea in six Asian Countries: disease burden, clinical manifestations, and microbiology. Plos Medicine 2006 Sep 12; 9(3): 1556-69. doi: 10.1371/journal. PMID: 0030353.

Zaidi M, Estrada-Garcia T. Shigella A highly virulent and elusive pathogen. Curr Trop Med Rep 2014 Jun 1; 1(2): 81-7. doi: 10.1007/s40475-014-0019-6. PMID: 25110633.

Venkitanarayanan K.S, Doyle M.P. Escherichia Coli and food poisoning. In: Caballero B, editors. Encyclopedia of food sciences and nutrition. 2nd ed. Maryland: Elsevier; 2003. p. 2157-62.

Harly J. Prevention and management of acute kidney injury. Ulster Med J 2014 Sep; 83(3): 149-57. PMID: 25484464.