ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน

Main Article Content

นภาภรณ์ เกตุทอง
ณัฐพร อุทัยธรรม
ชณุตพร สมใจ
สุชาดา บุญธรรม
รตินันท์ เกียรติมาลา

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ลักษณะครอบครัว อายุครรภ์ และลำดับการตั้งครรภ์ และปัจจัยด้านการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนจำนวน 120 ราย ที่มาฝากครรภ์ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี และโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเดือนกันยายน 2561-มิถุนายน 2562 คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ที่มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.84 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


          ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน (r= 0.636, 0.338, 0.431 และ 0.359, p-value < 0.01 ตามลำดับ) และพบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อายุ และระดับการศึกษาสามารถร่วมทำนายการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนได้ร้อยละ 48.9 (p-value < 0.05)


          การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าบุคลากรสุขภาพที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ควรให้ข้อมูลกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในขณะตั้งครรภ์ และส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่เหมาะสมในการดูแลตนเอง เพื่อผลลัพธ์การตั้งครรภ์ที่ดีและมีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Institute of Medicine. Weight gain during pregnancy: Reexamining the guidelines: report brief May 2009 [internet].2009 [cited 2018 Nov 10]. Available from: www.nationalacademies.org

Siriarunrat S, Tachasuksri T, Deoisres W. Prevalence and factors affected to excessive gestational weight gain among pregnant women in the eastern part of Thailand. Journal of public health nursing 2018; 32(3): 19-36. (in Thai)

Boonyakiat S, Junyam P. Self-care behavior of nutrition among pregnant women at prenatal care clinic of Chaopaya Apaipubejhr Hospital. Prachin Buri province. The journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center 2017; 34(4): 270-81. (in Thai)

Ngamchay C, Tachasuksri T, Siriarunrat S. Predicting factors of eating behaviors among pregnant women working in industrial factories. The journal of faculty of nursing Burapha University 2020; 28(1): 48-59.(in Thai)

Queensland Clinical Guidelines. Maternity and neonatal clinical guideline: Obesity in pregnancy [internet]. 2015 [cited 2019 May 4]. Available from: www.health.qld.gov.au

Gettong N, Rujiraprasert N. The relationships between knowledge about overweight during pregnancy, perceived self-efficacy and health behaviors among pregnant women with overweight. Srinagarind Medical Journal 2018; 33(2): 129-35.(in Thai)

Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs N.J: Prentice-Hall; 1986.

Sangsaiyart S, Teravecharoenchai S. Factors affected to health promotion behaviors of the pregnant in Somdetphraphuthalertla Hospital, Samut Songkhram province. Vajira nursing journal 2013; 15(1): 89-102. (in Thai)

Langlarlertsaku M, Imamee N, Therawiwat M, Kengganpanich T. Factors predicting self-care behavior on diet and exercise of diabetes risk group, Phuket province, Thailand. Journal of public health 2013; 43(1): 55-67. (in Thai)

Bandura A. self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977 Mar; 84(2): 191-215. doi: 10.1037/0033-295X.84.2.191.

Satarak P, Therakulchai J, Khanobdee C. The influence of personal factors, perceived benefit, barrier, self-efficacy, and social support on weight control behaviors of pregnant women with over pre-pregnancy body mass index. Journal of health science research 2017; 11(2): 81-92. (in Thai)

Gojuntak R, Suppaseemanont W, Sangin S. Effects of a perceived self-efficacy in nutrition enhancement program on nutrition health behavior and weight gain of primigravida pregnant women with pre-pregnancy overweight. Nursing journal of the ministry of public health 2017; 27(3): 80-90. (in Thai)

Thato R, Nursing research: Concepts to application. 3th ed. Bangkok: Chulalongkorn University printing house; 2018. (in Thai)