ผลของการใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

Main Article Content

วราภรณ์ เทียนทอง
วารินทร์ บินโฮเซ็น
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
วีรวัฒน์ มโนสุทธิ

บทคัดย่อ

          ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราการเจ็บป่วย และอัตราการตายในผู้ป่วยปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราการเจ็บป่วย และอัตราการตายในผู้ป่วยวิกฤตเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอย่างหนึ่งในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลในหออภิบาล และผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) เก็บข้อมูลนาน 14 เดือน เป็นผู้ป่วย


          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) เก็บข้อมูลนาน 14 เดือน เป็นผู้ป่วยศัลยกรรมและอายุรกรรมอายุไม่ต่ำกว่า 13 ปี ใช้เครื่องช่วยหายใจนานมากกว่า 48 ชั่วโมง ในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก สถาบันบำราศนราดูร ระหว่างเดือน ธันวาคม 2548-กุมภาพันธ์ 2550 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ คือ กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูดเสมหะด้วยระบบปิด กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูดเสมหะด้วยระบบเปิด ประเมินการเกิดปอดอักเสบจากแนวทางการวินิจฉัยการติดเชื้อ เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และตรวจวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงก่อนและหลังการดูดเสมหะ 1, 5 และ 10 นาที ตามลำดับ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1. เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวทางการดูดเสมหะระบบปิดและระบบเปิด 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกเวลาที่กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมวิจัยแบบบันทึกการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และแบบบันทึกค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง วิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ระหว่างการดูดเสมหะระบบปิด และระบบเปิดด้วยสถิติ Chi-Square test และความแตกต่างของค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงก่อนและหลังการดูดเสมหะ 1, 5 และ 10 นาทีด้วยสถิติ Mann - Whitney U test


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มควบคุมจำนวน 28 ราย เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหาย 11 ราย ในขณะที่กลุ่มทดลองจำนวน 28 ราย เกิด 9 ราย (p-value = 0.51) และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงในกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากกลุ่มทดลองหลังการดูดเสมหะ 1, 5 และ 10 นาที แต่อย่างไรก็ตามการดูดเสมหะระบบปิดมีแนวโน้มในการสูญเสียออกซิเจนในเลือดแดงน้อยกว่าระบบเปิด การดูดเสมหะระบบปิดไม่สามารถลดการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่อเปรียบเทียบกับการดูดเสมหะระบบเปิด แต่การดูดเสมหะระบบปิดสามารถใช้เป็นทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยที่มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อทางเดินหายใจที่เป็นอันตราย เช่น โรคซาร์ส ไข้หวัดนกวัณโรคที่ดื้อต่อยา เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงของบุคลากรที่ต้องดูแลผู้ป่วยเป็นอีกทางเลือกในการดูดเสมหะ และควรทำวิจัยซ้ำโดยเพิ่มขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายจากการดูดเสมหะด้วยระบบปิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Kollef M. The Prevantion of Ventilator Associated Pneumonia. Curr Concepts 1999: 340.

2. Ackerman MH. A review of normal saline instillationimplications for practice. Crit Care Nurs 1996; 15: 31-38.

3. Suctioning A lung model evaluation of suctioning systems. [Internet]. [cited 2006 July 7]; Available from: https://ccforum.com/paperreport/ccf

4. Eun Sook L, Sung Hyo K, Jung Sook K. Effects of Closed Endotracheal Suction System on Oxygen Saturation Ventilator Associated Pneumonia and Nursing Efficacy. Korean Soc Nurs Sci 2004; 1315-20.

5. Jorgerden IP, Rovers MM, Grypdonck MH, Marc J. Open and Closed Endotracheal Suction Systems in Mechanically Ventilated Intensive Patients A Meta Analysis. Crit Care Med 2007; 35: 260-70.

6. Zeitoun SS, de Barros AL, Diccini S. A prospective randomized study of ventilator associated pneumonia in atients using a closed versus open tracheal system. Clin Nurs 2003; 12: 484-9.

7. Lorente L, Lecuona M, Martin MM, Garcia C, Mora ML, Sierra A. Ventilator associated Pneumonia using a closed versus an open tracheal suction system. Crit Care Med 2005; 33: 115-9.

8. Lasocki S, Lu Q, Sartorius A, Fouillat D, Remerand F,Rouby JJ. open and closed circuit endotracheal suctioning in acute lung injury efficiency and effects on gas exchange. Anesthesiology 2004; 104: 39-47.

9. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2539.

10. กลุ่มบริการวิชาการสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549.

11. Meduri GU. Diagnosis of Ventilator associated-pneumonia. Infect Dis Clin North Am 1993;7: 295-329.

12. Estes R, Meduri GU. Pathogenesis of Ventila-torassociated pneumonia Mechanisms of bacterial colonization and airway inoculation. Intensive Care Med 1995; 21: 365-83.

13. MMWR Recommendation and reports. Guidelines for prevention of nosocomial pneumonia. Cent Dis Control Prev 1997; 46: 1-79.

14. Craven DE, Steger KA, Laforce FM. Pneumonia in Hospital Infection. Am J Respir Dis 1998; 129: 487-513.

15. Young PJ, Ridley SA. Ventilator associatedpneumonia Diagnosis pathogenesis and prevention. Anesthesia 1999; 5412: 1183-97.

16. Cereda MV, Colombo E, Greco G, Nacoti M, Pesenti A. Closed system endotrachail suctioning maintains lung volume during volume controlled mechanical ventilation. Intensive Care Med 2001; 27: 648-54.

17. Day T, Wainwright SP, Wilson-Barnett J. An evaluation of a teaching intervention to improve the practice of endotracheal suctioning in intensive care units. J Crit Nurs 2001; 105: 682-96.

18. Ewig S, Torres A. Prevention and management of vantilator associated pneumonia. Curr Opin Crit Care 2002; 1: 58-69.

19. Alain C, et al. Factors predicting Ventilator associated Pneumonia Recurrence. Crit Care Nurs 2003; 31: 30-6.

20. Kollef M. Prevantion of hospital associated pneumoniaand ventilator. Crit Care Med 2004; 32: 1396-405.

21. Tablan OC, Anderson LJ, Besser R, Bridges C, Hajjeh R. Guidelines for preventing health care associated pneumonia 2003. Infect Control Pract Advis Comm 2004;53:1-36.

22. Halbertsma FJ, Van de Hoeven JG. Lung recruitment during mechanical positive pressure ventilation in the PICU: what can be learned from the literature?.Anaesthesia 2005; 60: 779-90.

23. Ventilator-Associated Pneumonia. [Internet]. [cited 2007 July 7]; Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/

24. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร และคณะ. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549.

25. Deppe SA, et al. Incedence of colonization, nosocomail pneumonia, and mortality in critically ill patients using a Trach Care closed-suction system versus an open-suction system prospective randomized study. Crit Care Med 1990; 18: 1389-93.

26. Silva LD. A infecious pumonar no contex to datecnica de aspiracao endotraqueal: avaliacao da Implantacao de ummodelo padrao em um progama de educacao continuada. [Master degree Dissertation Escola de Enfermagem]. Sao Paulo: Universidade de Sao Paulo; 1998.

27. Danchaivijitr S, Dhiraputra C, Santiprasitkul S, Judaeng T. Prevalence and impacts of nosocomial infection in Thailand 2001. J Med Assoc Thailand 2005; 88: 1-9.

28. The committee for The Japanese Respiratory Society guidelines in management of respiratory infections. Ventilator Associated Pneumonia. JPN Respir Soc 2004; 9: 30-4.

29. American Thoracic Society and the Infectious Diseases Society of America. Guidelines for the management of adults with HAP, VAP, and HCAP. Am J Respir Crit Care Med 2005; 171: 388.

30. วัลภา คุณทรงเกียรติ. เปรียบเทียบค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงระหว่างการให้อากาศภายในห้องการให้ออกซิเจนที่มีอัตราการไหล 5, 10 และ 15 ลิตรต่อนาที ร่วมกับการทำให้ปอดขยายภายหลังการดูดเสมหะทางท่อหลอดลม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2535.

31. มุกดา สุวรรณโฆษิต. เปรียบเทียบค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงหลังการดูดเสมหะระหว่างการไม่เพิ่มออกซิเจนกับการเพิ่มออกซิเจนวิธีต่างๆก่อนการดูดเสมหะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533.