การประเมินชุดทดสอบอย่างรวดเร็ว ในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจชนิด hMPV

Main Article Content

สมคิด ศรีโสภา

บทคัดย่อ

          เชื้อฮิวแมนเมตานิวโมไวรัส (Human – metapneumo virus) เป็นไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินหายใจที่มีความสำคัญของโลก1  การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ของการป่วยและการตายในประชากรทั่วโลก2  มีรายงานการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเป็นอันดับที่สองของสาเหตุการตายในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี2  ในประเทศเนเธอร์แลนด์มีรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสฮิวแมนเมตานิวโมร้อยละ 73  ประเทศจีนมีรายงานผู้ติดเชื้อร้อยละ 24  ในขณะที่ประเทศไทยมีรายงานผู้ติดเชื้อทุกกลุ่มอายุที่ร้อยละ 6.3 และมีความชุกการติดเชื้อสูงในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี อยู่ที่ร้อยละ 4.25  การตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อทางห้องปฏิบัติการโดยการใช้เทคนิคทางอณูชีวโมเลกุล  มีส่วนสำคัญช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคและรักษาได้อย่างถูกต้อง  แต่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลารายงานผลที่นาน  และราคาแพง  ซึ่งในปัจจุบันมีชุดตรวจด้วยวิธีการตรวจแบบรวดเร็ว ที่ใช้ระยะเวลารอคอยผลไม่นาน 


ดังนั้นในการศึกษาในครั้งนี้  เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ทำการตรวจประเมินชุดตรวจด้วยวิธีการตรวจแบบรวดเร็ว  โดยหลักการอิมมูโนโครมาโตกราฟฟี เปรียบเทียบกับวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส ในผู้ป่วยที่มารับบริการที่สถาบันบำราศนราดูร  ในระหว่างเดือน ตุลาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2562  ใช้ตัวอย่างตรวจจากช่องจมูกจำนวน 356 ตัวอย่าง  โดยเก็บตัวอย่างจากช่องจมูก (Nasal swab)  จากผู้ป่วยที่มีอายุ ≤ 15 ปี  เป็นตัวอย่างที่เหลือจากการส่งตรวจหาการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ, บี และไวรัสอาร์เอสวี  ในงานประจำวัน  ตัวอย่างที่ให้ผลลบต่อการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด บี หรือให้ผลบวกต่อไวรัสอาร์เอสวี  จะนำไปทำการตรวจหาการติดเชื้อไวรัส hMPV ต่อไป  ส่วนตัวอย่างที่ให้ผลบวกต่อการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด บี ถือเป็นเกณฑ์คัดออก 


           จากผลการศึกษาพบว่าชุดตรวจแบบรวดเร็วมีความไวต่อการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อฮิวแมนเมตานิวโมไวรัสร้อยละ 58.33  และมีความจำเพาะร้อยละ 99.71   เมื่อเทียบกับวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส พบผลลบปลอม 5 ราย (5/12 ราย)  และผลบวกปลอม 1 ราย (1/344 ราย) ซึ่งสาเหตุดังกล่าวอาจจะเกี่ยวกับความไวและความจำเพาะของชุดตรวจแบบรวดเร็ว  ในส่วนของความชุกพบความชุกในการติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 3.37

Article Details

How to Cite
ศรีโสภา ส. (2022). การประเมินชุดทดสอบอย่างรวดเร็ว ในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจชนิด hMPV . วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 16(1), 44–52. https://doi.org/10.14456/jbidi.2022.6
บท
บทความวิจัย

References

Chow WZ, Chan YF, Oong XY, Ng LJ, Nor ES, Ng KT, et al. Genetic diversity, seasonality and transmission network of human metapneumovirus: identification of a unique sub-lineage of the fusion and attachment genes. Sci Rep 2016; 6: 27730.

Kahn JS. Epidemiology of human metapneumovirus. Clin Microbiol Rev 2006; 19(3): 546-57.

Bernadette G, Gerard J. Prevalence and Clinical Symptoms of Human Metapneumovirus Infection in Hospitalized Patients. The Journal of Infectious Diseases 2003; 188(10): 1571–1577.

Zhang L, Liu W, Liu D, Chen D, Tan W, Qiu S, Xu D, Li X, Liu T, Zhou R. Epidemiological and clinical features of human metapneumovirus in hospitalised paediatric patients with acute respiratory illness: a crosssectional study in Southern China, from 2013 to 2016. BMJ Open 2018 Feb 6; 8(2): e019308. doi: 10.1136/bmjopen-2017-019308.

Horthongkham N, Athipanyasilp N, Sirijatuphat R, Assanasen S, Sutthent R. Prevalence and molecular characterization of human metapneumovirus in influenza a negative sample in Thailand. J Clin Lab Anal 2014; 28(5): 398-404.

Wongsawat J, Chittaganpitch M, Ampornareekul S, Srisophaa S, Likanonsakul S. The validity of clinical practice guidelines for empirical use of oseltamivir for influenza in Thai children. Paediatr Int Child Health 2016 Nov; 36(4): 275-281. doi: 10.1179/2046905515Y.0000000052.

Turner P, Turner C, Watthanaworawit W, Carrara V, Cicelia N, Deglise C, Phares C, Ortega L, Nosten F. Respiratory virus surveillance in hospitalised pneumonia patients on the Thailand-Myanmar border. BMC Infect Dis 2013 Sep 16; 13: 434. doi: 10.1186/1471-2334-13-434.

Quick Chaser® RSV/hMPV [package insert]. Bangkok: z-medic Corp; 2018.