อุบัติการณ์ของเชื้อแบคทีเรียที่สร้างเอนไซม์AmpC β-lactamase ในสถาบันบำราศนราดูร ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2550

Main Article Content

อัญชนา ถาวรวัน
ปวีณา ก้องสนั่น
สว่าง ไชยศักดา
บุญช่วย เอี่ยมโภคลาภ

บทคัดย่อ

          ด้วยกลไกการดื้อยาของแบคทีเรียที่สามารถสร้างเอนไซม์AmpC β-lactamase ซึ่ง คล้ายคลึงกับฤทธิ์ของเอนไซม์ESBLs (extended-spectrum β-lactamases) ทำให้เชื้อดื้อต่อ ยากลุ่มเพนนิซิลิน, cephalosprorin และ monobactam แต่เอนไซม์AmpC β-lactamase สามารถทำลายฤทธิ์ของยากลุ่ม cephamycin ได้และไม่ถูกยับยั้งด้วยยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์ β-lactamase จึงทำให้เชื้อดื้อยาหลายขนาน เป็นผลให้ยาที่ใช้ในการรักษามีไม่มากนัก ทั้ง Klebsiella pneumoniae และ Escherichia coli ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล ก็สามารถสร้างเอนไซม์นี้ได้แม้จะมีรายงานการพบการดื้อยาโดยกลไกการสร้างเอนไซม์AmpC β-lactamase ตั้งแต่คริสตศักราช 1980 แต่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทางด้านโรคติดเชื้อก็ยังไม่คำนึง ถึงความสำคัญของปัญหานี้ด้วยวิธีการทดสอบยังยุ่งยาก ไม่สะดวก ต้องการสารเคมีพิเศษที่หา ไม่ได้ในงานประจำ รวมถึงยังมีความไวและความจำเพาะที่ต่ำห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่จึงยังไม่มี การหากลไกการดื้อยาของเอนไซม์นี้อีกทั้งไม่มีวิธีมาตรฐานที่Clinical and Laboratory Standards Institute (CLSI) แนะนำ ความสำคัญที่ต้องตรวจหาเอนไซม์AmpC β-lactamase คือเชื้อกลุ่ม แกรมลบ เช่น E. coli, Klebsiella spp., Proteus mirabilis, และ Salmonella spp. ที่สามารถสร้าง เอนไซม์นี้ได้ให้ผลไวปลอมในหลอดทดลองกับยากลุ่ม cephalosporins จากผลไวต่อยาปลอม ทำให้การรักษาผู้ป่วยไม่ได้ผล อาจทำให้เสียชีวิตด้วย ในการศึกษาอุบัติการณ์ของเชื้อแกรมลบที่ สร้างเอนไซม์AmpC β-lactamase ในสถาบันบำราศนราดูร ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีAmpC Disk test ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างง่าย ศึกษาจากเชื้อแกรมลบที่แยกได้จากผู้ป่วยระหว่างเดือน กรกฎาคมถึงกันยายน 2550 จากเชื้อแบคทีเรียหลายสายพันธุ์จากผู้ป่วยไม่ซ้ำรายจำนวน 117 สายพันธุ์พบเชื้อสามารถสร้าง AmpC β-lactamase จำนวน 18 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 15.8 นำเชื้อที่สร้างเอนไซม์ได้มาจำแนกตามสิ่งส่งตรวจพบว่า 7 สายพันธุ์แยกได้จากเสมหะทั้งหมด 40 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 17.5 จากหนองทั้งหมด 26 ตัวอย่างพบ 4 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 15.4 จากปัสสาวะทั้งหมด 41 ตัวอย่างพบ 7 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 14.6 จากเลือดทั้งหมด 7 ตัวอย่าง พบ 1 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 14.3 แม้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีมาตรฐานที่ง่าย และให้ผลที่น่าเชื่อถือ ที่สุด แต่การทำ AmpC Disk test เพื่อเป็นรายงานเบื้องต้นให้แพทย์ได้ใช้ประกอบการวางแผนการ รักษาคนไข้เพื่อลดอัตราการตายก็น่าจะประยุกต์ใช้ได้ในงานประจำวัน เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุด แก่ผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย