ผลการประเมินโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย

Main Article Content

กฤษฎา หาญบรรเจิด
เกียรติศักดิ์ แหลมจริง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตของโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย และเพื่อประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 111 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยในและคณะกรรมการโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินโครงการตามรูปแบบซิปป์โมเดล แบบประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการบริการอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิเคราะห์ตามรูปแบบซิปป์โมเดลพบว่า ภาพรวมของการประเมินโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.43, SD = 0.73) ด้านบริบท (X = 4.45, SD = 0.74) ด้านปัจจัยนำเข้า (X = 4.49, SD = 0.74) ด้านกระบวนการ (X = 4.43, SD=0.75) และด้านผลผลิต (X = 4.36, SD = 0.70) ผลการประเมินมาตรฐานด้านอาหารผู้ป่วย มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารของสถานที่ประกอบอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารในโรงพยาบาลผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการอาหารอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.21, SD = 0.73) ซึ่งการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาในโรงพยาบาลปฐมภูมิหรือโรงพยาบาลทุติยภูมิ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินโดยประเมินก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และภายหลังการดำเนินโครงการเสร็จสิ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary. This 20-year national strategic plan for public health. Nonthaburi: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2016. (in Thai)

Health Administration Division, Ministry of Public Health. Food safety hospital. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2017. (in Thai)

Pibool S. Evaluation of needs assessment for policy and project prescriptions. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2012. (in Thai)

Stufflebeam DL, Madaus GF, Kellaghan T. Evaluation models. Viewpoints on educational and human services evaluation. 2nd ed. Boston: Springer; 2000.

Kitpredaborisuit P. Technique for research instrument creation. Bangkok: Jamjuree; 2006. (in Thai)

Likert R. A technique for the measurement of attitudes. Arch Psychol 1932; 22(140): 1-55.

Kamutchat N. A guideline of district health system development in the district of warinchamrab, Ubon Ratchathani Province, Department of Public Health [dissertation]. Mahasarakham University; 2557. (in Thai)

Sermrittirong S, Prompunjai N, Chua-Intra B. The effectiveness evaluation of leprosy specialized facilities’ ddevelopment in 4 regions of Thailand in 2018. bamras j [Internet]. 2019 [cited 2019 Nov 1];13(1): 44-5. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/186408/131020. (in Thai)

Inmong Y. Hospital food safety development and network [Internet]. 2018 [cited 2019 Sep 5]. Available from: http://www.elnurse.ssru.ac.th/wipakon_so/pluginfile.php/163/block_html/content.pdfhttp://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/648?locale-attribute =th. (in Thai)

Phomi P. Evaluation of implementing the strategic health care reform: The development of the district health system, Uthai Thani Province. bamras j [Internet]. 2019 [cited 2019 Nov 1]; 13(3): 128-36. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/201994/153183. (in Thai)