การศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรีย อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

Main Article Content

ภัทรา ทองสุข
วัลลีรัตน์ พบคีรี
ปิยธิดา ตรีเดช
สุคนธา ศิริ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการศึกษาใน 3 กลุ่ม ตามระดับบทบาทหน้าที่ กลุ่มที่ 1 ระดับนโยบาย/ผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มที่ 2 ระดับภาคีเครือข่ายในชุมชน กลุ่มที่ 3 ผู้รับบริการ (ประชาชน) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรีย ในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 2) เพื่อศึกษาเทคนิคหรือวิธีการในการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียในพื้นที่ดังกล่าว


          จากการวิจัยพบว่า กลุ่มระดับนโยบาย/ผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มระดับภาคีเครือข่ายในชุมชน และกลุ่มประชาชน มีกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรียเป็นไปตามรูปแบบการมีส่วนร่วม จากการวิจัยพบว่า กลุ่มระดับนโยบาย/ผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มระดับภาคีเครือข่ายในชุมชน และกลุ่มประชาชน มีกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรียเป็นไปตามรูปแบบการมีส่วนร่วมของ Cohen และ Uphoff ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการวางแผน และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการในการสนับสนุนเรื่องต่างๆ ได้แก่ บุคลากร ทรัพยากร การบริหารจัดการ และการประสานงาน 3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมุ่งเน้นการลดอัตราป่วย และอัตราตาย 4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ซึ่งทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบการดำเนินงาน โดยมีการดำเนินงานที่ประสานกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชน ในส่วนของเทคนิคในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียคือ การสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการจะได้รับความร่วมมือในการทำงานมากกว่าแบบทางการ การสร้างความไว้ใจ เชื่อใจซึ่งกันและกัน จะช่วยให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน การสร้างให้ประชาชนเป็นเจ้าของกิจกรรมการดำเนินงาน จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากขึ้น นอกจากนี้ การมีระบบฐานข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน  และการนำเทคโนโลยีที่ดีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย จะช่วยให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นที่น่าเชื่อถือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of the Public Sector Development Commission Public Sector Management Quality Award 2007. Bangkok: Vision Print and Media; 2006. (in Thai)

Office of the Public Sector Development Commission. Thailand Public Service Awards. Bangkok: Office of the Public Sector Development Commission; 2014. (in Thai)

The 2th Office of Disease Prevention And Control, Phitsanulok. Malaria: equity and integrated active services [Internet]. 1970 [cited 2015 Aug 31]. Available form: http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/unpsa. (in Thai)

The 2th Office of Disease Prevention And Control, Phitsanulok. Malaria: Development of integrated service of Tha Song Yang District, Tak Province. The 2th Office of Disease Prevention And Control, Phitsanulok; 2014. (in Thai)

Office of the Public Sector Development Commission. Public sector management quality award 2013 (PMQA). Bangkok: T.K.S. Siam Place Management; 2013. (in Thai)

Office of the Public Sector Development Commission. United Nations Public Service Awards submission rules and guidelines 2014. Bangkok: Office of the Public Sector Development Commission; 2013. (in Thai)

Cohen JM, Uphoff NT. Rural development participation: concept and measures for project design implementation and evaluation. New York: Center for International Studies, Cornell University; 1981.

Charoenpan C. Community Health Management. 6th ed. Khon Kaen: Klungnana Vitthaya Press; 2007. (in Thai)

Huaysai P, Sukserm T, Khunluek K. The participation of the population of Huai Phuang District, Kalasin Province in the prevention and control of dengue hemorrhagic fever. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University 2016; 3(1): 64-81. (in Thai)

Macdonald J. Primary Health Care: Medicine in its place. London: Earthscan; 2013.

Ariyasirichot W. Participation of community service leaders in community well being. [dissertation]. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2013. (in Thai)

Atkinson J, Vallely A, Fitzgerald L. Whittaker M, Tanner M. The architecture and effect of participation: A systematic review of community participation for communicable disease control and elimination.Implications for malaria elimination. Malar J 2011 Aug 04; 10: 225. doi: 10.1186/1475-2875-10-225.

Yawirat N. Modern management. 7th ed. Bangkok: Triple Group; 2010. (in Thai)

Macharia JW, Ng’ang’a ZW, Njenga SM. Factors influencing community participation in control and related operational research for urogenital schistosomiasis and soil-transmitted helminths in rural villages of Kwale County, coastal Kenya. Pan Afr Med J 2016 Jun 10; 24: 136. doi: 10.11604/pamj.2016.24.136.7878. PMID: 27642474.

Sikud P, Mokuntod S, Charoencheevakun T. Factors correlated to participation of community leaders in prevention and control of Hemorrhagic Fever. Journal of Nakhonratchasima College 2017; 11(2): 74-84. (in Thai)

Jodking P, Bouphan P. The participation in dengue hemorrhagic fever prevention and control of village health volunteer at Samliam community Khon Kaen Municipality. Journal of The Office of ODPC 7 Khon Kaen 2017; 24(2): 29-37. (in Thai)

Wongpathomtip K. The participation in the zika virus disease prevention and control for health volunteers in Don Tum District, Nakhon Pathom Province. Journal of The Office of ODPC 7 Khon Kaen 2017; 24(2): 59-67. (in Thai)