การศึกษาจุดตัดขนาดพื้นที่ผิวตัดขวาง เพื่อบ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตในผู้ป่วยโรคเรื้อนด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์

Main Article Content

สมสิทธิ์ ศรีสันติสุข
บรรเจิด ลีวรรณนภาใส

บทคัดย่อ

          เส้นประสาทอัลนาร์เป็นเส้นประสาทส่วนปลายที่มักได้รับผลจากการดำเนินของโรคเรื้อน การประเมินขนาดเส้นประสาทด้วยการคลำพบว่า มีความแตกต่างของผลการประเมินแม้จะตรวจด้วยแพทย์ที่มีประสบการณ์  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจุดตัดขนาดพื้นที่ผิวตัดขวางที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตบริเวณเหนือข้อศอกผู้ป่วยโรคเรื้อนด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ โดยศึกษาประชากรผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มารักษาในสถาบันราชประชาสมาสัยเดือนเมษายน - ตุลาคม พ.ศ. 2562 และยินยอมเข้าร่วมโครงการ 27 ราย และประชากรปกติ 27 ราย แต่ละกลุ่มมีเพศหญิง 11 ราย และเพศชาย 16 ราย วัดพื้นที่ผิวตัดขวางเส้นประสาทอัลนาร์ 108 เส้น ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ที่ตำแหน่ง 1 เซนติเมตรเหนือต่อปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ ใช้สถิติ Shapiro-Wilk test ทดสอบการแจกแจงปกติของตัวแปร และใช้ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย พื้นที่ผิวตัดขวางเส้นประสาทอัลนาร์ของทั้ง 2 กลุ่ม เนื่องจากข้อมูลไม่มีการแจกแจงแบบปกติ ใช้ Receiver Operating  Characteristic Curve (ROC curve) หาจุดตัดที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตในผู้ป่วยโรคเรื้อน เส้นประสาทอัลนาร์เป็นเส้นประสาทส่วนปลายที่มักได้รับผลจากการดำเนินของโรคเรื้อน การประเมินขนาดเส้นประสาทด้วยการคลำพบว่า มีความแตกต่างของผลการประเมินแม้จะตรวจด้วยแพทย์ที่มีประสบการณ์  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจุดตัดขนาดพื้นที่ผิวตัดขวางที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตบริเวณเหนือข้อศอกผู้ป่วยโรคเรื้อนด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ โดยศึกษาประชากรผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มารักษาในสถาบันราชประชาสมาสัยเดือนเมษายน - ตุลาคม พ.ศ. 2562 และยินยอมเข้าร่วมโครงการ 27 ราย และประชากรปกติ 27 ราย แต่ละกลุ่มมีเพศหญิง 11 ราย และเพศชาย 16 ราย วัดพื้นที่ผิวตัดขวางเส้นประสาทอัลนาร์ 108 เส้น ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ที่ตำแหน่ง 1 เซนติเมตรเหนือต่อปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ ใช้สถิติ Shapiro-Wilk test ทดสอบการแจกแจงปกติของตัวแปร และใช้ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย พื้นที่ผิวตัดขวางเส้นประสาทอัลนาร์ของทั้ง 2 กลุ่ม เนื่องจากข้อมูลไม่มีการแจกแจงแบบปกติ ใช้ Receiver Operating  Characteristic Curve (ROC curve) หาจุดตัดที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตในผู้ป่วยโรคเรื้อน 


          ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) เนื่องจากเป็นการเลือกกลุ่มประชากรปกติแบบเจาะจงที่มีค่าเฉลี่ยอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกายไม่ต่างจากกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อน แต่ค่าเฉลี่ยพื้นที่ผิวตัดขวางของกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อน (8.8 ± 2.6 ตารางมิลลิเมตร) โตกว่ากลุ่มประชากรปกติ (5.7 ± 1.2 ตารางมิลลิเมตร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.001 และจุดตัดขนาดพื้นที่ผิวตัดขวางที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตในผู้ป่วยโรคเรื้อนของสถาบันราชประชาสมาสัยคือ ≥ 6.75 ตารางมิลลิเมตร โดยมีความไวร้อยละ 81, ความจำเพาะร้อยละ 85 สรุปได้ว่า เครื่องอัลตร้าซาวด์สามารถใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โต จึงมีข้อเสนอแนะให้นำเครื่องอัลตร้าซาวด์ไปใช้ในผู้ป่วยที่สงสัยโรคเรื้อนและอาจมีเส้นประสาทอัลนาร์โตของสถาบันราชประชาสมาสัยได้  เพื่อประกอบการวินิจฉัยตามเกณฑ์อาการแสดงสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สถาบันราชประชาสมาสัย. สรุปสถานการณ์โรคเรื้อนในประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2561 สถาบันราชประชาสมาสัย. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2561.

2. Joshi PL. Epidemiology of leprosy. In: Kumar B, Kar HK, editors. IAL textbook of leprosy. 2nd ed. New Delhi: Jaypee Brothers Medical Publishers; 2016. p. 33-44.

3. ธีระ รามสูต, อารดา โอวาทตระกูล, ทวีฤทธิ์ สิทธิเวคิน. โรคเรื้อนชนิดทิวเบอร์คิวลอยด์และโรคสะเก็ดเงิน: การศึกษาเปรียบเทียบด้านคลินิกและจุลพยาธิวิทยา. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2561; 12(2): 48-59.

4. กุลประภัสสร์ ไปรยายุตากุล. แนวทางการดูแลรักษาเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ. ใน: กุลประภัสสร์ ไปรยายุตากุล, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อนที่เกิดสภาวะแทรกซ้อน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2557.

5. Jain S, Visser LH, Praveen TLN, Rao PN, Surekha T, Ellanti R, et al. High resolution sonography: a new technique to detect nerve damage in leprosy. PLoS Negl Trop Dis 2009; 3(8): e498. doi: 10.1371/journal.pntd.0000498.

6. Chen S, Wang Q, Chu T, Zheng M. Inter-observer reliability in assessment of sensation of skin lesion and enlargement of peripheral nerves in leprosy patients. Lepr Rev 2006; 77(4): 371–6.

7. Gupta S, Bhatt S, Bhargava SK, Singal A, Bhargava S. High resolution sonographic examination: a newer tecnique to study ulanar nerve neuropathy in eprosy. Lepr Rev 2016; 87(4): 464–75.

8. Frade MAC, Nogueira-Barbosa MH, Lugão HB, Furini RB, Marques WJ, Foss NT. New sonographic measures of peripheral nerves: a tool for diagnosis of peripheral nerve involvement in leprosy. Mem Nst Oswaldo Cruz 2013; 108(3): 257-62.

9. Elias JJ, Nogueira-Barbosa MH, Feltrin LT, Furini RT, Foss NT, Marques WJ, et al. Role of ulnar nerve sonography in leprosy neuropathy with electrophysiologic correlation. J Ultrasound Med 2009; 28(9): 1207-9.

10. สถาบันราชประชาสมาสัย. คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2553.

11. Rao PN, Suneetha SK, Ebenezer J. Neuritis: definition, clinicopathological manifestations and proforma to record nerve impairment in leprosy. In: Kumar B, Kar HK, editors. IAL textbook of leprosy. 2nd ed. New Delhi: Jaypee Brothers Medical Publishers; 2016. p. 397-415.

12. Gelberman RH, Yamaguchi K, Hollstien SB, Winn SS, Heidenreich FP Jr, Bindra RR, et al. Changes in interstitial pressure and cross-sectional area of the cubital tunnel and of the ulnar nerve with flexion of the elbow: an experimental study in human cadaver. J Bone Joint Surg Am 1998; 80(4): 492-501.

13. สถาบันราชประชาสมาสัย. จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อนในประเทศไทย แยกตามประเภท ปี พ.ศ.2558-2562 สถาบันราชประชาสมาสัย. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2562.

14. Cartwright MS, Shin HW, Passmore LV,Walker FO. Ultrasonographic findings of the normal ulnar nerve in adults. Arch Phys Med Rehabil 2007; 88(3): 394-6.

15. Bathala L, Kumar P, Kumar K, Visser LH. Ultrasonographic cross-sectional area normal values of the ulnar nerve along its course in the arm with electrophysiological correalations in 100 asian subjects. Muscle & nerve 2013; 47(5): 673-6.

16. Pfaltzgraff RE, Ramu G. Clinical leprosy. In: Hastings RC, editor. Leprosy. 2nd ed. New York: Churchill Livingstone; 1994.

17. Luão HB, Frade MAC, Marques W Jr, Foss NT, Nogueir-Barbosa MH. Ultrasonography of leprosy neuropathy: a longitudinal prospective stydy. PLoS Negl Trop Dis 2016; 10(11): e0005111. doi: 10.1371/journal.pntd.0005111.

18. Sridharan R, Ling LY, Fin LS, Fadzilah FM, Alhabshi SMI, Aziz S, et al. Role of high resolution ultrasound in ulnar nerve neuropathy. Med J Malaysia 2015; 70(3): 158-61.

19. Kim JH, Won SJ, Rhee WI, Park HJ, Hong HM. Diagnosis cutoff value for ultrasonsography in the ulnar neuropathy at the elbow. Ann Rehabil Med 2015; 39(2): 170-5.