ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่อการป้องกันและควบคุมโรคต่อความรู้ และความพึงพอใจของพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

ศุภลักษณ์ หิริวัฒนวงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Concurrent Cohort) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่อการป้องกันและควบคุมโรค และประเมินระดับความพึงพอใจของพยาบาลหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ของสถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลปฏิบัติงานในสถาบันบำราศนราดูร จำนวน 39 ราย ซึ่งได้รับเข้าโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่อการป้องกันและควบคุมโรคระหว่างวันที่ 5 - 7 มิถุนายน 2555 ณ ห้องประชุมชัชลินา สถาบันบำราศนราดูร วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) โดยแสดงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน2 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่อการป้องกันและควบคุมโรค โดยใช้สถิติ Paired Samples t - test


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้จำนวนทั้งหมด 39 คน เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังของผู้เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ พบว่าผู้เข้ารับการเข้าโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้มีพัฒนาการด้านความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.75 และค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมมากกว่าก่อนเข้ารับการอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.540, p-value = 0.000) และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้มากถึงมากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากคะแนนความพึงพอใจต่อการอบรมในครั้งนี้เท่ากับร้อยละ 91.25 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรทดสอบโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำนี้ซ้ำในกลุ่มเดิมที่มีลักษณะคล้ายกันและกลุ่มอื่นๆ เพื่อยืนยันประสิทธิผลของโปรแกรมต่อความรู้และการปฏิบัติของกลุ่มตัวอย่าง โดยควบคุมความสม่ำเสมอของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ เพื่อให้คุณภาพการวิจัยดีขึ้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. (2005). Asia pacific strategy for emerging diseases. Sixth meeting; 2005 September 22: WPR/RC56/SR/6

2. Kunkel S, Rosenqvist U, Westerling R. The structure of quality systems is important to the process and outcome, an empirical study of 386 hospital departments in Sweden. BMC Health Services Research. 2007; 7: e104. doi: 10.1186/1472-6963-7-104.

3. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง การเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคอหิวาตกโรค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2553.

4. เวชระเบียน สถาบันบำราศนราดูร. สถิติผู้เข้ารับการรักษา; 2554.

5. Bloom BS. Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay; 1956.

6. Norwood SL. Research: Strategies' for Advanced Practices Nurse. n.p.: Prentice-Hall; 2000.

7. จันทิรา ทองใส. ผลของการโค้ชต่อความรู้ และการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดใหญ่ [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

8. Francke LA, Luiken BJ, Garssen B, Abu-Saad H, Grypdonck M. Qualitative Needs Assessment Prior to a Continuing Education Program. J Contin Educ Nurs 1996; 27: 34-41.

9. DeRond, et al. A Pain Monitoring Program for Nurses: Effects on Nurses' Pain Knowledge and Attitude. J Pain Symptom Manage 2000; 19: 457-76.