สถานการณ์การจัดการความปวดในห้องพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก

Main Article Content

อิศราภรณ์ กันวี
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
วารินทร์ บินโฮเซ็น

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการความปวด 2 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดของโรงพยาบาลชลประทาน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วยวิสัญญีพยาบาลจำนวน 9 ราย และเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป 97 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากวิสัญญีพยาบาลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปวด และแบบสังเกตการจัดการความปวดในห้องพักฟื้น เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป ประวัติสุขภาพ และการเจ็บป่วย ข้อมูลความปวด และการจัดการความปวดของผู้ป่วยจากเวชระเบียน เครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และความเชื่อมั่นชนิดความสอดคล้องภายใน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา 


          ผลการวิจัยพบว่า แรกรับที่ห้องพักฟื้นผู้ป่วยมีคะแนนความปวดหลังผ่าตัดระหว่าง 3-10 คะแนน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยมีคะแนนเฉลี่ย 6.48 คะแนน หลังได้รับการจัดการความปวดหลังผ่าตัดลดลง อยู่ระหว่าง 1-7 คะแนน โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.35 คะแนน การจัดการความปวดที่ปฏิบัติได้แก่ การประเมินระดับความปวด และจัดการความปวดโดยการใช้ยาซึ่งยาที่ใช้ได้แก่ fentanyl, morphine, และ pethidine วิสัญญีพยาบาลมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปวดระหว่าง 5-10 คะแนน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยมีคะแนนเฉลี่ย 7.56 คะแนน ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาวิสัญญีพยาบาลให้มีความรู้และการปฏิบัติในการจัดการความปวดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนมีการกำกับให้มีการบันทึกการปฏิบัติอย่างครบถ้วนและครอบคลุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. พงษ์ภารดี เจาฑะเกษตริน และคณะ. ความปวด(Pain). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ทิมส์; 2547. หน้า 64-72.

2. อรพรรณ ไชยชาติ. ความรุนแรงของความปวด ปัจจัยส่วนบุคคล ความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการจัดการความปวดหลังผ่าตัดช่องท้องของทีมสุขภาพ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลานครินทร์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2549.

3. ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, ชัชชัย ปรีชาไว. ความปวดและการระงับปวด Pain & Pain Management 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2552. หน้า 47-60.

4. อภิรดี ใจกล้า. ประสบการณ์ความปวด การจัดการกับความปวด และผลของความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.

5. Agency for Health Care Policy and Research. Acute pain management: Operation of medical Procedures and trauma. Clinical Practice guideline No.1. AHCPR Publication. [Internet]. 1992 [cited 2009 February 17]; Avaiable from: http://www.ahcpr.org

6. รัดดา กำหอม, มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ และคณะ. การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นตามแผนภูมิการระงับปวดที่กำหนดขึ้น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2544; 16(4): 251-6.

7. สกุลรัตน์ รื่นสม. การศึกษาระดับความเจ็บปวด และการจัดการความเจ็บปวดของสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2549.

8. ลลิดา อาชานุภาพ, รุ้งจิต เติมศิริกุลชัย. การประเมินความปวดและพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2552; 15(3): 315-26.

9. สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. แนวทางการระงับปวดหลังผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรสาคร: โรงพิมพ์วินเพรสโปรดักชั่นเฮ้าส์; 2552. หน้า 26-37.

10. นิโรบล กนกสุนทรรัตน์. การรับรู้ความเจ็บปวด และวิธีการบรรเทาความเจ็บปวดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2535.

11. สุนิดา ไชยงาม. การศึกษาระดับความปวด และการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2552.

12. จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี, สุธีรา จักรกุล เหลืองสุขเจริญ. การประเมินผลการจัดการความปวดเฉียบพลันในโรงพยาบาลรามาธิบดี. Rama Nurs J 2552; 26(3): 303-14.

13. เจือกุล อโนธารมณ์ และคณะ. ความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลเกี่ยวกับการประเมินและการควบคุมความเจ็บปวด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2548; 23(2): 13-6.