การพัฒนาเทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ: สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

วราภรณ์ เทียนทอง
สุนันทา บุรภัทรวงศ์
วีรวัฒน์ มโนสุทธิ

บทคัดย่อ

          การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่สำคัญส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในหลายด้านทำให้มีการค้นหาวิธีการปฏิบัติเพื่อลดอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องหายใจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บข้อมูลในหออภิบาลผู้ป่วยหนักสถาบันบำราศนราดูรตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2551 - ตุลาคม 2552 เป็นผู้ป่วยอายุรกรรมและศัลยกรรมที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป และมีการใช้เครื่องช่วยหายใจนานมากกว่า 48 ชั่วโมง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการพัฒนาเทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิด กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูดเสมหะด้วยระบบเปิดซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยการติดเชื้อเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention; CDC) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. เครื่องมือตรวจวัดและประเมินทางห้องปฏิบัติการต่างๆ โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างการดูดเสมหะระบบปิดและระบบเปิดด้วยสถิติ Chi-Square test จากการวิจัยพบว่า กลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูเสมหะระบบเปิด 49 คน เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 17 คน ส่วนกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูดเสมหะระบบปิด 48 คน เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 12 คน ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติ (p = 0.30)


          อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า การวิจัยครั้งนี้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างกลุ่มที่ใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดและกลุ่มที่ใช้การดูดเสมหะด้วยระบบเปิดแต่จากการเก็บข้อมูลทำให้ทราบว่า เทคนิคการดูดเสมหะระบบปิดสามารถช่วยป้องกันในเรื่องการฟุ้งกระจายเชื้อโรคในทางเดินหายใจได้ ขณะทำการดูดเสมหะลดจำนวนบุคลากรที่ใช้ในการดูดเสมหะ ส่งผลให้จำนวนขยะติดเชื้อที่เกิดจากการดูดเสมหะลดลง จึงสามารถใช้เทคนิคนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (Air borne Transmission) และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่อันตรายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแก่ผู้ป่วย บุคลากร และสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการพัฒนาการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออันตราย ซึ่งเป็นภารกิจหลักของสถาบันบำราศนราดูร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Pear Suzanne, Kathleen Stoessel, Susan Shoemake. Oral care in critical care: The Role of Oral Care in the Prevention of Hospital-Acquired Pneumonia. clin issue 2007: 1-11.

2. Kollef M. The Prevantion of Ventilator - Associated Pneumonia. Current Concepts 1999; 340.

3. Blackwood B. The practice and perception of intensive care staff using the closed suctioning system. J Adv Nurs 1998; 28: 1020-9.

4. Suka M, Yoshida K, Uno H, Takezawa J. Incidence and outcomes of Ventilator-Associated Pneumonia in Japanese Intensive Care Units: The Japanese Nosocomail Infection Surveillance System. Infect Control Hospital Epidemiol 2007;28: 307-13.

5. KlevensRM Edward JR, et al. Estimating health care-associated infections and deaths in U.S.hospital, 2002. Public Health Rep 2007; 122: 160-6.

6. Hawe CS, Ellis KS, Cairns CS, Longmate A. Reduction of Ventilator-associated pneumonia: active versus passive guideline implementation. Intensive care Med 2009; 35: 1180-6.

7. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร และคณะ. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549.

8. Danchaivijitr S, Dhiraputra C, Santiprasitkul S, Judaeng T. Prevalence and impacts of nosocomial in fection in Thailand 2001. J Med Assoc Thai 2005; 88: 1-9.

9. Danchaivijitr S, et al. Nosocomial infection in Thailand 1998. Abstract of presention at the 12th Workshop on Nosocomial Infection Control, Pailyn hotel Sukhotha. Sukhotha: 1998; 47.

10. พูนทรัพย์ วงศ์สุรเกียรติ์. Ventilator-associated Pneumonia (VAP) ใน Periopetative critical care. สุณีรัตน์ คงเสรีย์พงศ์, ปฏิภาณ ตุ่มทอง และคณะ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2552. หน้า 335-61.

11. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลฝ่ายการพยาบาลสถาบันบำราศนราดูร. ผลสำรวจอัตราชุกของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลสถาบันบำราศนราดูร. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2547.

12. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลฝ่ายการพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปี พ.ศ.2549. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2549.

13. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลฝ่ายการพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปี พ.ศ.2550. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2550.

14. เบญจวรรณ นครพัฒน์. การพัฒนาคุณภาพ: การลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย 2551; 18(2): 23-35.

15. วรรทนา เพ็ชรยัง. ผลของกลุ่มควบคุมคุณภาพต่อการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

16. กมลวัลย์ ใครบุตร. ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

17. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลฝ่ายการพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปีพ.ศ.2551. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2551.

18. คณะกรรมการการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลรามาธิบดี. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปี พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2542.

19. ฉันชาย สิทธิพันธุ์. ภาวะปอดอักเสบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. ใน: Practical Point in mechanical ventilator 2010. ณับผลิกา กองพลพรหม, ฉันชาย สิทธิพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553. หน้า 88-101.

20. Augustyn Beth. Ventilator Associatsd Pneumonia: Risk Factors and Prevention Crit care nurse 2007; 27(4): 32-9.

21. ดารณี เจียมวัฒนสุข. ผลของการจัดท่านอนต่อค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2536.

22. Ackeman MH. Areview of normal saline instillation: implications for practice. Crit Care Nurs 1996; 15: 31-8.

23. Preusser BA, Stone KS, Gonyon DS, Winningham ML, Groch KF, Karl JE. Effects of two methods of preoxygenation on mean arterial pressure, cardiac output, peak airway pressure, and post suctioning hypoxemia. Heart Lung 1988; 17: 290-9.

24. Stone KS, et al. The effect of lung hyperinflation and endotracheal suctioning on cardiopulmonary hemodynamics. Nurs Respir 1991; 40: 76-80.

25. Cristina I, Klemic M. Chest Physiotherapy in the intensive care unit. Lung Disease 1989; 18: 400-12.

26. Kollef M. Prevantion of hospital-associated pneumonia and ventilator-associated pneumonia. Crit Care Med 2004; 32: 1396-405.

27. Rabitsch W, et al. closed suctiom system reduces crosscontamination between bronchial system and gastric juices. Anesthesis Analgecia 2003; 99: 886-92.

28. Eun-Sook L, Sung-Hyo K, Jung-Sook K. Effects of Closed Endotracheal Suction System on Oxygen Saturation, Ventilator-Associated Pneumonia, and Nursing Efficacy. Korean Soc Nurs Sci 2004: 1315-20.

29. Maggiore G, Lellouche F, Pigeol J, Durrmeyer Z, Lemaire F, Brochard L. Suctioning in patients with acute respiratory distress syndrome. Crit Care; 2003.

30. Zeitoun SS, de Barros AL, Diccini S. A prospective, randomized study of ventilator-associated pneumonia in patients using a closed versus open tracheal system. Clin Nurs 2003; 12: 484-9.

31. Deppe SA, et al. Incedence of colonization, nosocomail pneumonia, and mortality in critically ill patients using a Trach Care closed-suction system versus an open-suction system: prospective randomized study. Crit Care Med 1990; 18: 1389-93.

32. Silva LD. A infecious pumonar no contexto da tecnica de aspiratdotraqueal: avaliacao da Implantacao de ummodelo padrao em um progama de educacao continuada [Master degree Dissertation]. Sao Paulo: Universidade de Sao Paulo; 1998.

33. Sandra SZ, Alba LBLDB, Solange D. A praspective, randomized study of Ventilator-AssociatedPneumonia in patients using a closed vs open suction system. J Clin Nurs 2003; 12: 484-489.

34. วราภรณ์ เทียนทอง. ผลของการใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2550.

35. Clark AP, Winslow EH, Tyler DO, White KM. Effects of endotracheal suctioning on mixed venous oxygen saturation and heart rate in critically ill adults. Heart Lung 1990; 19: 552-7.

36. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2539.

37. กลุ่มบริการวิชาการสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549.

38. Meduri GU. Diagnosis of Ventilator-associated pneumonia. Infect dis clin North Am 1993; 7: 295-329.

39. Estes R, Meduri GU. Pathogenesis of Ventilator-associated pneumonia: Mechanisms of bacterial colonization and airway inoculation. Intensive Care Med 1995; 21: 365-83. 40. Craven DE, Steger KA, Laforce FM. Pneumonia in Hospital Infection. Am J Respir Dis 1998; 129: 487-513.

41. Young PJ, Ridley SA. Ventilator-associated pneumonia: Diagnosis, pathogenesis and prevention. Anaesthesia 1999: 1183-97.

42. Center for Disease Control. Guideline for preventing health-care Associated Pneumonia 2003. MMWR Recommemdations and Report 2003; 53: 1-36.

43. Cereda MV, Colombo E, Greco G, Nacoti M, Pesenti A. Closed system endotrachail suctioning maintains lung volume during volume controlled mechanical ventilation. Intensive Care Med 2001; 21: 648-54.

44. Day T, Wainwright SP, Wilson-Barnett J. An evaluation of a teaching intervention to improve the practice of endotracheal suctioning in intensive care units. J Clin Nurs. 2001; 105: 682-96.

45. Ewig S, Torres A. Prevention and management of vantilator associated pneumonia. Curr Opin Crit Care 2002; 1: 58-69.

46. Alain C, et al. Factors predicting Ventilator-associated Pneumonia Recurrence. Crit Care Nurs 2003; 31: 30-6.

47. Tobin JM. Critical Care Medicine in AJRCCM 2003. Am J Respir CritCare Med 2004; 169: 239-53.

48. Halbertsma FJJ, Van de Hoeven JG. Lung recruitment during mechanical positive pressure ventilation in the PICU: what can be learned from the literature. Anaesthesia 2005; 60: 779-90.

49. ventilator-associated pneumonia. [Internet]. 2007 [cited 2007 July 7]; Avaiable from: http://en.wikipedia.org/wiki/

50. Irene P, Jongerden MS, Maroeska M, Rovers MM. Open and Closed Endotracheal Suction System in Mechanically Ventilator Intensive Care Patients: A Meta-Analysis. University Medical Center Utrechtf; 2007.