ผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอ

Main Article Content

มนพร ชาติชำนิ
ทองเปลว กันอุไร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study) ชนิด Retrospective and Prospective Uncontrolled before and after Intervention Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 364 ราย ประกอบด้วยกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 178 ราย และกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 186 ราย โดยกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติเดิม
ของโรงพยาบาล ในขณะที่กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยให้การดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เมื่อทดสอบอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจระหว่างกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถิติ Chi-Square พบว่าอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในกลุ่มก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่สร้างขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ไม่แตกต่างกัน (x2 = 0.101, p-value = 0.751)


          ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์มีผลทำให้อัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันแต่เมื่อเปรียบเทียบจำนวนและเปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่มีอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของกลุ่มที่ได้รับการดูแลด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอ และในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ไปใช้ควรมีการให้ความรู้แก่บุคคลากรผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลก่อนนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป คือ ควรมีการวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยอายุรกรรม ผู้ป่วยศัลยกรรม เป็นต้น เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงสำหรับกลุ่มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เพ็ญศรี ละออ. ผลของการพัฒนาระบบเพื่อนำแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจไปใช้ต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลและคุณภาพของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2549.

2. Shapiro MB, Anderson HL, Bartlett RH. Respiratory Failure: Conventional and Hi - Tech Support. Surg clin North Am 2000; 3: 871-33.

3. Esteban A, Alia I, Ibanez J, Benito S, Tobin MJ. the Spanish Lung Failure Collaborative Group. Mode of Mechanical Ventilation and Weaning: A National Survey of Spanish Hospitals. Chest 1994; 106: 1188-93.

4. Marelich GP, Murin S, Battistella F, Inciardi J, Vierra T, Roby M. Protocol Weaning of Mechanical Ventilation in Medicine and Surgical Patients by Respiratory Care Practitioner and Nurses. Chest 2000; 118: 459-67.

5. Cook DJ, Meade MO, Perry AG. Qualitative studies on the patient,s experience of weaning from mechanical ventilation. Chest 2001; 120(6): 467-73.

6. Thomas LA. Clinical management of stressor perceived by patients on mechanical ventilation. Am Assoc Crit Care Nurses 2003; 14(1): 73-81.

7. ทิพมาศ ชิณวงค์, วราภรณ์ คงสุวรรณ. การพยาบาลด้านจิตใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2546; 23(2): 103-24.

8. Grap M, et al. Collaborative Practice: Development, Implementation, and Evaluation of a Weaning protocol for Patients Receiving Mechanical Ventilation. Am J Crit Care 2003; 12: 453-60.

9. Bumroongkit C, Deesomchok A, Theerakittikul T, Pothirat C. Efficacy of Weaning Protocol in Medical Intensive Care Unit of Tertiary Care Center. J Med Assoc Thailand 2005; 88(1): 52-7.

10. รัตนา บุตรดีศักดิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาที่ใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.

11. Esteban A, et al. Effect of Spontaneous Breathing Trial Duration on Outcome of Attempts to Discontinue Mechanical Ventilation. Am J Respir Crit Care Med 1999; 159: 512-8.

12. Salam A, et al. Neurologic status, cough, secretions and extubation outcomes. Intensive Care Med 2004; 30.

13. Sukhupanyarak S. Risk Factors Evaluation and the Cuff Leak Test as Predictors for Postextubation Stridor. J Med Assoc Thai 2008; 91: 648-53.

14. จำเนียน วิไลวัลย์. การพัฒนาแบบประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2551.

15. ยุพา วงศ์รสไตร, อรสา พันธ์ภักดี, สุปรีดา มั่นคง. แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ. Rama Nurs J 2008; 14(3): 347-65.