ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

พัชรา ตันธีรพัฒน์
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
อำภาพร นามวงศ์พรหม
วารินทร์ บินโฮเซ็น

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ โดยใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (2006)1 เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยเอดส์ที่รับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันบำราศนราดูรจำนวน 210 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา และความเชื่อมั่นชนิดความสอดคล้องภายใน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ไค-สแควร์ และสเพียร์แมนโร


           ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเอดส์มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านโภชนาการ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และด้านการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลเฉพาะรายได้ การรับรู้ความสามารถในตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05


           ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเอดส์ปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้การรับรู้ความสามารถในตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Pender NJ. Health Promotion in nursing practice. 2nd ed. Connecticut: Appleton & Lange; 1987.

2. WHO, UNAIDS. Report on theGlobal HIV/AIDS Epidemic. In Worldwide HIV & AIDS Estimates. [Internet]. 2006 [Updated 2006 December; cited 2008 July 10]; Available from: http://www.avert.org/wwstafes.html

3. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2552.

4. ประพันธ์ภานุภาค, และคณะ. คู่มือเพื่อการเพิ่มศักยภาพพยาบาลในการบริหารจัดการคลินิกผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานพยาบาล. กรุงเทพฯ: สำนักโรคเอดส์วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย; 2548.

5. ไปรมาษฒ์ บิณฑจิตต์. การศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

6. สุดารัตน์ วรรณสาร. การศึกษาปัจจัยที่มี ผลกระทบต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.

7. อมรินทร์ หน่อไชยวงค์. ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

8. ภัทรี แสนอุดมโชค. ผลของการปรึกษาตามแนวทฤษฎีปัญญาพฤติกรรมต่อระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2544.

9. อัปษรศรี ธนไพศาล. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคการตั้งเป้าหมายและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นติดเชื้อเอชไอวี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

10. สุมณฑา กบิลพัตร. ความเครียดการสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมเผชิญความเครียดของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

11. สถาบันบำราศนราดูร. รายงานประจำปี. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2552.

12. Norwood SL. Research strategies for advanced practice nurses. New Jersey: Practice Hall Health; 2000.

13. วารินทร์ บินโฮเซ็น, และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์. ปทุมธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต; 2552.

14. Brandt PA, Weinert C. Measuring Social Support with the Personal Resource questionnaire. West J Nurs Res 1987;9(4):589-602.

15. จิรภา หงษ์ตระกูล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการแรงสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2532.

16. ศิวิมล แก้ววิจิตร. พฤติกรรมทางเพศและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อ HIV ในจังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2548.

17. อภิรดี เขมะวนิช. การดูแลตนเองในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและหรือผู้ป่วยโรคเอดส์ [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.

18. Bandura A. Encyclopedia of Human Behavior 1994; 4:71-4.

19. เบญจา ช้างแก้ว. การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ อำเภอปากท่อจังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2547.