ผลการใช้แนวทางเวชปฏิบัติ “การระงับปวดหลังผ่าตัด” ต่อการบรรเทาความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในสถาบันบำราศนราดูร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมักมีอาการปวดแผลผ่าตัด ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดทำให้ไม่สุขสบายการเคลื่อนไหวน้อยลง ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบไหลเวียนโลหิตทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวช้าต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้นทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น งานวิสัญญีได้ร่วมกับหอผู้ป่วยหลังผ่าตัดในการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ “การระงับปวดหลังผ่าตัด” (แนวทางเวชปฏิบัติฯ) ขึ้นเมื่อปี 2549 เพื่อบรรเทาอาการปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัด โดยเน้นการให้ข้อมูลผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยเป็นผู้ประเมินระดับความเจ็บปวดด้วยตนเองและให้การรักษาพยาบาลตามแนวทางเวชปฏิบัติฯในห้องพักฟื้นและ24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางเวชปฏิบัติฯ ต่อการบรรเทาปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นและใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ความพึงพอใจของผู้ป่วยในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น และหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วย โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปเพื่อผ่าตัดจำนวน 35 ราย และเพื่อศึกษาการปฏิบัติตามแนวทางเวชปฏิบัติฯ ตลอดจนความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลจำนวน 6 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดจำนวน 23 ราย เพื่อพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติฯให้เหมาะสมกับผู้ป่วยและแต่ละหน่วยงานให้มากยิ่งขึ้นต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 68.6 มีคะแนนความปวดที่สูงที่สุดอยู่ในช่วง 5-7 ขณะอยู่ห้องพักฟื้นจำนวนครั้งในการประเมินความปวดในห้องพักฟื้นเฉลี่ย 7.71 ครั้ง และได้รับยาบรรเทาปวดเฉลี่ย 2.57 ครั้ง จนมีคะแนนความปวด < 5 ก่อนส่งกลับหอผู้ป่วย และที่เวลา 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด พบผู้ป่วยร้อยละ 74.2 มีคะแนนความปวดที่ 3-4 จำนวนครั้งในการประเมินความปวดที่หอผู้ป่วยใน 24 ชั่วโมงเฉลี่ย 10.91 ครั้ง ได้รับยาบรรเทาปวดเฉลี่ย 1.29 ครั้ง ภาพรวมความพึงพอใจมากที่สุดในระยะก่อนผ่าตัดร้อยละ 60.0 ระยะพักฟื้นร้อยละ 88.6 ส่วนในระยะหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยร้อยละ 74.3 แนวทางเวชปฏิบัติฯที่วิสัญญีพยาบาลสามารถปฏิบัติได้ทุกครั้งและทุกคนมี 5 ข้อใน 8 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 62.5 ส่วนข้อที่ปฏิบัติได้น้อยที่สุดคือ เรื่องการรายงานวิสัญญีแพทย์หรือแพทย์เจ้าของไข้นอกเวลาราชการปฏิบัติได้ทุกครั้งคิดเป็นร้อยละ 33.3 ส่วนความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลต่อการใช้แนวทางเวชปฏิบัติฯอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกข้อคำถาม (เฉลี่ย 4.75, SD = 0.444, range = 4-5) ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่หอผู้ป่วยร้อยละ 30 สามารถปฏิบัติตามแนวทางเวชปฏิบัติฯได้ทุกข้อส่วนใหญ่ปฏิบัติได้เกือบทุกข้อ และมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางเวชปฏิบัติฯ ในระดับปานกลางถึงมากที่สุดในทุกข้อคำถาม (เฉลี่ย 4.40, SD = .716, range = 3-5)
สรุปแนวทางเวชปฏิบัติฯที่ใช้ในสถาบันบำราศนราดูรนี้ เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริงผู้ปฏิบัติตลอดจนผู้ป่วยที่มารับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ในส่วนที่เป็นแนวทางเวชปฏิบัติฯที่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติได้ทุกครั้งนั้นจะได้นำไปทบทวนและพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติฯ ร่วมกันเพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจที่ตรงกัน มีความชัดเจนมากขึ้น และสามารถปฏิบัติได้มากยิ่งขึ้น
Article Details
References
2. Avidan M, Harvey AMR, Ponte J, Wendon J, Ginsburg R. Perioperative care, anesthesia, pain management and intensive care: An illustrated colour text. London: Churchill Livingstrone; 2003.
3. ภัทรพร เขียวหวาน. แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่: การจัดการทางการพยาบาลสู่การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์ุ; 2548.
4. Ashburn MA, Ready B. Postoperative pain In J.D. Loeser . 3rd ed. Bonica’s management of pain. Philladelphia: Lippincott Williams & Wilkins 2001; 222-40.
5. สมรัตน์ จารุลักษณานันท์. การให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อคุณภาพและ ความปลอดภัย. ตำราวิสัญญีวิทยา. สมุทรสาคร: วินเพรส โปรดักชั่นเฮาส์; 2548.
6. Jefferry L, et al. Results from a National Survey Suggest Postoperative Pain Continues to be Undermanaged. Postoperative pain experience. Anesthesia & Analgesia 2003;97: 534-40.
7. Phillips DM. JCAHO Pain managementstandards are unveiled. J Am Med Assoc 2000; 284: 428-9.
8. Alfhild Dihle, et al. Using the American Pain Society’s Patient Outcome Questionnaire to Evaluate the Quality of Postoperative Pain Management in a Sample of Norwegian Patients. The Journal of Pain 2006; 7(4): 272-80.
9. จุฬาลักษณ์ บารมี. แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพ และคุณภาพการพยาบาล. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2552.
10. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัย ทางพยาบาลศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2550.
11. จุฬาลักษณ์ บารมี. สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 1. ชลบุรี: ศรีศิลปะการพิมพ์;2551.