ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลาง ต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการออกกำลังกาย พฤติกรรมการออกกำลังกาย และระดับ CD4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะไม่มีอาการ

Main Article Content

รัชนี แก้วไสล
วารินทร์ บินโฮเซ็น
อำภาพร นามวงศ์พรหม
พงษ์จันทร์ อยู่แพทย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลางต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการออกกำลังกาย พฤติกรรมการออกกำลังกาย และระดับ CD4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะไม่มีอาการ โดยใช้ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถตนเองของ Bandura1 เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะไม่มีอาการที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันบำราศนราดูร คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 ราย เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลางประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1) การเตรียมความพร้อม 2) ระยะปฏิบัติและ 3) ระยะติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง 3) แบบสอบถามความคาดหวังในผลดีของการออกกำลังกาย 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย 5) แบบบันทึกระดับ CD4 และ 6) โปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความหนักในระดับปานกลาง ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นชนิดความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองความคาดหวังในผลดีของการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกายได้เท่ากับ 0.91, 0.88, และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายก่อนและหลังเข้าโปรแกรมใช้ สถิติWilcoxon Signed-Rank test และความแตกต่างของระดับ CD4 ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม ด้วยสถิติpaired t-test


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลางหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001, 0.001, 0.000 ตามลำดับ) แต่ระดับ CD4 เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value = 0.079) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ โปรแกรมในการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลางสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพในผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะไม่มีอาการได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Bandura. The exercise of control In A Self-efficacy. New York: W.H. Freemen and Company; 1997.

2. UNAIDS. AIDS epidemic update December 2007 [Internet]. 2007. Available from: http://www.Unaaids.org /en/HIV.data/ epi

3. กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ ณ วันที่ 31 มกราคม 2553 นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2553.

4. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม. การดำเนินโรคโดยธรรมชาติของการติดเชื้อเอชไอวีในการประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้เอดส์. ใน: เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม, บรรณาธิการ. การวิจัยทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์; 2541. หน้า 10-21.

5. ประพันธ์ ภานุภาค. ระบาดวิทยาพยาธิกำเนิด และธรรมชาติการดำเนินโรคของโรคเอดส์. ใน: นิตยา ภานุภาค, บรรณาธิการ. คู่มือเพื่อการเพิ่มศักยภาพพยาบาลในการจัดการคลินิกผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานพยาบาล ศูนย์วิจัยโรคเอดส์. กรุงเทพฯ : สภากาชาดไทย; 2548.

6. สิริ เชี่ยวชาญวิทย์. Color Atlas of HIV Infection. ใน: สิริ เชี่ยวชาญวิทย์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: พีบีฟอเรนส์บุคส์เซ็นต์เตอร์; 2540. หน้า 1-23.

7. วัชรา ริ้วไพบูลย์. การส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายสำหรับผู้ติดเชื้อ / ผู้ป่วยเอดส์. การประมวลองค์ความรู้เพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์กองโรคเอดส์กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา; 2551. หน้า 89-113.

8. สุชาดา คงแก้ว, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์, พัชรี ไชยลังกา. ปัญหาสุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลจังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์: สงขลานครินทร์เวชสาร; 2550. หน้า. 284-94.

9. Dudgeon DW, Phillips K, Bopp C, Hand G. Review Physiological and Psycholocal Effects of Exercise Interventions in HIV Disease. AIDS Patient Care and SIDs 2004; 18: 81-95.

10. American College of Sports Medicine position stand. The recommended quantity andquality of exercise for developing and maintaining cardiorespiratory and muscular fitness flexibility in healthy adults. MED Sci Sports Exerc 1998; 30: 975-91.

11. MacArthur RD, Levine SD, Birk TJ. Cardiopulmonary,immunologic and psychologic responses to exercise training in individuals seropositive for HIV. Int Conf AIDS jul 1992: 19-24.

12. Terry L, Sprinz E, Riberio JP. Modurate and high intensity exercise training in HIV-1 seropositive individuals A randomized trial. Int J Sports Med 1999; 20: 142-6.

13. Nixon S O’ Brien, K Glazier RH, Tynan AM. Aerobic exercise intervention for adults living with HIV/AIDS. In The Cochrane Library, 4th ed. Chiechester, UK: John Wiley&Sons; 2003.

14. มาเรียม นิ่มนวล. ผลของการออกกำลังกายระดับปานกลางต่อการเปลี่ยนแปลงระดับลิมโฟซัยด์ที่มีซีดีสี่ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีในระยะไม่มีอาการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

15. สมชาย ลี่ทองอิน. คู่มือการก้าวเดินเพื่อสุขภาพภายใต้โครงการก้าวเดินประเทศไทย 999. นนทบุรี: กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

16. จันทณา วังคะออม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.