รายงานผู้ป่วย กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกช็อครุนแรง

Main Article Content

เจียมใจ สุขาทิพยพันธุ์

บทคัดย่อ

          โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุข เนื่องจากเป็นโรคที่ระบาดได้เร็ว และอาการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วและรุนแรง อาจเกิดภาวะช็อค (grade III) และถ้าไม่ได้รับการเฝ้าระวัง จะเกิดภาวะช็อครุนแรง (grade IV) ซึ่งมีความยุ่งยากในการดูแลรักษาพยาบาลหากปล่อยไว้นานจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ตับวาย ไตวาย เลือดออกมาก จนถึงเสียชีวิตดังนั้นพยาบาลเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญ และมีทักษะในการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดสามารถให้การพยาบาลได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ (Emergency Care) เพื่อลดอัตราตาย, อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยได้


          ผู้ศึกษาจึงขอเสนอกรณีศึกษา ผู้ป่วยเด็กเพศหญิง อายุ14 ปี 2 เดือน ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกว่ามีสภาวะ Hypo-volumic Shock จากการซักประวัติผู้ป่วยมีไข้ 2 วัน กินยาลดไข้ Paracetamol เองที่บ้านไม่ได้ไปตรวจที่ไหน ก่อนมาอาเจียน 6 ครั้ง ปวดท้องมาก อ่อนเพลีย จึงให้ญาติพามาโรงพยาบาลถึงห้องตรวจ มือเท้าเย็นชืด Capillary Refill มากกว่า 3 วินาที ชีพจรคลำไม่ได้ ความดันโลหิตวัดไม่ได้จากการประเมินข้อมูลของผู้ป่วยตามแบบประเมินภาวะสุขภาพแบบกอร์ข้อวินิจทางการพยาบาลดังนี้ผู้ป่วยมีภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเนื่องจากการสูญเสียพลาสมาออกนอกเส้นเลือดเฉียบพลัน, ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกภายใน(Internal bleeding), ผู้ป่วยมีภาวะไม่สมดุลเกลือแร่แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia), การทำงานไตไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากปัสสาวะออกน้อย, อาจจะเกิดอาการทางสมองจากภาวะตับวาย, มีภาวะผิดปกติของการทำงานหัวใจและหลอดเลือดผู้ป่วยและครอบครัววิตกกังวล, อาจเกิดการระบาดของโรคในครอบครัวและชุมชนผู้ป่วยได้รับการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง สามารถป้องกันความเสี่ยงรุนแรงทำให้มีอาการดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ได้รับการวินิจฉัยครั้งสุดท้ายว่า DHF grade IV (ผู้ป่วยไข้เลือดออกรุนแรง) นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 4 วัน สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้โดยไม่มีความพิการ

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. กองระบาดวิทยา, สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี2501, 2530 และ 2545. นนทบุรี.

2. กองระบาดวิทยา, สำนักอนามัย. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2540. นนทบุรี; 2540.

3. นลินี อัศวโภคี. ประสบการณ์ด้านโรคติดเชื้อในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โฮลิสติก พับลิสซิ่ง; 2540.

4. ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, เดวิด จอห์น, สุจิตรา นิมมานนิตย์ และคณะ. ดัชนีที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในระยะแรกใน: กระทรวงสาธารณสุข ผลงานวิชาการดีเด่น กระทรวงสาธารณสุข ปี2538. เชียงราย: โรงพิมพ์อินเตอร์พริ้นท์; 2539:1-16.

5. ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, สุจิตรา นิมมานนิตย์. แนวทางการวินิจฉัยและโรคไข้เลือดออกเดงกีฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

6. ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ. ไข้เลือดออก: การดูแลและรักษา. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพเด็ก มหาราชินี; 2541.

7. สุจิตรา นิมมานนิตย์, ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, อรุณ วิทยะศุภร. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2542.

8. คณาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2541.

9. จันทร์นิวัทธ์ เกษมสันต์, บุญชอบ พงษ์พาณิชย์. กุมารเวชศาสตร์เล่ม 2 (โครงการตำราศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ การพิมพ์; 2540.

10. ธีรชัย จันทรโรจน์ศิริ. กุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: สำราญการพิมพ์; 2541.

11. มนตรี ตู้จินดา. กุมารเวชศาสตร์เด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์; 2541.

12. วินัย สุวัตถีอรุณ วงษ์จิราษฎร์, ภิภพ จิรภิญโญ. ภาวะฉุกเฉินทางกุมารเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์; 2539.

13. เพ็ญจันทร์สุวรรณแสง โมไนยพงศ์. การวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ: ภาควิชา พยาบาลศาสตรคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.

14. กำพล ศรีวัฒนกุล. คู่มือการใช้ยาฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: เมดาร์ท; 2540.

15. คณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คู่มือการใช้ยาสำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่7. เชียงใหม่: ธนบรรณการพิมพ์; 2539.

16. คณาจารย์วิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข. การพยาบาลเด็ก. กรุงเทพฯ: ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2540.