การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ สถาบันบำราศนราดูร กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แนวคิดของการจัดการความรู้

Main Article Content

สมถวิล อัมพรอารีกุล
บุญทิพย์ สิริธรังศรี
สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล
พิเชฐ บัญญัติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็ก โรคเอดส์สถาบันบำราศนราดูรโดยใช้การจัดการความรู้ 2) ประเมินความเหมาะสมในการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวนทั้งหมด 51 คน ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ 15 คน ผู้ดูแล 20 คน และผู้ป่วยเด็กโรดเอดส์ 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด คือ 1) ประเด็นสนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำกลุ่มแต่ละกลุ่ม และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ เครื่องมือทั้งสองชุดผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหามีค่าระหว่าง 0.80 - 1.00 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม ใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง และสุนทรียสนทนาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) ทีมผู้ดูแลทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการประสานความร่วมมือดูแลผู้ป่วย 2) มาตรฐานการดูแลรักษาของแพทย์และพยาบาล 3) การรับประทานยาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง 4) การให้ความรู้ด้วยสื่อที่เหมาะสมกับเด็กและการทำกลุ่มสนทนาในผู้ดูแล 5) การสร้างเสริมสุขภาพทางกายและจิตใจเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเผยผลเลือดและเข้าสู่วัยรุ่น 6) การช่วยเหลือด้านสังคมสวัสดิการและพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย 7) การพัฒนาเครือข่ายที่ดูแลผู้ป่วยเด็กให้เชื่อมโยงกับสถาบันเป็นการดูแลอย่างต่อเนื่อง 8) ให้ความรักความสัมพันธ์ในครอบครัว ความเอาใจใส่ และดูแลแบบหัวใจมนุษย์ของผู้ดูแลทั้งหมด การประเมินผล และแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง 9) เป้าหมายของผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) ทีมผู้ดูแลทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการประสานความร่วมมือดูแลผู้ป่วย 2) มาตรฐานการดูแลรักษาของแพทย์และพยาบาล 3) การรับประทานยาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง 4) การให้ความรู้ด้วยสื่อที่เหมาะสมกับเด็กและการทำกลุ่มสนทนาในผู้ดูแล 5) การสร้างเสริมสุขภาพทางกายและจิตใจเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเผยผลเลือดและเข้าสู่วัยรุ่น 6) การช่วยเหลือด้านสังคมสวัสดิการและพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย 7) การพัฒนาเครือข่ายที่ดูแลผู้ป่วยเด็กให้เชื่อมโยงกับสถาบันเป็นการดูแลอย่างต่อเนื่อง 8) ให้ความรักความสัมพันธ์ในครอบครัว ความเอาใจใส่ และดูแลแบบหัวใจมนุษย์ของผู้ดูแลทั้งหมด การประเมินผล และแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง 9) เป้าหมายของรูปแบบคือคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก การประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ตามบริบทของสถาบันบำราศนราดูรในระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 0.93  ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์โดยใช้ประสบการณ์ความรู้ทักษะต่างๆที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคลนำมาแลกเปลี่ยนเป็นความรู้ที่เปิดเผย และพัฒนาเป็นรูปแบบการดูแลที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ; 2548.

2. Nonaka Ikujiro. The Knowledge Creating Company. USA: Harvard BusinessReview; 2004. p.47-68.

3. บุญทิพย์ สิริธรังศรี, พิเชษฐ์ บัญญัติ. การจัดการความรู้ในประมวลสาระชุดวิชาระบบสุขภาพ และการจัดการหน่วยที่13. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2549:13-42.

4. ชิษณุพันธุ์เจริญ ทวีโชติพิทยสุนนท์, อุษา ทิสยากร. โรคเอดส์ในเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

5. Palella FJ, et al. Declining morbidity among patients with advanced Human Immunodeficiency virus infection. HIV Outpatient Study Investigator. N Engl J Med 2001; 338: 853-60.

6. พิกุล นันทชัยพันธ์. การจัดการดูแลผู้ติดเชื้อในประมวลสาระชุดวิชาประเด็น และแนวโน้มทางการบริหารการพยาบาลหน่วยที่11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; p. 29-39.

7. Caceres C, Gomez E J, Pozo F Del. A Patient Monitoring Tool for an HIV/AIDS. Integral Care Model Medicine and Medical Research. [Internet]. 2001 [cited 2008 May 7]; Available from: http://gateway.nlm.nih.gov/MeetingAbstracts/ma?f=102242722.html

8. Minority Nurse, et al. A Model Approach to Culturally Competent AIDS Care. Minority Nurse magazine. [Internet]. 2008 [cited 2008 March 19]; Available from://minoritynurse.com/vitalsigns/feb06-3.html