ศึกษาระบาดวิทยาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของสถาบันบำราศนราดูร ปีงบประมาณ 2550

Main Article Content

สิริกาญจน์ พิมลลิขิต
สิริพร ชาตะปัทมะ
ฉลอง ชิงดวง
สมถวิล อัมพรอารีกุล
ทองดี ยนจอหอ

บทคัดย่อ

          โรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยา ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่มารับบริการจากสถาบันบำราศนราดูรเป็นการศึกษาแบบเชิงพรรณาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบรายงานผู้ป่วย/แฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่รับไว้เป็นผู้ป่วยในปีงบประมาณ 2550 (ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม 2549 - 30 กันยายน 2550) ทั้งหมด 287 คน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกตามคู่มือแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกีของกระทรวงสาธารณสุขไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตผลการศึกษาพบว่า เป็นเพศชายร้อยละ 54.70 เพศหญิงร้อยละ 45.30 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ร้อยละ 55.75 พบมากในกลุ่มอายุ 10 - 14 ปีร้อยละ 32.75 ผู้ใหญ่ร้อยละ 44.25 พบมากในกลุ่มอายุ 15 - 24 ปีร้อยละ 25.43 กลุ่มอาชีพพบเป็นนักเรียนชั้นประถมมากที่สุดร้อยละ 34.15 รองลงมาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมร้อยละ 21.60 จะเห็นได้ว่าโรคไข้เลือดออกแพร่ระบาดกระจายไปในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมและมัธยมมากที่สุด ดังนั้นการควบคุมและป้องกันโรคควรเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกในกลุ่มดังกล่าวเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยมารับบริการในช่วงเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม มากที่สุดเป็นเด็กร้อยละ 28.92 ผู้ใหญ่ร้อยละ 15.33 ลักษณะทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเมื่อแรกรับผู้ป่วยมีอาการป่วยก่อนมาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 3.99 วัน มาด้วยอาการทั่วไปร้อยละ 82.58 และมีอาการเลือดออกร่วมด้วยร้อยละ 17.42 พบเลือดกำเดาออก 30.00% มีPethechia 20.00% เลือดออกตามไรฟัน 12.00% อาเจียนเป็นเลือด 8.00% ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด 4.00% เลือดกำเดาออกและมีPethechia 2.00% เลือดกำเดาออกและอาเจียนเป็นเลือด 2.00 % และพบผู้ป่วยหญิงมีประจำเดือนร่วมด้วยร้อยละ 10.31 คิดจากจำนวนผู้หญิงทั้งหมด 97 คน และเป็นเด็กมากกว่าผู้ใหญ่เกือบ 2 เท่า


          ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยในกลุ่มเด็ก พบมีจำนวนเม็ดเลือดขาวโดยเฉลี่ย 3,495.5 เซลล์/ลบ.มม ความเข้มข้นเลือดโดยเฉลี่ย 39.95% จำนวนเกร็ดเลือดโดยเฉลี่ย 130,356.25 เซลล์/ลบ.มม ผู้ใหญ่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวโดยเฉลี่ย 3,901.57 เซลล์/ลบ.มม ความเข้มข้นเลือดโดยเฉลี่ย 42.83% จำนวนเกร็ดเลือดโดยเฉลี่ย 84,094.49 เซลล์/ลบ.มม ตลอดระยะเวลาการรักษาพบว่า ผู้ป่วยเด็กมีความเข้มข้นเลือดสูงสุดโดยเฉลี่ย 40.86% จำนวนเกร็ดเลือดต่ำสุดโดยเฉลี่ย 70,543.75 เซลล์/ลบ.มม ผู้ใหญ่มีความเข็มข้นเลือดสูงสุดโดยเฉลี่ย 44.00% และจำนวนเกร็ดเลือดต่ำสุดโดยเฉลี่ย 52,825.24 เซลล์/ลบ.มม การสรุปวินิจฉัยโรคเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายแยกตามกลุ่มอาการ พบว่าเด็กเป็น Dengue Hemorrhagic Fever มากกว่าผู้ใหญ่เกือบ 1 เท่า ส่วนผู้ใหญ่เป็น Dengue Fever มากกว่าเด็กเกือบ 3 เท่า และ เด็กเป็น Dengue Shock Syndrome มากกว่าผู้ใหญ่ 3 เท่า แสดงว่าเด็กมีการติดเชื้อไวรัส Dengue มากกว่า 1 ครั้ง ผู้ป่วยเด็กใช้เวลาในการรักษาโดยเฉลี่ยนอนโรงพยาบาลคนละ 4.77 วัน ผู้ใหญ่ใช้เวลาในการรักษาโดยเฉลี่ยคนละ 4.12 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สุจิตรา นิมมานนิตย์. โรคไข้เลือดออกสำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก. กรมควบคุมโรคติดต่อ: กระทรวงสาธารณสุข; 2542.

2. ชิษณุ พันธุ์เจริญ, วันล่า กุลวิชิต, ธีระพงษ์ตัณฑวิเชียร, อุษา ทิสยากร. ชมรมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย; 2546.

3. สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก, กรมควบคุมโรคติดต่อ. โรคไข้เลือดออก. กระทรวงสาธารณสุข; 2545.

4. รายงานโรคเร่งด่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกประจำสัปดาห์ที่ 37 เดือนกันยายน 2550. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 1 มกราคม - 15 กันยายน 2550. กระทรวงสาธารณสุข.

5. ศศิธร จันทรทิณ. กลุ่มงานกุมารเวชกรรมอาการทางคลินิกและการรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีที่ช็อกที่โรงพยาบาลปทุมธานี. ขอนแก่นเวชสาร 2550; 31(3).