ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำไขสันหลัง ในผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราที่ได้รับการคาท่อระบายน้ำไขสันหลัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study) ชนิด Retrospective and Prospective Uncontrolled before and after Intervention Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราที่ได้รับการคาท่อระบายน้ำไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 25 ราย ประกอบด้วย กลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 14 ราย และกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 11 ราย โดยกลุ่มควบคุมจะเป็นกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลซึ่งได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติเดิมของโรงพยาบาล ในขณะที่กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยเป็นผู้ให้การดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติผู้วิจัยเป็นผู้เก็บน้ำไขสันหลังส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียในวันแรกของการใส่ท่อระบายน้ำไขสันหลัง และในวันที่ถอดท่อระบายน้ำไขสันหลังหรือในวันที่ 7 ของการใส่ท่อระบายน้ำไขสันหลัง เมื่อทดสอบอัตราการติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำไขสันหลังระหว่างกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลกับกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถิติ Chi-Square ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราที่ได้รับการคาท่อระบายน้ำไขสันหลังที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำไขสันหลังซึ่งต่ำกว่ากลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.003) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาล โดยนำแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราที่ได้รับการคาท่อระบายน้ำไขสันหลัง ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรมีการวิจัยติดตามระยะยาวเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการอ้างอิงถึงประชากรกลุ่มใหญ่ได้ และควรมีการศึกษาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่อหน่วย(Unit cost) ระหว่างกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลกับกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล
Article Details
References
2. เกียรติรักษ์ รุ่งธรรม. การวิจัยทางคลินิก. เอดส์. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง; 2541.
3. คณะกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลฝ่ายการพยาบาลสถาบันบำราศนราดูร. ผลสำรวจอัตราชุกของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลสถาบันบำราศนราดูร. นนทบุรี: ฝ่ายการพยาบาลสถาบันบำราศนราดูร; 2547.
4. จเร ผลประเสริฐ. ประสาทศัลยศาสตร์. กรุงเทพฯ: เยียร์บุ๊กพับลิชเชอร์; 2539.
5. ประพันธ์ ภานุภาค และคณะ. คู่มือการเพิ่มศักยภาพพยาบาลในการบริหารจัดการคลินิกผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานพยาบาล. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย; 2548.
6. ปราโมทย์ ธีรพงษ์. เอดส์การรักษาและวัคซีน. กรุงเทพฯ: ทีซีเอเชีย; 2546.
7. พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ. เอชไอวีและจุลชีพฉวยโอกาส. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย; 2541.
8. เยาวรัตน์ อินทอง, ไพเราะ แสนสุรัตน์. การศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอคคัส นีโอฟอร์แมน. วารสารควบคุมโรค 2546; 29: 19-29.
9. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. วิธีการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2544.
10. สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์. ผลของแบบแผนการให้สารน้ำต่อการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ และการติดเชื้อจากการได้รับสารน้ำในผู้ป่วยอ่อนอิมมูน [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2531.
11. อะเคื้อ อุณหเลขกะ. การติดเชื้อในโรงพยาบาล. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง; 2548.
12. Clevenger V. Nursing management of Lumbar Drains. J Neurosci Nurse 1990; 22: 227-30.
13. Kasuda H, et al. Skin Disinfection before Epidural Catherization: Comparative Study of Povidone Versus Chlorhexidine Ethanol. Jpn Dermatol 2002; 1: 42-6.
14. Ovington LG. A cleanser is not acleanser is not a cleanser. 2006. [Internet]. Available from: http://woundcare.org/newsvol3n1/prpt3.htm.
15. Thompson, H. J. American Association of Neuroscience Nurses. Clinical Guideline Series: Lumbar Drain Management. Am Assoc Neurosci Nurses 2000; 20: 59-68.