การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการดูแลผู้ป่วยวัณโรคการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสำหรับทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ณัทกร พงศ์พีรเดช

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงพัฒนา (Development research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการดูแลผู้ป่วยวัณโรค การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสำหรับสหวิชาชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยใช้กรอบการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Council : NHMRC) และกรอบแนวคิดตามเกณฑ์มาตรฐานสถานพยาบาลในระดับสากล (Joint Commission International: JCI) กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มบุคลากรผู้ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก จำนวน 202 คน ประกอบด้วย คลินิกวัณโรค แผนกผู้ป่วยนอก แผนกฉุกเฉิน และแผนกผู้ป่วยใน 2) กลุ่มผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่กระจายเชื้อในคลินิกวัณโรคและหอผู้ป่วยใน จำนวน 682 คน ช่วงเวลาที่พัฒนา 18 เดือน ระหว่างมกราคม 2560 ถึง มิถุนายน 2561


          เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย แผนการอบรม และคู่มือแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยวัณโรค การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติ แบบวัดความรู้ และแบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติ ซึ่งผ่านการทดสอบ Content validity index (CVI) และ Reliability ก่อนนำไปใช้จริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ Paired t-test และ Chi-Square


          ผลการนำไปใช้พบว่า ความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกอยู่ในระดับมาก และการใช้แนวปฏิบัติมีผลต่อค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และสัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นในทีมสหวิชาชีพทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) นอกจากนั้น ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกที่ได้พัฒนาขึ้น ยังส่งผลให้โรงพยาบาลศรีสะเกษผ่านการประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพการดูแลรักษาวัณโรคระหว่างปี 2560-2561 ในระดับคะแนนสูงสุด ร้อยละ 99.90 โดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี ผลจากการศึกษาเสนอให้มีการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้อย่างทั่วถึง และควรมีการศึกษาติดตามผลของการใช้แนวปฏิบัติ และความคงอยู่ของการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. Global tuberculosis report 2018 [internet]. 2018 [cited 2019 May 7]. Available from: https://www.who.int/tb/publications/global_report/en/

2. MacNeil A, Glaziou P, Sismanidis C, Maloney S, Floyd K. Global epidemiology of tuberculosis and progress toward achieving global targets. Morbidity and Mortality Weekly Report 2017; 68(11): 263-6.

3. เฉวตสรร นามวาท, สุธาสินี คาหลวง, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, ยงเจือ เหล่าศิริถาวร, ศศิธันว์ มาแอเคียน, วิธัญญา ปิณฑะดิษ และคณะ. ความคุ้มค่าการลงทุนเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย: การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้. รายงานการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2018/08/Full-report_TB.pdf

4. ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, พรทิพย์ ศิริภานุมาศ, บรรณาธิการ. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

5. สยาม อรุณศรีมรกต, ยงยุทธ วัชรดุลย์. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย 2016; 11(3): 1-7.

6. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

7. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคประเทศไทยปีงบประมาณ 2552-2558 [อินเทอร์เน็ต].2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิ.ย.2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/ผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคประเทศไทย_52-58.pdf

8. คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค (TB.03). ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลศรีสะเกษ; 2559.(อัดสำเนา)

9. คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค (TB.03). ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลศรีสะเกษ; 2560.(อัดสำเนา)

10. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ข้อมูลเฝ้าระวังการติดเชื้อในบุคลากร. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลศรีสะเกษ; 2557. (อัดสำเนา)

11. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ข้อมูลเฝ้าระวังการติดเชื้อในบุคลากร. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลศรีสะเกษ; 2558. (อัดสำเนา)

12. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ข้อมูลเฝ้าระวังการติดเชื้อในบุคลากร. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลศรีสะเกษ; 2559. (อัดสำเนา)

13. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

14. อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. การดำเนินการ อุปสรรค และความต้องการของโรงพยาบาล ในประเทศไทยในการป้องกันการแพร่กระจายวัณโรค. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560; 11(4): 529-39.

15. ธารารัตน์ สัจจา, กัลยาณี นาคฤทธิ์. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาล 2555; 39 (2): 22-36.

16. National Health and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines [internet]. 1998 [cited 2004 April 30]. Available from: http://www.health.gov.au/nhmrc/publication/pdf/cp.30.pdf

17. Joint Commission International. Joint Commission International Accreditation Standards for hospitals, including standards for Academic Medical Center Hospitals. 5thed. [internet]. 2013 [cited 2004 April 30]. Available from: https://www.jointcommissioninternational.org/assets/3/7/Hospital-5E-Standards-Only-Mar2014.pdf

18. Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 3rded. NY: Harper and Row Publication; 1973.

19. The Joanna Briggs Institute. JBI levels of evidence [internet]. 2014 [cited 2019 Jan 4]. Available from: https://joannabriggs.org/sites/default/files/2019-05/JBI-Levels-of-evidence_2014_0.pdf

20. เอื้อมพร ธรรมวิจิตรกุล, ณัทกร พงศ์พีรเดช. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับบุคลากรของกลุ่มงานการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล 2552; 36(3): 58-75.

21. จิตร สิทธีอมร, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, สงวนสิน รัตนเลิศ, เกียรติศักดิ์ ราชบริรักษ์. Clinical practice guideline: การจัดทำและนำไปใช้. กรุงเทพฯ: ดีไซน์; 2543.

22. Dowdy DW, Grant AD, Dheda K, Nardell E, Fielding K, Moore DA. Designing and evaluating interventions to halt the transmission of tuberculosis. J Infect Dis 2017; 216(6): 654-61.

23. Churchyard GJ, Mametja LD, Mvusi L, Ndjeka N, Hesseling AC, Reid A, et al. Tuberculosis control in South Africa: successes, challenges and recommendations. S Afr Med J 2014; 104(3): 244-8.

24. Jo KW. Preventing the transmission of tuberculosis in health care settings: administrative control. Tuberc Respir Dis 2017; 80(1): 21- 6.

25. Hest NA, Aldridge RW, Vries G, Sandgren A, Hauer B, Hayward A, et al. Tuberculosis control in big cities and urban risk groups in the European Union: a consensus statement. Euro Surveill 2014; 19(9): 1-13.

26. Petersena EB, Khamisb F, Miglioric GB, Bayd JG, Maraise B, Wejsed CF, et al. De-isolation of patients with pulmonary tuberculosis after start of treatment-clear, unequivocal guidelines are missing. Int J Infect Dis 2017; 56(1): 34-8.

27. Lee JY. Tuberculosis infection control in health-care facilities: environmental control and personal protection. Tuberc Respir Dis 2016; 79(4): 234- 40.

28. National Tuberculosis Information Program. ข้อมูลการประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลศรีสะเกษ 2560- 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก: https://tbcm-thailand.ddc.moph.go.th/uiform/login.aspx