ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมในการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก จังหวัดอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมในการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการของโรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดอุทัยธานี โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 440 คน ใช้แบบสอบถาม และเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 50-59 ปี การศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 98.90 และด้านการแพทย์ทางเลือก จากสื่อบุคคลมากที่สุด ร้อยละ 72.95 โดยมีความรู้และทัศนคติต่อบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอยู่ในระดับดี รวมทั้งการรับรู้ต่อการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอยู่ในระดับมาก โดยการรับรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การได้รับคำแนะนำและสนับสนุนจากเพื่อน/คนใกล้ชิดให้ดื่มเครื่องดื่มสมุนไพร เพื่อบำรุงสุขภาพ รองลงมาได้รับคำแนะนำจากพยาบาล/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/แพทย์แผนไทย ในขณะที่ด้านพฤติกรรมต่อการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอยู่ในระดับปานกลาง โดยพฤติกรรมต่อการรับบริการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สามารถซื้อหรือจ่ายค่าบริการเกี่ยวกับบริการได้ เนื่องจากราคาประหยัด ไม่แพง รองลงมา คือ ดื่มน้ำสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อบำรุงสุขภาพ
ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการจัดทำรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายเหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย และมีการจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2) ควรมีการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานที่เหมาะสมกับประเด็นปัญหา/บริบทในพื้นที่ต่อไป เช่น ปัญหาผู้สูงอายุมีปัญหาข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหลอดเลือดสมอง
Article Details
References
2. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จากhttps://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
4. รัชนี จันทร์เกษ, มนนิภา สังข์ศักดา, ปรียา มิตรานนท์. สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทยปี พ.ศ.2552, 2554 และ 2556. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2561]; 10(2): 103-16. เข้าถึงได้จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4448/hsri_journal_ v10n2_p103.pdf?sequence=1&isAllowed=y
5. ปราณี อ่อนศรี. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก 2559; 17(3): 158-67.
6. Best JW. Research in education. 4th ed. Eaglewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1993.
7. Abbas B, Gholamhossein M, Marie H, Seyed AS, Hosien S, Abdolghani A. Knowledge, attitude and use of complementary and alternative medicine amonge nurses: systematic review. Complement Ther Clin Pract 2018; 31: 146-57. doi: 10.1016/j.ctcp.2018.02.008. PMID: 29705447.
8. Bahall M, Legall G. Knowledge, attitude, and practices among health care providers regarding complementary and alternative medicine in Trinidad and Tobago. BMC Complement Altern Med 2017; 17: 144. doi: 10.1186/s12906-017-1654-y. PMID: 28274222.
9. Nissen N, Schunder TS, Weidenhammer W, Johannessen H. What attitude and needs do citizens in Europe have in relation to complementary and alternative medicine ?. Forsch Komplementmed 2012 ; 19 Suppl 2: S9-17. doi: 10.1159/000342710. PMID: 23883940.
10. วนิดา โล้วพฤกษ์มณี. ประสิทธิภาพของการฝังเข็มเพื่อลดอาการปวดและเพิ่มความสามารถในการใช้ข้อในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2558; 12(1): 1-15.
11. ณัฏฐ์ชนากานต์ จิระพรพงศ์, อรุณพร อิฐรัตน, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, นภัสรัญชน์ ฤกษ์เรืองฤทธิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ตัดสินใจรักษาด้วยแพทย์แผนไทย. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2558; 15(4): 622-32.
12. Felicity LB, Lucy Y, George TL. A systematic review of beliefs involved in the use of complementaryand alternative medicine. JHP 2011; 12(6): 85-67.
13. เยาวภา ปฐมศิริกุล, โชติรัส ชวนิชย์, เริ่ม ใสแจ่ม. พฤติกรรมด้านสุขภาพและปัจจัยจิตวิทยาที่ส่งต่อการตัดสินใจใช้บริการด้านสุขภาพด้วยวิธีการแพทย์ทางเลือกของลูกค้าโรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2557; (6)11: 149-62.