ความชุกของเชื้อ Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก

Main Article Content

ภคนันท์ สาดสี

บทคัดย่อ

การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียถือว่าเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกโดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกช่วงอายุ มีการรายงานพบเชื้อดื้อยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เชื้อ Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae (CRE) ถือเป็นเชื้อดื้อยาที่ยากต่อการรักษา บุคลากรห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิกจึงมีบทบาทที่สำคัญในการรายงานวินิจฉัยแยกเชื้อ การแจ้งเตือนการวิเคราะห์ข้อมูลความชุกและแนวโน้มของเชื้อ CRE เพื่อการเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติร้อยละ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความชุกของเชื้อ Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae (CRE) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ถึง 2561 ที่แยกได้จากจากสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยที่วินิจฉัยพบเชื้อในกลุ่ม Enterobacteriaceae ทั้งหมด 3,826 ราย  พบเป็นเชื้อ CRE 117 ราย จำนวน 135 isolate พบเชื้อ CRE สูงขึ้นทุกปีพบร้อยละ0.3,1.1,3.9,4.5และ5.7 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่พบ CRE มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนเท่ากับ 70 ราย  ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนักพบร้อยละของเชื้อ CRE สูงเมื่อเทียบกับแผนกอื่นๆ และเชื้อ CRE ส่วนใหญ่ก่อให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจมากกว่าระบบทางเดินปัสสาวะ โดยมีเชื้อที่สำคัญที่พบบ่อยที่สุดคือ Klebsiella  pneumoniae (ร้อยละ74.3) Escherichia coli (ร้อยละ16.2)  Enterobacter spp.(ร้อยละ 8.5) และ Citrobacter  diversus (ร้อยละ 0.8) ตามลำดับ   จากการศึกษานี้สะท้อนให้ทราบว่าปัญหาการติดเชื้อดื้อยาที่พบในโรงพยาบาลเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจากข้อมูลการศึกษานี้ใช้เป็นแนวทางให้คณะทำงานการจัดการเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล (Antimicrobial Resistant Team :AMR) เพื่อทบทวนกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินการวางแผน  วางมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ และลดปัญหาเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ภาณุมาศ ภูมาศ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, ภูษิต ประคองสาย, ตวงรัตน์ โพธะ, อาทร ริ้วไพบูลย์, สุพล ลิมวัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย : การศึกษาเบื้องต้น [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3699

2. พุทธชาด ขันตี, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. Update of Carbapenem-Resistant Enterobacteriaceae [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pidst.or.th/A464.html

3. นิตยา อินทราวัฒนา, มุทิตา วนาภรณ์. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์การดื้อยา. JMHS 2558; 22(1): 81-92.

4. วิรัตน์ ทองรอด. Antimicrobial Resistance (AMR, การดื้อยาของเชื้อ) [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=468

5. National Antimicrobial Resistance Surveillance Center. สถานการณ์เชื้อดื่อยาประจำปี 2561 แยกตามเขต [อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://narst.dmsc.moph.go.th/

6. Singpoltan N. Carbaspenems Resistant Enterobac teriaceae surveillance in Maharat Nakhonratchasima Hospital. J Med Technol Assoc Thai 2014; 42(2): 4931-9.

7. Thongkoom P, Kanchanahareutai S, Chantrakooptungkul S, Rahule S, Pupan M, Tuntrakul P, et al. Carbapenem-Resistant Enterobacteriaceae at Rajavithi Hospital: Results of a Microbiology Laboratory Program (2009-2015) [abstract]. J Med Assoc Thai 2017; 100(2): 212.

8. ชลดา ผิวผ่อง. อุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยา Carbapenems โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2559; 30(2): 1-12.

9. CDDEP. ResistanceMap [internet]. 2019 [cited 2019 Mar 29]. Available from: https://resistancemap.cddep.org/