บทความวิจัยเชิงประวัติศาสตร์: บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีกับการควบคุมการระบาดของอหิวาตกโรคในประเทศไทย

Main Article Content

สิทธิกร โกสุมภ์
ธัญย์ชนก แจ่มใส
ภัคจิรา รัฐสมุทร
นิภาพรรณ จันทร์ศิลา

บทคัดย่อ

          อหิวาตกโรคจัดเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรง และมีประวัติของการระบาดแพร่ไปทั่วโลกและกินระยะเวลาในการระบาดเป็นเวลานานนับแต่พ.ศ. 2360 เป็นต้นมา อหิวาตกโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี(Vibrio Cholerae) ได้ถูกค้นพบเมื่อปีพ.ศ. 2397 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดย Filippo Pacini ได้ตรวจพบแบคทีเรียรูปร่างโค้งงอจำนวนมากในลำไส้ผู้ป่วยและให้ชื่อว่า Vibrio Cholerae แต่การค้นพบนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับ จนในเวลาต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2426 โรเบิร์ต คอค (Robert Koch) ได้ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวและสามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์ได้ จึงเป็นที่ยอมรับว่า นี่คือเชื้อที่ก่อให้เกิดอหิวาตกโรค ตลอดในช่วงเวลาอันยาวนานของการระบาดของอหิวาตกโรคหลายครั้ง พบว่าเป็นการระบาดครั้งใหญ่ของโลกจำนวน 8 ครั้ง ครอบคลุมหลายพื้นที่ทั่วโลกและหนึ่งในประเทศที่มีการระบาดครั้งใหญ่ทุกรอบนั้นคือประเทศไทย   อหิวาตกโรคจัดเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรง และมีประวัติของการระบาดแพร่ไปทั่วโลกและกินระยะเวลาในการระบาดเป็นเวลานานนับแต่พ.ศ. 2360 เป็นต้นมา อหิวาตกโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี(Vibrio Cholerae) ได้ถูกค้นพบเมื่อปีพ.ศ. 2397 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดย Filippo Pacini ได้ตรวจพบแบคทีเรียรูปร่างโค้งงอจำนวนมากในลำไส้ผู้ป่วยและให้ชื่อว่า Vibrio Cholerae แต่การค้นพบนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับ จนในเวลาต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2426 โรเบิร์ต คอค (Robert Koch) ได้ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวและสามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์ได้ จึงเป็นที่ยอมรับว่า นี่คือเชื้อที่ก่อให้เกิดอหิวาตกโรค ตลอดในช่วงเวลาอันยาวนานของการระบาดของอหิวาตกโรคหลายครั้ง พบว่าเป็นการระบาดครั้งใหญ่ของโลกจำนวน 8 ครั้ง ครอบคลุมหลายพื้นที่ทั่วโลกและหนึ่งในประเทศที่มีการระบาดครั้งใหญ่ทุกรอบนั้นคือประเทศไทย  


           ประเทศไทยเริ่มมีการระบาดของอหิวาตกโรคตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีต(พ.ศ. 1893-2310) และกลับมาระบาดอีกครั้งในปีพ.ศ. 2360 ตรงกับการระบาดทั่วโลกครั้งที่ 1 ซึ่งตรงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี และยังคงระบาดต่อมาอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละช่วงเวลาของการระบาดนั้นพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์ได้ทรงพยายามหาวิธีรักษา ป้องกัน และกำจัดโรคตามวิธีการที่มีอยู่และที่ทรงริเริ่มในแต่ละยุคสมัย จนในที่สุดประเทศไทยก็สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ โดยเฉพาะในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระองค์ได้ทรงตระหนักถึงความรุนแรง และให้ความสำคัญกับโรคนี้เป็นอย่างมาก พระองค์ได้ทรงมีพระราชกรณียกิจในการควบคุมโรคอหิวาตกโรคหลายอย่าง และหนึ่งในนั้นคือการก่อตั้งโรงพยาบาลโรคติดต่อขึ้น ซึ่งภายหลังได้ย้ายมาตั้งที่ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลบำราศนราดูร” ซึ่งเป็นโรงพยาบาลต้นแบบของโรงพยาบาลควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ประเมิน จันทวิมล. ประวัติการระบาดของอหิวาตกโรคในประเทศไทย. ใน: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, บรรณาธิการ. โรงพยาบาลบำราศนราดูร. พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท.; 2503. หน้า 45-58. (อัดสำเนา)

2. วรรธนี สังข์หิรัญ. คุณลักษณะของ Vibrio Cholera ในสิ่งแวดล้อมและผู้ป่วยในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2546.

3. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสุขภาพคนไทย. ไทยโพสต์. 3 มกราคม 2561[อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ryt9.com/s/tpd/2762517

4. สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, บรรณาธิการ. ยุคอหิวาตกโรค โรคพิษสุนัขบ้า และโรคโปลิโอ. หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันบำราศนราดูร; 1 มิ.ย. 2559; สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2559.

5. สุมาลี ศรีจามร. ศูนย์ท้องร่วงโรงพยาบาลบำราศนราดูร. ใน: พิกุล มูลศาสตร์, บรรณาธิการ. โรงพยาบาลบำราศนราดูร พ.ศ. 2537. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2537. หน้า 162-72.

6. WHO. Cholera gamapserver [internet]. 2017 [cited 2019 June 3]. Available from: http://gamapserver.who.int/gho/interactive_charts/cholera/atlas.html

7. Bureau of Epidemiology. Summary of the annual cholera situation [internet]. 2019 [cited 2019 June 3]. Available from: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=01

8. สถาบันพระมหากษัตริย์คือศูนย์รวมจิตใจของคนไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chaoprayanews.com/2012/05/13/“สถาบันพระมหากษัตริย์”/