อุบัติการณ์และผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ

Main Article Content

วันเพ็ญ บุญประเสริฐ

บทคัดย่อ

          ปอดอักเสบที่เกิดในโรงพยาบาล (Hospital Acquired Pneumonia; HAP) เป็นหนึ่งในปัญหาของการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบได้บ่อยที่สุดและส่วนใหญ่พบในหอผู้ป่วยอายุรกรรมมากที่สุด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาล โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยการเกิดปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 48 ชั่วโมงเป็นต้นไปหรือมากกว่า ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยหายใจ ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม 2 แห่ง คืออายุรกรรมชายและอายุรกรรมหญิง ในโรงพยาบาลเชียงคำ ตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2560
          ผลการศึกษา ในผู้ป่วยที่ศึกษารวม 6,213 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 3,166 ราย เพศหญิง 3,047 ราย พบว่ามีผู้ป่วยเกิด HAP จำนวน 24 ราย พบในเพศชายมากที่สุดร้อยละ 58.3 อายุเฉลี่ย 69.5 ปี อุบัติการณ์การเกิด HAP โดยรวมเท่ากับ 0.8 ครั้ง ต่อจำนวนวันนอน 1,000 วัน (Patient-days) หรือเท่ากับ 3.9 ต่อ 1,000 ครั้ง ของการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospital admission) ส่วนใหญ่เกิด HAP ในระยะ late onset ร้อยละ 83.3 พบในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรังหรือมีโรคร่วม ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 2.3 รองลงมาคือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร้อยละ 1.6 โดยมีผลกระทบจากการเกิด HAP ได้แก่ จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลนานเฉลี่ย 25.6 วัน อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 12.5 ผลการเพาะเชื้อจากเสมหะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุสูงสุด ได้แก่ Acinetobacter baumannii ร้อยละ 29.2 และ ร้อยละ 57.1 ของเชื้อดังกล่าว เป็นเชื้อดื้อยาหลายขนาน (MDR) ค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพในผู้ป่วย HAPเฉลี่ยรายละ 6,024 บาท
          ผลการศึกษาใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยและป้องกันการเกิด HAP โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง นำไปสู่การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติ กำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในการลดการเกิด HAPต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. The American Thoracic Society, The Infectious Diseases Society of America. Guidelines for the management of adults with hospitl-acquired, ventilator-associated, and healthcare associated pneumonia. Am J Respir Crit Care Med 2005; 171(4): 388-416.

2. กำธร มาลาธรรม, พรทิพย์ มาลาธรรม, สุรางค์ สิงหนาท. โรคติดเชื้อในผู้สูงอายุ. Rama Nurs J. 2007; 13(3): 272-87.

3. สมคิด อุ่นเสมาธรรม. ปอดอักเสบจากการสูดสำลัก. ใน: นิธิพัฒน์ เจียรกุล, บรรณาธิการ. ตำราโรคระบบการหายใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2551. หน้า 313-9.

4. Janson C, Johansson G, Stallberg B, Lisspers K, Olsson P, Keininger DL, et al. Identifying the associated risks of pneumonia in COPD patients: ARCTIC an observational study. Resp Res 2018; 19: 172-82.

5. พรพิมล ลี้ทอง, เกริก อัศวเมธา. HAP VAP and VAT in and out of the ICU. ใน: รองพงศ์ โพล้งละ, กำพล สุวรรณพิมลกุล, โอภาส พุทธเจริญ, กมลวรรณ จุติวรกุล, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, บรรณาธิการ. Clinical approach and management in respiratory tract infections. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555. หน้า 182-200.

6. Peerawong WE, Pattarachai KI, Visunu TH, Hospital-acquired pneumonia and ventilator-associated pneumoniain adults at siriraj Hospital: etiology, clinical outcomes, and impact of antimicrobial resistance. J Med Assoc Thai 2010; 93 Suppl 1: S126-38.

7. Chawla R. Epidemiology, etiology, and diagnosis of hospital acquired pneumonia and ventilator associated pneumonia in Asian countries. Am J Infect Control 2008; 36(4): S93-100.

8. อนุชา อภิสารธนรักษ์. โรคปอดอักเสบที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล. ใน: พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, ชุษณา สวนกระต่าย, สุรภี เทียนกริม, ยุพิน ศุพุทธมงคล, ศศิธร ลิขิตนุกูล, บรรณาธิการ. ตำราโรคติดเชื้อ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โฮลิส ติกพับลิชชิ่ง; 2548. หน้า 1369-82.

9. Baker D, Quinn B. Hospital-acquired pneumonia prevention initiative-2: Incidence of nonventilator hospital-acquired pneumonia in the United States. AJIC 2018; 46: 2-7.

10. Leu H-S, Kaiser DL, Mori M, Wooson RF, Wenzel RP. Hospital-acquired pneumonia attributable mortality and morbidity. Am J Epidemiol 1989; 129(6): 1258-67.

11. Sopena N, Sabria M. Multicenter study of hospital-acquired pneumonia in non-ICU patients. Chest 2005; 127(1): 213-9.

12. วิภา รีชัยพิชิตกุล. HAP, VAP and HCAP Guidelines: from guidelines to clinical practice. Srinagarind Med J 2010; 25 Suppl 1: 87-94.

13. นิตยา ธีรวิโรจน์, สุจิตรา สุขผดุง, ไกรวุฒิ สุขสนิท. ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561; 33(3): 291-309.

14. Davis J, Finley D. The breadth of hospital acquired pneumonia: nonventilated versus ventilated patients in Pennsylvania. Pennsylvania Patient Safety Authority 2012; 9(3): 99-105.

15. Kashuba AD, Nafziger AN, Drusano GL, Bertino JS Jr. Optimizing aminoglycoside therapy for nosocomial pneumonia caused by gram negative bacteria. Antimicrob Agents Chemother 1999; 43(3): 623-9.

16. ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลเชียงคำ. รายงานผู้ป่วยในประจำปี. มปท.; 2560.(อัดสำเนา)

17. คณะกรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลเชียงคำ. รายงานผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อโรงพยาบาลเชียงคำ. มปท.; 2560. (อัดสำเนา)

18. สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์, แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและมูลนิธิอุทัย สุดสุข. พจนานุกรมการสาธารณสุขไทย ฉบับราชบัณฑิตตยสถาน พ.ศ. 2559. สมุทรสาคร: บอร์นทูบีพับลิชชิ่ง; 2559.หน้า 92.

19. Burton LA, Price R, Barr KE, McAuley SM, Allen JB, Clinton AM, et al. S13 Incidence and risk factors for the development of hospital acquired pneumonia in older hospitalised patients. Thorax 2014; 69 suppl 2: A9-10.

20. Stolbrink M, McGowan L, Saman H, Nguyen T, Knightly R, Sharpe J, et al. The Early Mobility Bundle: a simple enhancement of therapy which may reduce incidence of Hospital-acquired pneumonia and length of hospital stay. J Hosp Infect 2014; 88(1): 34-9.