ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออุบัติการณ์ปอดอักเสบในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

Main Article Content

ธรรมชาติ อินทร์จันทร์
นารี ศรชัย
วไลพรรณ ยอดนิล

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออุบัติการณ์ปอดอักเสบในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 52 ราย ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มทดลอง 26 รายที่ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ และกลุ่มควบคุม 26 รายที่ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติเดิมของโรงพยาบาล เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติไคสแควร์ และค่าสถิติฟิชเชอร์ 
          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองอายุเฉลี่ย 56.7 ปี (SD=14.7) ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ย 10.7 วัน (SD=4.6) กลุ่มควบคุมอายุเฉลี่ย 53.6 ปี (SD=15.9) ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ย 9.6 วัน (SD=4.1) อุบัติการณ์ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในกลุ่มทดลองร้อยละ 3.8 และกลุ่มควบคุมร้อยละ 23.0 อุบัติการณ์ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ แตกต่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจช่วยป้องกันการเกิดปอดอักเสบร้อยละ 83.55 โดยลดการเกิดปอดอักเสบจากร้อยละ 23.1 เหลือเพียงร้อยละ 3.8
          การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจไปใช้สามารถลดอุบัติการณ์ปอดอักเสบได้ บุคลากรสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สถาบันบำราศนราดูร. คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

2. Spalding MC, Cripps MW, Minshall CT. Ventilator-associated pneumonia: New definitions. Crit Care Clin 2017; 33(2): 277-92.

3. Joseph NM, Sistla S, Dutta TK, Badhe AS, Parija SC. Ventilator associated pneumonia: a review. Eur J Intern Med 2010; 21(5): 360-8.

4. Soussan R, Schimpf C, Pilmis B, Degroote T, Tran M, Bruel C. Ventilator associated pneumonia: The central role of transcolonization. J Crit Care 2019;ท(50): 155-61.

5. Tsioutis C, Kritsotakis EI, Karageorgos SA, Stratakou S, Psarologakis C, Kokkini S, et al. Clinical epidemiology, treatment and prognostic factors of extensively drug-resistant Acinetobacter baumannii ventilator-associated pneumonia in critically ill patients. Int J of Antimicrob Agents 2016; 48(5): 492-7.

6. Chaari A, Mnif B, Bahloul M, Mahjoubi F, Chtara K, Turki O, et al. Acinetobacter baumannii ventilator-associated pneumonia epidemiology, clinical characteristics, and prognosis factors. Int J Infect Dis 2013; 17(12): e1225-8.

7. Fihman V, Messika J, Hajage D, Tournier V, Gaudry S, Magdoud F, et al. Five-year trends for ventilator-associated pneumonia: Correlation between microbiological findings and antimicrobial drug consumption. Int J Antimicrob Agents 2015; 46 (5): 518-25.

8. Inchai J, Liwsrisakun C, Theerakittikul T, Chaiwarith R, Khositsakulchai W, Pothirat C. Risk factors of multidrug-resistant, extensively drug-resistant and pandrug-resistant Acinetobacter baumannii ventilator-associated pneumonia in a medical Intensive care unit of university hospital in Thailand. J Infect Chemother 2015; 21(8): 570-4.

9. Hayashi Y, Morisawa K, Klompas M, Jones M, Bandeshe H, Boots R, et al. Towards improved surveillance: the impact of ventilator-associated complications (VAC) on length of stay and antibiotic use in patients in intensive care units. Clin Infect Dis 2012; 56(4): 471-7.

10. Khan R, Al-Dorzi HM, Al-Attas K, Ahmed FW, Marini AM, Mundekkadan S, et al. The impact of implementing multifaceted interventions on the prevention of ventilator associated pneumonia. Am J Infect Control 2016; 44(3): 320-6.