ผลของการประเมินสมรรถนะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายพอร์ตเอ

Main Article Content

พัชรี ศรีธัญรัตน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการประเมินสมรรถนะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ใส่พอร์ตเอแคทที่มารับบริการระหว่างมกราคม-มิถุนายน พ.ศ.2561 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบความรู้ของพยาบาลตั้งแต่ก่อนการอบรม หลังการอบรมทันที และหลังการอบรม 1 ปี 2) เพื่อประเมินทักษะของพยาบาลในการแทงพอร์ตได้อย่างถูกวิธี 3) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้างานและพยาบาลที่ผ่านการอบรม 1 ปี โดยประเมินผลด้านทักษะการนำความรู้ไปปฏิบัติดูแลผู้ป่วยที่ใส่พอร์ต กลุ่มตัวอย่างศึกษามี 2 กลุ่ม คือ 1. พยาบาลในแผนกศัลยกรรมที่ผ่านการอบรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยที่ใส่พอร์ต จำนวน 20 คน 2. หัวหน้างานของพยาบาลที่ผ่านการอบรม จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 2 ชุดดังนี้ ชุดที่ 1 สำหรับพยาบาล ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ใส่พอร์ต และแบบประเมินผลการนำความรู้หลังการอบรมไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ใส่พอร์ต ชุดที่ 2 สำหรับหัวหน้างานพยาบาล ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับการประเมิน แบบประเมินทักษะในการแทงพอร์ต และแบบติดตามผลการนำความรู้หลังการอบรมไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Paired samples t-test
          ผลการศึกษาพบว่า 1) พยาบาลมีคะแนนความรู้หลังการอบรมทันทีสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ในขณะที่หลังอบรม 1 ปี พยาบาลมีคะแนนความรู้ไม่แตกต่างจากหลังการอบรมทันที 2) พยาบาลที่ผ่านการอบรมทุกคนมีทักษะในการแทงพอร์ตได้อย่างถูกวิธีคิดเป็นร้อยละ 100 3) การประเมินผลหลังการอบรม 1 ปี โดยพยาบาลประเมินตนเองด้านทักษะการนำความรู้ไปใช้ พบว่าคะแนนรวมอยู่ในระดับสูงมาก (X = 4.38, SD = 0.49) และโดยหัวหน้างานประเมิน พบว่าคะแนนรวมอยู่ในระดับสูงมากที่สุด (X = 4.67, SD = 0.39)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. WHO. Cancer [internet]. 2018 [cited 2018 Nov.1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cancer

2. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แผนป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2556-2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

3. สถาบันบำราศนราดูร. รายงานประจำปี 2560 สถาบัน บำราศนราดูร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

4. ชรัสนิกูล ยิ้มบุญณะ, ศิริพร เลาหสุวรรณพานิช, อาภรณ์ กุสุมภ์, จารุณี จันท์จารุภรณ์, มณฑา แห่งทรัพย์เจริญ. ผลของโครงการพัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยที่ใส่พอร์ตต่อระดับความรู้ทักษะการแทงพอร์ตและถอนเข็มออกจากพอร์ต. วารสารพยาบาลศิริราช 2554; 4(2): 59-70.

5. Brittany Hamstra. What is a port a cath? [internet]. 2018 [cited 2018 May 19]. Available from: https://nurse.orgarticles What is a port-a-cath?

6. สภาการพยาบาล. สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์. นนทบุรี: ศิริยอดการพิมพ์; 2553.

7. Tsai SL, Chai SK, Hsieh LF, Lin S, Taur FM, Sung WH, et al. The use of virtual reality computer simulation in learning Port-A cath injection. Adv Health Sci Educ Theory Pract 2008; 13(1) : 71-87.

8. Furaker C. Registered Nurses’ views on competencies in home care. HHCMP 2012; 24(5): 221-7.

9. Simpson D. Teaching Physical Education. A System Approach. 2nd ed. Boston: Houghton Muffin; 1972.

10. Niemeyer M. Effective patient safety education for novice RNs : A systematic review. JNEP 2017; 8(3): 103.

11. กลอย แก้วบุดดา. การวิจัยประเมินผลโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตชั้นสูงในผู้ใหญ่สำหรับพยาบาล. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 2557; 7(3): 14-29.