การระบาดโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อ Escherichia coli ในโรงเรียนทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 เวลา 15.00 น. ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอปราณบุรี พบว่ามีนักเรียนนายทหารมีอาการปวดท้องคลื่นไส้ ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2558 จำนวนหลายราย อาการไม่รุนแรง ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วจึงดำเนินการสอบสวน และป้องกันควบคุมโรคอุจารระร่วงระหว่างวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2558
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาในการหาสาเหตุจากน้ำ และอาหาร โดยนิยามผู้ป่วย คือนักเรียนหรือบุคลากรโรงเรียนที่มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน 2558 เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ เพาะเชื้อจาก rectal swab และตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ น้ำประปา และน้ำดื่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ศึกษาลักษณะการกระจายของข้อมูลทั่วไป คำนวณจำนวน ร้อยละ อัตราส่วน และค่ามัธยฐาน
ผลการศึกษาพบผู้ป่วยจำนวน 55 ราย จากนักเรียนและบุคลากรโรงเรียน 1,330 ราย (อัตราป่วย 4.14 %) ค่ามัธยฐานอายุ 19.5 ปี อาการที่พบ ได้แก่ ไข้และถ่ายเหลว (100 %) ปวดท้อง (61.82 %) อาเจียน (34.55 %) คลื่นไส้ (27.27 %) อ่อนเพลีย (14.55 %) และถ่ายเป็นน้ำ (6.4 %) ผลเพาะเชื้อจาก rectal swab ในผู้ป่วยจำนวน 6 รายไม่พบเชื้อ ผลเพาะเชื้อจากตัวอย่างน้ำดื่มพบเชื้อ MPN Coliforms มากกว่า 23/ 100 มิลลิลิตร จำนวน 5 ตัวอย่าง และพบ E. coli 3 ตัวอย่าง
การระบาดของโรคอุจจาระร่วงในโรงเรียนครั้งนี้ น่าจะเกิดจากน้ำดื่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตั้งแต่กระบวนการทำน้ำประปา และการขนส่งน้ำดื่ม การป้องกันควบคุมโรคดำเนินการโดยการให้สุขศึกษา ครูฝึกสิบเวร และนักเรียนในโรงเรียน และให้คำแนะนำการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปากับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบน้ำประปา และน้ำดื่ม
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาในการหาสาเหตุจากน้ำ และอาหาร โดยนิยามผู้ป่วย คือนักเรียนหรือบุคลากรโรงเรียนที่มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน 2558 เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ เพาะเชื้อจาก rectal swab และตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ น้ำประปา และน้ำดื่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ศึกษาลักษณะการกระจายของข้อมูลทั่วไป คำนวณจำนวน ร้อยละ อัตราส่วน และค่ามัธยฐาน
ผลการศึกษาพบผู้ป่วยจำนวน 55 ราย จากนักเรียนและบุคลากรโรงเรียน 1,330 ราย (อัตราป่วย 4.14 %) ค่ามัธยฐานอายุ 19.5 ปี อาการที่พบ ได้แก่ ไข้และถ่ายเหลว (100 %) ปวดท้อง (61.82 %) อาเจียน (34.55 %) คลื่นไส้ (27.27 %) อ่อนเพลีย (14.55 %) และถ่ายเป็นน้ำ (6.4 %) ผลเพาะเชื้อจาก rectal swab ในผู้ป่วยจำนวน 6 รายไม่พบเชื้อ ผลเพาะเชื้อจากตัวอย่างน้ำดื่มพบเชื้อ MPN Coliforms มากกว่า 23/ 100 มิลลิลิตร จำนวน 5 ตัวอย่าง และพบ E. coli 3 ตัวอย่าง
การระบาดของโรคอุจจาระร่วงในโรงเรียนครั้งนี้ น่าจะเกิดจากน้ำดื่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตั้งแต่กระบวนการทำน้ำประปา และการขนส่งน้ำดื่ม การป้องกันควบคุมโรคดำเนินการโดยการให้สุขศึกษา ครูฝึกสิบเวร และนักเรียนในโรงเรียน และให้คำแนะนำการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปากับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบน้ำประปา และน้ำดื่ม
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
References
1. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือโรคติดต่อทั่วไป เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.
2. ผดุงศักดิ์ แจ้งดี. การเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในพื้นที่ เขตกรุงเทพมหานคร ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2554.
3. สุริยะ คูหารัตน์. นิยามโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ ภัณฑ์; 2546.
4. ฉวีวรรณ นวจินดา, จุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์, บุญสงค์ ลี้สุรพลานนท์, ศิรินทิพย์ อินทร์ชัย,กรุณา ตีรสมิทธ์, ไพริน หาปัญนะ. ปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. วารสารอาหารและยา 2541; 5(1-3): 22-30.
5. สุจยา ยอดเพชร. ผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินต่อคุณภาพน้ำทางด้านแบคทีเรียในน้ำท่าของลุ่มน้ำแม่แตง เชิญ และคลองยัน[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2554.
6. สำนักระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2548.
2. ผดุงศักดิ์ แจ้งดี. การเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในพื้นที่ เขตกรุงเทพมหานคร ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2554.
3. สุริยะ คูหารัตน์. นิยามโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ ภัณฑ์; 2546.
4. ฉวีวรรณ นวจินดา, จุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์, บุญสงค์ ลี้สุรพลานนท์, ศิรินทิพย์ อินทร์ชัย,กรุณา ตีรสมิทธ์, ไพริน หาปัญนะ. ปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. วารสารอาหารและยา 2541; 5(1-3): 22-30.
5. สุจยา ยอดเพชร. ผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินต่อคุณภาพน้ำทางด้านแบคทีเรียในน้ำท่าของลุ่มน้ำแม่แตง เชิญ และคลองยัน[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2554.
6. สำนักระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2548.