การประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและควบคุมโรคประจำปี 2561

Main Article Content

เตือนใจ นุชเทียน
ภัสราภรณ์ นาสา
ปิยะนันท์ เรือนคำ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงานด้านกิจกรรมโครงการ งบประมาณ ผลผลิตของโครงการ และความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตั้งแต่ ตุลาคม 2560-กันยายน พ.ศ.2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและแบบสอบถามจากผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน
          ผลการประเมินด้านต่างๆ พบว่ากิจกรรมที่ดำเนินการได้แก่ การประชุมและลงพื้นที่เก็บข้อมูล มีกลไกการติดตามความก้าวหน้าของโครงการโดยคณะทำงานเป็นหลักในการขับเคลื่อน ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมควบคุมโรค โดยมีผลงานที่แล้วเสร็จเพียง 1 เรื่อง จากเป้าหมาย 3 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 33.33 ส่วนความคิดเห็นต่อโครงการของผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ปฏิบัติงาน เห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์หากมีผลงานที่แล้วเสร็จจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข และควรดำเนินการต่อไป แต่ควรมีการปรับการดำเนินงานให้เหมาะสม ด้านความพึงพอใจของการเข้าร่วมโครงการ มีผู้ตอบแบบความพึงพอใจร้อยละ 75 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 อยู่ในระดับมาก โดยด้านการนำไปใช้ประโยชน์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.46 (SD = 0.53) รองลงมาคือ ด้านวิทยากร ด้านบริการ/การอำนวยการ ด้านเนื้อหาความรู้/ความเข้าใจ และด้านระยะเวลา/ความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37, 4.32, 4.23 และ3.91 ตามลำดับ ส่วนปัญหาและอุปสรรค พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานและอยู่ต่างสถานที่ทำให้การดำเนินงานไม่สะดวก ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการยังขาดประสบการณ์ในการบริหารจัดการโครงการที่ดี ทั้งเรื่องของงบประมาณ/การประเมินความคุ้มทุนของแต่ละกิจกรรมจึงมีข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ ได้แก่ ชี้แจงเรื่องขอบเขตการดำเนินงาน และงบประมาณกับผู้เข้าร่วมทุกคนให้มีความชัดเจน และจัดสรรงบประมาณตามโครงการที่ผ่านการปรับปรุง และมีแผนงานชัดเจนแล้ว จัดทำแผนกำกับ ติดตามและประเมินผลโครงการอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง รวมทั้งควรมีการประเมินผลสำเร็จของผลผลิตโครงการด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. นภดล สุชาติ. Preventive Medicine เวชศาสตร์ป้องกันคืออะไร. [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/330624

2. เกษม ศิริสุโขดม. การประเมินผลโครงการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประเมินผลสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร; 2550. (อัดสำเนา)

3. ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ; 2553.

4. ธรรมรัตน์ เม่งพัฒน์, ประเสริฐ ประวัติรุ่งเรือง. การประเมินโครงการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. ใน: สมศักดิ์ คงเที่ยง, วัลยา ชูประดิษฐ์, บรรณาธิการ. Proceedings of the 6th Benjamitra Network National & International Conference on Local Wisdom and Sustainable Development issue 1; 2016 May 26th; Chiang Mai, Thailand: The Far Eastern University; 2016. p. 415-24.

5. รวิพร โรจนอาชา. การประเมินผลโครงการงานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรโรงพยาบาลสะเดา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3(2): 133-48.

6. มาเรียม นิลพันธุ์, วรรณภา แสงวัฒนะกุล. การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2557; 16(3): 85-94.