การทำงานวัณโรคในสังคมเมืองยากจริงหรือ?

Main Article Content

นัชชา แสงวัชรสุนทร

บทคัดย่อ

          ความท้าทายในการควบคุมวัณโรคในเขตเมืองใหญ่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความแออัดของประชากร แรงงานเคลื่อนย้าย ประชากรยากจนส่วนใหญ่เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้น้อย คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ (TB Clinic) ของสถาบันบำราศนราดูร ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรในจุดเดียวกัน (one stop service) โดยทีมสหวิชาชีพ เพื่อลงทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคสำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ สถาบันฯได้ดำเนินงานป้องกัน และควบคุมวัณโรคภายใต้กลยุทธ์ DOTS โดยเน้นการคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงและการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรค
          ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงาน DOTS ในพื้นที่เขตเมือง ได้แก่ การทำงานเป็นทีมและเครือข่าย 1) ทีมบุคลากรด้านวัณโรคของสถาบันที่มีความรู้และประสบการณ์ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน 2) เครือข่ายวัณโรคทั้งสถานบริการ และชุมชนในพื้นที่ที่ร่วมกันพัฒนาระบบการส่งต่อและการโอนผู้ป่วยทั้งภายในเขตเมืองนนทบุรี และกลับไปรักษาต่อจังหวัดบ้านเกิด โดยการใช้แอพพิเคชั่นไลน์ในการประสานงานเครือข่ายในพื้นที่ และการติดตามผู้ป่วย โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ประสานหลักและมีสมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบงานวัณโรคจากสถาบันบำราศนราดูร สถาบันโรคทรวงอก โรงพยาบาลชลประทาน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าและโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์บริการสาธารณสุขต่างเข้าร่วมกลุ่มทำให้เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง และรวดเร็วเกิดความสะดวกในการประสานส่งต่อการดูแลรักษาและติดตามผู้ป่วยในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. ศรีประภา เนตรนิยม, เพชรวรรณ พึ่งรัศมี. หลักสูตรการอบรมแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ สำหรับเจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรคและผู้ประสานงานวัณโรคโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.

2. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2560.

3. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

4. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. คู่มือเรียนรู้ เข้าใจ วัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2559.

5. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย. คู่มือพยาบาลสำหรับการปฏิบัติงานในคลินิกเอชไอวี ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2553. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2554.