ต้นทุนของการใช้ชุดให้ความชื้นออกซิเจนแบบระบบปิดชนิดใช้ครั้งเดียว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบำบัดด้วยออกซิเจนระบบ Low flow oxygen ชนิด cannula และ mask มีการใช้ชุดให้ความชื้นออกซิเจน 2 ชนิด คือ แบบระบบปิดชนิดใช้ครั้งเดียวและชนิดใช้ซ้ำ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ชุดให้ความชื้นออกซิเจนแบบระบบปิดชนิดใช้ครั้งเดียว และต้นทุนของการใช้ชุดให้ความชื้นออกซิเจนแบบระบบปิดชนิดใช้ครั้งเดียวเปรียบเทียบกับต้นทุนของชุดให้ความชื้นออกซิเจนชนิดใช้ซ้ำ
กลุ่มตัวอย่าง คือ ชุดให้ความชื้นออกซิเจนแบบระบบปิดชนิดใช้ครั้งเดียวที่ใช้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครนายก ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2556 เปรียบเทียบ 2 กลุ่ม ระหว่างการใช้กับผู้ป่วยรายเดียวกับการใช้กับผู้ป่วยร่วมกันหลายราย จำนวนกลุ่มละ 60 ตัวอย่าง เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการใช้ชุดให้ความชื้นออกซิเจนแบบระบบปิดชนิดใช้ครั้งเดียว แบบบันทึกต้นทุนการใช้ชุดให้ความชื้นออกซิเจนชนิดใช้ซ้ำ และเครื่องมือทดสอบทางห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi Square
ผลการวิจัยพบว่าการใช้กับผู้ป่วยรายเดียวพบการปนเปื้อนเชื้อ Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli และ Proteus mirabilis 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.67 ส่วนการใช้กับผู้ป่วยร่วมกันหลายราย ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อ การเปรียบเทียบต้นทุนพบว่า การใช้ชุดให้ความชื้นออกซิเจนแบบระบบปิด ชนิดใช้ครั้งเดียวมีต้นทุนต่ำกว่าการใช้ชุดให้ความชื้นออกซิเจนชนิดใช้ซ้ำ ชุดละ 75.71 บาท
สรุปและข้อเสนอแนะ การใช้ชุดให้ความชื้นออกซิเจนแบบระบบปิดชนิดใช้ครั้งเดียวมีต้นทุนต่ำกว่าต้นทุนของชุดให้ความชื้นออกซิเจนชนิดใช้ซ้ำ และไม่พบการปนเปื้อนเชื้อในการใช้กับผู้ป่วยร่วมกันหลายราย
Article Details
References
2. La Fauci V, Costa GB, Facciol A, Conti A, Riso R, Squeri R. Humidifiers for oxygen therapy: what risk for reusable and disposable devices?. J Prev Med Hyg 2017; 58(2): E161.
3. Peter J Collignon, Elaine Graham, Dianne E Dreimanis. Reuse in sterile sites of single-use medical devices: how common is this in Australia. Med J Aust 1996; 164: 533-6.
4. ชาญวิทย์ ศรีพุทธรักษ์, วิลาวัณย์ เสนารักษ์, สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, เพ็ญจันทร์ นันตา. ความคุ้มทุนและความปลอดภัยจากการใช้สายดูดเสมหะซ้ำหลายครั้ง. จดหมายเหตุทางการแพทย์ 2548; 10: 86-8.
5. ปรารถนา ยศพล, อรวรรณ โฉมฉายแสง, วิพร เกตุบำรุงพร, สุวัฒนา กาญจนหฤทัย, ประไพพรรณ ฉายรัตน์, น้ำทิพย์ มัทย์พงษ์ถาวร. การประเมินผลการใช้ชุดให้ออกซิเจนแบบระบบปิด:ความปลอดภัยและความคุ้มค่า. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลราชวิถี; 2552.
6. Kobayashi N, Yamazaki T, Maeski S. Bacteriological monitoring of water reservoirs in oxygen humidifiers: safety of prolonged and multi-patient use of prefilled disposable oxygen humidifier bottles. Infect Control Hosp Epidemiol 2006; 27: 320-2.
7. Hall KK, Lyman JA. Updated review of blood culture contamination. Clin Microbiol Rev 2006; 19: 788-802.
8. กำธร มาลาธรรม. การปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อจากเลือด. ใน: สุรางค์ เดชศิริเลิศ, สุวรรณา ตระกูลสมบูรณ์, กาญจนา คชินทร, บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อและการเพาะเชื้อก่อโรคจากเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553. หน้า 11-3.