การศึกษาย้อนหลังประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับปี๋เหยียนเคอลี่ในการรักษาผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยและทั่วโลก พบได้ในทุกเพศทุกวัย ประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมลภาวะและการใช้ชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลาที่คลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวเปิดให้บริการแก่ประชาชน ได้มีผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทางคลินิกจึงนำตำรับยาทงเชี่ยวปี๋เหยียนเพี่ยนและตำรับยาหลิงกันอู่เว่ยเจียงซินทังที่ถูกปรับสูตรเพิ่มลดยาตามประสบการณ์การรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ของแพทย์จีนอู๋ลี่ฉวินและถูกใช้ในการรักษาในคลินิกมาเป็นเวลากว่า 10 ปี นำมาพัฒนาจากรูปแบบยาต้มมาเป็นรูปแบบยาชนิดแกรนูลและให้ชื่อยาตำรับปี๋เหยียนเคอลี่ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาข้อมูลทางคลินิกในประเทศไทยที่ยืนยันประสิทธิผลของยาตำรับนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาย้อนกลับประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาตำรับปี๋เหยียน เคอลี่ชนิดแกรนูลในการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว(สาขากรุงเทพ)ตั้งแต่เดือนมกราคมพ.ศ. 2563 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การศึกษาโดยเปรียบเทียบคะแนนความรุนแรงของอาการต่างๆ ทั้งก่อนและหลังได้รับการรักษาเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรุนแรงของอาการจาม คัดจมูก คันจมูก น้ำมูกไหล และคะแนนความรุนแรงของอาการโดยรวมก่อนและหลังการรักษา 4 สัปดาห์ พบความแตกต่างของคะแนนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วย 33.33% มีอาการไม่พึงประสงค์หลังเริ่มใช้ยา ได้แก่อาการคอแห้ง ร้อนใน ใจสั่น โพรงจมูกแห้ง โดยสรุปยาปี๋เหยียนเคอลี่สามารถบรรเทาอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ได้ แต่ยังพบอาการไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาแบบไปข้างหน้าเพื่อศึกษาถึงผลการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ต่อไปยังพบผู้ป่วย 33.33% มีอาการไม่พึงประสงค์หลังเริ่มใช้ยา ได้แก่ อาการคอแห้ง ร้อนใน ใจสั่น โพรงจมูกแห้ง โดยสรุป ยาปี๋เหยียนเคอลี่สามารถบรรเทาอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ได้ แต่ยังพบอาการไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาแบบไปข้างหน้าเพื่อศึกษาถึงผลการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ต่อไป
Article Details
References
Asanasen P. Current guideline for allergic rhinitis treatment part1 [internet]. 2016 [cited 2016 Nov 16] Available from: https://www. si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1261
Ruxrungtham K. Respiratory allergy part1 [internet]. 2011 [cited 2019 Nov 20]. Available from: http://allergy. or.th/2016/resources_expert_detail.php?id=97 (in Thai)
Cungprasert V, Gao YX. Traditional Chinese medicine dictionary vol.2. Bangkok: Savinee Publishing; 2016.
Riffenburgh RH. Chapter summaries. In: Riffenburgh RH, editor, Statistics in medicine. 2nd ed. Burlington: Academic Press; 2006. p. 533-80.
Riffenburgh RH. Chapter 16 - tests on ranked data. In: Riffenburgh RH, editor, Statistics in medicine. 2nd ed. Burlington: Academic Press; 2006. p. 281-303.
The State Pharmacopoeia Commission of PR China. Pharmacopoeia of the People’s Republic of China. English edition 2015. Volume 1. Beijing: Chemical Industry Press; 2015.
Wang DH, Huang XG. Analysis of the therapeutic effect of Tongqiao Biyan tablets on rhinitis and sinusitis. Practical Clinical Medicine of Integrated Traditional Chinese and Western Medicine. 2004;(04):62. (in Chinese)
Liang JY. Tongqiao Biyan tablets in the treatment of 90 cases of allergic rhinitis. Chinese National Folk Medicine. 2009;18(03):123. (in Chinese)
Lu H, Xue JR. Clinical analysis of Tongqiao Biyan tablets in the treatment of allergic rhinitis.
Chinese Medical Research and Practice. 2016;1(13):89. (in Chinese)
Shen QT, Cheng XF. Tongqiao Biyan tablets in treating 40 cases of sinusitis. Jiangxi Traditional Chinese Medicine. 2004;(09):31. (in Chinese)
Techadamrongsin Y. Commonly used chinese prescriptions in Thailand complete edition. Bangkok: Agricultural Co-operative Federation of Thailand Publisher; 2011.
Huang ZS. Chinese herbal medicine. 20th ed. Sanhe: People’s Medical Publishing House; 2011. (in Chinese)