This is an outdated version published on 2021-05-08. Read the most recent version.

การประเมินความรู้ด้านโรคมะเร็งของเจ้าหน้าที่กรมการแพทย์

ผู้แต่ง

  • ปัทมา พลอยสว่าง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  • อมรรัตน์ จู้สวัสดิ์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  • ปภาวิน เเจ่มศรี
  • ปรินดา เเพ่งเมือง
  • ดร.ศุลีพร เเสงกระจ่าง

บทคัดย่อ

ความรู้ด้านการป้องกันและคัดกรองโรคมะเร็งของประชาชนถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินความรู้ด้านการป้องกันและคัดกรองโรคมะเร็งของประชาชนถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้การ ดำเนินแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ด้านโรคมะเร็งของเจ้าหน้าที่กรมการแพทย์จำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความรู้ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลประชากรศาสตร์และแบบสอบถามประเมินความรู้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ด้านอาการและสัญญาณของโรคมะเร็ง และด้านการป้องกันและการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.1, 52.4 และ 64.9 มีคะแนนความรู้ในระดับสูงทั้งในด้านสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของการเกิด โรคมะเร็ง ความรู้ด้านอาการและสัญญาณของโรคมะเร็ง และความรู้ด้านการป้องกันและการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 80.1 ทราบว่าบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญขอโรคมะเร็ง ร้อยละ 80.1 ทราบว่าอาการท้องผูกสลับกับท้องเสียเรื้อรังหรือการถ่ายเป็นเลือดเป็นสัญญาณของมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และร้อยละ 88.7 ทราบว่าการตรวจพบโรคมะเร็งในระยะแรกทำให้มีโอกาสรักษาหายขาดได้ นอกจากนี้ยัง พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.9 เป็นผู้ที่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง และร้อยละ 51.1 เป็นกลุ่มที่ไม่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ผลจากการศึกษาครั้งนี้ถือเป็นฐานข้อมูลความรอบรู้ด้านโรคมะเร็งของเจ้าหน้าที่กรมการแพทย์ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้วางแผนและพัฒนาความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องให้แก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างเสริมความรู้ด้านสุขภาพ และเพิ่มความตระหนักถึงประโยชน์ของการป้องกันและการคัดกรองโรคให้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

World Health Organization. Cancer. 2018. Available at: https://www.who.int/cancer/PR GlobocanFinal.pdf. Accessed December 21, 2020.

Imsamran W, Pattatang A, Supattagorn P, Chiawiriyabunya I, Namthaisong K, et al. Cancer in Thailand (Vol.IX 2013-2015). National Cancer Institute, Bangkok. 2018.

Korde LA and Gadalla SM. Cancer risk assessment for the primary care physi- cian. Prim Care 2009;36:471-88.

คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ.2561-2565). Available at :http://www.nci.go.th/th/File_download/. Accessed December 12, 2020.

Elshami M, Elshami A, Alshorbassi N, Alkhatib M, Ismail I, Abu-Nemer K, et al. Knowledge level of cancer symptoms and risk factors in the Gaza Strip: a cross-sectional study. BMC Public Health 2020; 20:414.

World Health Organization. Screening programmes: a short guide. Available at: https://www.9789289054782-eng.pdf (who.int).Accessed December 12, 2020.

Haq Z and Hafeez A. Knowledge and communication needs assessment of community health workers in a developing country:a qualitative study. Human Resources for Health 2009;7:1-7.

Yamane, T., 1967. Statistics: An Introductory Analysis, 2nd edition, New York: Harper and Row

Mensah KB, Bangalee V, Oosthuizen F. Assessing knowledge of community pharmacists on cancer: A pilot study in Ghana. Frontiers in Public Health 2019;7:1-7.

Grimmett C, Macherianakis A, Rendell H, George H, Kaplan G, Kilgour G, et al. Talking about cancer with confidence: evaluation of cancer awareness training for community-based health workers. Perspect Public Health 2014;134:268-75.

World Health Organization. Four non communicable diseases, four shared risk factors. Available at: https://www. who.int/ncdnet/about/diseases/en/. Accessed December 15, 2020.

Kyle RG, Nicoll A, Forbat L, Hubbard G. Adolescents’ awareness of cancer risk factors and associations with health-related behaviours. Health Education Research 2013; 28:816-27.

Munishi OM, McCormack V, Mchome B, Mangi G, Zullig LL, Bartett J, et al. Awareness of cancer risk factors and its signs and symptoms in Northern Tanzania: a cross-sectional survey in the general population and in people living with HIV. J Cancer Educ 2020;35:696-704.

Balekouzou A, Yin P, Pamatika CM, Nambei SW, Djeintote M, Doromandji E, et al. Assessment of breast cancer know ledge among health workers in Bangui, central African Republic: a cross-sectional study.Asian Pac J Cancer Prev 2016;17:3769-76.

คณยศ ชัยอาจ, ชนัญญา จิระพรกุล, เนาวรัตน์ มณีนิล. ความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงของประชากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2561; 11: 37-44.

Brunswick N, Wardle J, Jarvis M. Public awareness of warning signs for cancer in Britain. Cancer Causes Control 2001;12: 33-7.

Robb K, Stubbings S, Ramirez A, Macleod U, Austoker J,WallerJ, et al. Public awareness of cancer in Britain: a population-based survey of adults. Brit J Cancer 2009; 101:18-23.

Ahmed BMS, Amer S, Hussein A, Kampani DD, Hasham AN, AsskerMM, et al. Assessing the knowledge of environmental risk factors for cancer among the UAE Population: A Pilot Study. Int J Environ Res Public Health 2020;17:1-12.

ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ์, จารีศรี กุลศิริปัญโญ, พัชรี ตันศิริ, กิตติศักดิ์ หลวงพันเทา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2562;35:95-108.

จิราพร ศรีพิบูลย์บัติ, กนกพร หมู่พยัคฆ์, ปนัดดา ปริยทฤฆ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาใช้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชน. J Nurs Sci 2011; 29:82-92.

Glanz K, Rimer BK, Viswanath A, editor. Health behavior and health education: theory, research, and practice (4th ed.). USA:HB Printing.;2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-08

Versions