การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้ออันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพตาลโตนด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประกอบอาชีพตาลโตนดเป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องใช้ท่าทางในการทำงาน อาจเกิดอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อได้ จึงต้องค้นหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ประกอบอาชีพตาลโตนด กลุ่มคนปอกและคนเคี่ยวตาลโตนด กลุ่มละ 15 คน เลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2567 การดำเนินงานประกอบด้วย วิเคราะห์และกำหนดปัญหา รวบรวมข้อมูล สร้างตัวแบบหาคำตอบจากตัวแบบ วิเคราะห์และแก้ไขตัวแบบ และการนำไปใช้เป็นระยะเวลา 1 เดือน และประเมินผลการใช้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มคนปอกตาลและกลุ่มคนเคี่ยวตาลโตนด มีประสบการณ์ทํางานเฉลี่ย 19.87 และ 16.53 ปี ชั่วโมงการทํางานต่อวันเฉลี่ย 4.47 และ 10.58 ชั่วโมง มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งหมด และร้อยละ 93.33 ตามลำดับ ผลการพัฒนาได้รูปแบบ 2 กิจกรรมหลัก คือ 1) การควบคุมการบริหารจัดการ ได้แก่ การให้ความรู้ การปรับปรุงท่าทางการทำงาน การหยุดพักสั้นๆ การสลับกันทำงาน และ 2) การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการสวมถุงมือ ก่อนและหลังการทดลองใช้ ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมิน REBA กลุ่มคนปอกตาลโตนด มีความเสี่ยงไม่แตกตางกัน ส่วนกลุ่มคนเคี่ยวตาลโตนด มีความเสี่ยงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจมาก (µ = 4.10, 4.19) หน่วยงานสามารถนํารูปแบบไปประยุกต์เป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2567). สรุปผลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร เดือนมิถุนายน 2567. https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/ 2024/20240724120351_77475.pdf.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2561, สิงหาคม). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2560. กรมควบคุมโรค, https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/01_envocc_situation_60.pdf.
จินตนา ธนวิบูลย์ชัย. (ม.ป.ป.). การวิจัยดำเนินงาน (PERATIONS RESEARCH). สำนักการวิจัยแห่งชาติ, http://www.rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=699.
จุฑารัตน์ นกแก้ว. (2564). ภูมิปัญญาท้องถิ่นตาลโตนดของไทย: การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย. วารสารห้องสมุด, 65(1), 35-56.
ชมพูนุท ชีวะกุล. (2565). การพัฒนาและปรับปรุงสภาพการทำงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ในบุคลากร ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์ สาขา 1. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 37(2), 421-430.
ณวรา เหล่าวาณิชย์, ปวีณา มีประดิษฐ์ และทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. (2565). การประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสภาพงานเพื่อลดความเสี่ยงของไหล่ในกลุ่มพนักงานสายสนับสนุนของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 15(2), 73-89.
นิกร ดุสิตสิน และยุพา อ่อนท้วม. (2546). หลักการและแนวทางสําหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารวิจัยวิทยาศาสตรการแพทย์, 17(2), 99-110.
นันทพร ภัทรพุทธ, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ปิติ โรจน์วรรณสินธุ์ และวัลลภ ใจดี. (2560). การพัฒนารูปแบบการพักเพื่อลดความล้าของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย จังหวัดชลบุรี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาติ, 29(2), 31-48. https://doi.org/10.14456/prcj.2016.2
ปรีดา มูกสิกรักษ์, ณัฐวิภา บุญเพ็ง และวรรณา วรรณศรี. (2564). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความเมื่อยล้าจากการทำงานของเกษตรกรของชาวสวนตาลโตนด ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 8(1), 76-86.
พัฒนา พรหมณี, ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด และปณิธาน กระสังข์. (2560). แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข. วารสารวิชาการสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 128-135.
ภัชชนก รัตนกรปรีดา, วรพล หนูนุ่น, ปิยพร ปลอดทอง และตัสนีม ยะขวาด. (2562). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทํางานของผูประกอบอาชีพตาลโตนด ในตําบลทาหิน อําเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. ใน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชธานี (บ.ก.), ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ประจำปี 2562. ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (น. 1573 - 1580).
ภูดิส รักษ์ตระกูล, เพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์, ดุสิต สุจิรารัตน์, เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ และอัมรินทร์ คงทวีเลิศ. (2564). ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานผลิตเซรามิกของโรงงานขนาดใหญ่ จังหวัดลำปาง. วารสารสุขศึกษา, 44(1), 152-161.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สำนักวิจัยและพัฒนา. (2564). วารสารชุด และวิจัยใน...เลสาบ ตอน Lifestyle Lake Basin แลวิจัยใน...เลสาบ: วิถีชน...คนเลสาบ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักวิจัยและพัฒนา.
มานพ คณะโต. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพระบบสุขภาพชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รุ้งกานต์ พลายแก้ว. (2552). ท่าทางการทำงานและกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรพล หนูนุ่น. (2555). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของผู้ให้บริการทางเพศในการลดความต้องการใช้สารเสพติดบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิภาดา คงทรง, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, และนภชา สิงห์วีรธรรม. (2564). การปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ ในบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(4), 167-180.
ศรุดา จิรัฐกุลธนา. (2564, 10 สิงหาคม). วิธีการควบคุมตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic Control Methods). สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.), https://www.ohswa.or.th/17817454/ergonomics-and-workstation-design-series-ep2.
ศูนย์การเรียนรู้วิถีโหนด นา เล ตําบลท่าหิน อําเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. ศูนย์การเรียนรู้วิถีโหนด นา เล ตําบลท่าหิน.
สสิธร เทพตระการพร. (2561). ผลกระทบสุขภาพจากปัญหาการยศาสตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการยศาสตร์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 หน่วยที่ 12. (น. 12-26 – 12.33). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สาลี อินทร์เจริญ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ สังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(3), 186-201.
สุรวิทย์ นันตะพร, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข และศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ : กรณีศึกษากลุ่มผู้ประกอบอาชีพแปรรูปปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 15(2), 90-102.
สุวัฒน์ เรืองศิลป์. (2552). การอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำน้ำตาลโตนด: กรณีศึกษาบ้านแหลมวังจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Da Costa, B. R., & Vieira, E. R. (2010). Risk factors for work - related musculoskeletal disorders: a systematic review of recent longitudinal studies. American Journal of Industrial Medicine, 53(3), 285-323. https://doi.org/10.1002/ajim.20750
Hignett, S., & McAtamney, L. (2000). Rapid Entire Body Assessment (REBA). Applied Ergonomic, 31(2), 201-205. https://doi.org/10.1016/S0003-6870(99)00039-3
Western University. (n.d.). Health & SafetyMSD Prevention Program Worker Discomfort Survey - Form 1B. https://www.uwo.ca/hr/form_doc/health_safety/doc/ergo/msd_discomfort_ survey.pdf.
Yassi, A. (2000). Work-related musculoskeletal disorders. Current Opinion in Rheumatology, 12(2), 124-130. https://doi.org/10.1097/00002281-200003000-00006.