การตรวจหาแบคทีเรียโคลิฟอร์มในเครื่องดื่มที่ไม่บรรจุภาชนะปิดสนิทด้วยเทคนิคเอ็มพีเอ็น

Main Article Content

สุนิสา ไกรนรา
รัตน์ติพร โกสุวินทร์
กวินทิพย์ ถิ่นทัพไทย
นิอรีซ อับดุลรอแม
สุธิดา พิพัฒน์สิริเมธี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียโคลิฟอร์ม ฟีคัลโคลิฟอร์มและ Escherichia coli ในเครื่องดื่มที่ไม่บรรจุภาชนะปิดสนิทด้วยวิธี Most Probable Number (MPN) และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มและการปนเปื้อนแบคทีเรียฟีคัลโคลิฟอร์มในเครื่องดื่มที่ไม่บรรจุภาชนะปิดสนิท โดยการเก็บเครื่องดื่มที่ไม่บรรจุภาชนะปิดสนิท 35 ตัวอย่าง จากร้านแผงลอยในพื้นที่เทศบาลตำบลองครักษ์ จำนวน 7 ร้าน ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างมีการปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์ม จำนวน 28 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 80 มีการปนเปื้อนแบคทีเรียฟีคัลโคลิฟอร์ม จำนวน 23 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 65.7 และตรวจพบการปนเปื้อน Escherichia coli จำนวน 19 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 54.3 โดยตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมีปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์มและแบคทีเรียฟีคัลโคลิฟอร์ม >2.2 MPN/100 มิลลิลิตร และพบว่าการปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มและแบคทีเรียฟีคัลโคลิฟอร์มในเครื่องดื่มที่ไม่บรรจุภาชนะปิดสนิทมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่บรรจุภาชนะปิดสนิทมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียโคลิฟอร์ม แบคทีเรียฟีคัลโคลิฟอร์ม และ Escherichia coli ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร ดังนั้นจึงต้องมีขั้นตอนในการปฏิบัติด้านสุขลักษณะและสุขอนามัยที่ดี เช่น ผู้ที่สัมผัสอาหารควรมีการสวมถุงมือ การใส่หน้ากากอนามัย และการล้างมือ และร้านค้าต่างๆ ควรมีอุปกรณ์ในการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะ เป็นต้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. (2561, 16 มกราคม). ดัชนีคุณภาพน้ำ “โคลิฟอร์มแบคทีเรีย”. https://www.facebook.com/photo/?fbid=1579192825497432&set=a.174461189303943&locale=th_TH.

กรมอนามัย. (2565, 14 มีนาคม). กรมอนามัย ย้ำ หน้าร้อน ระวัง 'น้ำแข็ง - น้ำดื่ม' ต้องสะอาด ลดเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรค. สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย, https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/140365/.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. (2560). เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560). พีทู ดีไซน์แอนด์พริ้นท์.

ขนิษฐา สมตระกูล, ชุติมา ภูบรรทัด, สันติชัย แสงสุริยะ, อุไรวรรณ ไกยะวัตร และสุจิรา มณีรัตน์. (2561). คุณภาพทางจุลชีววิทยาของเครื่องดื่มนมสดปั่นที่ไม่ได้บรรจุในภาชนะปิดสนิทซึ่งจัดจำหน่ายในร้านค้าในตลาดนัด ร้านค้าริมถนนและแผงลอยโดยรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 12(1), 14-26.

จรวยพร สมทรัพย์, ธัญชนก เหลือลมัย, ฤดีวลิดล จงผล และดลลชา ชาลวันกุมภีร์. (7-8 กรกฎาคม, 2567). การตรวจหาแบคทีเรีย โคลิฟอร์มและเอสเชอริเชีย โคไล ในเครื่องดื่มที่ไม่ได้บรรจุในภาชนะปิดสนิทซึ่งจำหน่ายโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี [Paper]. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, สถาบันและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ณัฐพงศ์ การถึง, สร้อยสุวรรณ อั้นทอง และอรุณศรี ว่องปฏิการ. (2558). การทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมะนาวในการลดปริมาณ Escherichia coli และโคลิฟอร์มแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในผักกาดหอมเพื่อพัฒนาเป็นน้ำยาล้างผัก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 45(3), 334-342.

ทิฆัมพร กรรเจียก, พัฒนา ภูลเปี่ยม, ฉลวย มุสิกะ, วันชัย วงสุดาวรรณ และอาวุธ หมั่นหาผล. (2561). การปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์ม และฟีคอลโคลิฟอร์มในแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณอ่าวชลบุรี ถึงอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี. วารสารแก่นเกษตร, 46(ฉบับพิเศษ), 992-997.

ปริญญา ทับเที่ยง. (2565, กันยายน). คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การตรวจวิเคราะห์ Coliform bacteria และ Escherichia coli ในอาหาร. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, https://sci.skru.ac.th/th/file/gam/toolsci/file_04.pdf.

สุดสายชล หอมทอง และพิมพร มนตรี. (2561). การตรวจหาแบคทีเรียโคลิฟอร์มในเครื่องดื่มสมุนไพรที่วางจำหน่ายในตลาดสด ใกล้กับมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 5(2), 11-21.

สุดสายชล หอมทอง และพิมพร มนตรี. (2562). การตรวจหาแบคทีเรียโคลิฟอร์มและ Escherichia coli ในตัวอย่างน้ำอ้อยสดบริเวณอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 6(2), 43-50.

อนุสรณ์ เป๋าสูงเนิน, สาริการ์ ลาจำนงค์, สุชาวดี ฉิมกูล, สุวนันท์ ก้องเมือง และวัลลภ ภิญโยวงษ์. (2560). การปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำแข็งและสภาพสุขาภิบาลร้านค้าขายปลีก ร้านขายเครื่องดื่ม บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิชาการซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต, 1(1), 10-18.

Khan, M. M., Islam, M. T., Chowdhury, M. M. H., & Alim, S. R. (2015). Assessment of microbiological quality of some drinks sold in the streets of Dhaka University Campus in Bangladesh. International Journal of Food Contamination, 2, 1-5. https://doi.org/10.1186/s40550-015-0010-6

Suryani, D., Sunarti, D., Safitri, Safitri, R. A., Khofifah , H., & Suyitno. (2021). Identification of Coliform bacteria content in Thai Tea drinks and its correlation with hygiene factors in Yogyakarta, Indonesia. Public Health of Indonesia, 7(1), 41-47. https://doi.org/10.36685/phi.v7i1.388

Tankeshwar, A. (n.d.). IMViC Tests Principal Procedure. Microbe Online, https://microbeonline.com/imvic-tests-principle-procedure-and-results/.