ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานเก็บขนขยะ สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานเก็บขนขยะสังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 75 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ดัชนีความตรงในเนื้อหาของแบบสอบถามเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุอยู่ในระดับดี ร้อยละ 73.3 ปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกับอันตรายของขยะและการป้องกันอุบัติเหตุ ปัจจัยเอื้อด้านนโยบายของหน่วยงาน ปัจจัยเสริมด้านการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานเก็บขนขยะ และปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานเก็บขนขยะอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกับอันตรายของขยะและการป้องกันอุบัติเหตุ ปัจจัยเอื้อด้านนโยบายของหน่วยงานสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานเก็บขยะได้ร้อยละ 35.8 ดังนั้นเทศบาลแห่งนี้ควรมีกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยและอบรมให้ความรู้กับพนักงานเก็บขนขยะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ, กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย. (2566, 11 เมษายน). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. กรมควบคุมมลพิษ, https://www.pcd.go.th/publication/29509/.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ. (2567, 1 เมษายน). รายงานประจำปี 2566 กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย. กรมควบคุมมลพิษ, https://www.pcd.go.th/publication/31609/.
จุฬาลักษณ์ บารมี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. ศรีศิลปะการพิมพ์.
วิราภรณ ทองยัง. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค และการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ. สำนักการวิจัยแห่งชาติ, https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_ DOI=10.14457/MU.the.2009.7.
ทวี บุตรสอน. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะเทศบาลเมืองศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(2), 102-110.
ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ. (2562, 9 กรกฎาคม). สถาณการณ์ขยะโลกกับประเทศที่ผลิตขยะที่มีมากที่สุดในโลกขณะนี้. THESTANDARD, https://thestandard.co/garbage-situation/.
นพรัตน์ เที่ยงคำดี, ฉันทนา จันทร์วง และพรนภา หอมสินธุ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(1), 43-55.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 11(1), 32-45.
สมจิรา อุสาหะวงค์. (2559). ปจจัยที่มีความสัมพันธกับพฤติกรรมปองกันอุบัติเหตุของพนักงานจัดเก็บขยะในเขตอําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.
สิทธิชัย ใจขาน และวราภรณ์ พันธ์ศิริ. (2562). พฤติกรรมและความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขนมูลฝอย กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(1), 50-59.
Pearson, K. (1920). Notes on the history of correlation. BIOMETRIKA, 13(1), 25-45. https://doi.org/10.1093/biomet/13.1.25