การพัฒนาโปรแกรมการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุธีรา ณ เชียงใหม่

บทคัดย่อ

โรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นสถานที่หนึ่งที่จำเป็นต้องมีการดำเนินการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
เพื่อลดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับสามเณรในโรงเรียน
พระปริยัติธรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อย และ
จากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล


            ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้ร่วมกันออกแบบรูปแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และกิจกรรมให้ความรู้
เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์พาหะนำโรค ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติตามแผนทั้งหมด 5 สัปดาห์  และ
ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังการให้ความรู้ พบว่า คะแนนความรู้หลังจากให้ความรู้ (มัธยฐาน 15.50
, IQR 5.75) สูงกว่าก่อนได้รับการให้ความรู้ (มัธยฐาน 23.00, IQR 2.00)
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความเป็นไปได้ในการใช้รูปแบบ ผู้ประเมินความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการนำรูปแบบไปใช้มีเกณฑ์มาตรฐานที่ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น 6 ข้อ ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถนำรูปแบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมนี้ไปใช้
ในการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา กาญจนสินนท์. (2536). โครงสร้างและการเข้าถึงเครือข่ายเศรษฐกิจนอกระบบในชนบท.
วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
จีระศักดิ์ ทัพผาและดิเรก ดิษฐเจริญ. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน
และควบคุมโรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 8 ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2562, จาก http://ryssurvey.com/vichakarn/downloadq
.php?f=ddc_201710181134557859_150_1001ca.pdf&fc=title%2094.pdf
จิราภรณ์ จองฉิม. (2558). สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา(สิ่งแวดล้อม). สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563,
จาก https://prezi.com/ohrbd6b2njzm/presentation/
ทัพพ์ขวัญ ศรีรัตยาวงค์, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร และอะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2555). การพัฒนาโปรแกรมการ
ป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมีส่วนร่วมของ
ชุมชน. พยาบาลสาร, 39(1), 48-63.
ปาริชาต แอนเดรส, วราภรณ์ บุญเชียง และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2559). การพัฒนาศักยภาพของแกนนำ
นักเรียนในการจัดการขยะในโรงเรียนโดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
เชียงใหม่.
พระภาวนาวิริยคุณ. (2554). หลวงพ่อตอบปัญหา. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562, จาก
https://www.dmc.tv/pages/good_QA/ฆ่ายุงใช้ยาฆ่าแมลง-หลวงพ่อตอบปัญหา.html#q2
พินิจ ลาภธนานนท์. (2556). สุขภาวะของพระสงฆ์ ปี 2555. กรุงเทพฯ: จรัสสนิทวงศ์การพิมพ์.
พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, นิตยา ไทยาภิรมย์ และพระชินภัทร ชินภทฺโท. (2556). กระบวนการพัฒนาการ
สร้างเสริมสุขภาพสามเณร โรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์. พยาบาลสาร. 40(พิเศษ), 57-66.
รพีพรรณ ยงยอด และ รัตนี คํามูลคร. (2561). การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในเขตพื้นที่การ
ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 56-68.
สอาด มุ่งสิน. (2556). แนวคิดและทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย. สืบค้นเมื่อ
16 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.bcnsp.ac.th/2011/admin/att/05-07-
2013aorsaard_course.doc
สิริกร ประสพสุข. (2555). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ภาษาอังกฤษ สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
Bloom, Benjamin S., Thomas J. and Madaus George F. (1971). Handbook on Formative and Summative
Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.