การพัฒนาโปรแกรมการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุธีรา ณ เชียงใหม่
วราภรณ์ บุญเชียง
วรางคณา นาคเสน

บทคัดย่อ

     โรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นสถานที่หนึ่งที่จำเป็นต้องมีการดำเนินการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร ครู ภารโรง แม่ครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อยกับสามเณรแกนนำ และจากแบบสอบถามความรู้เรื่องการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมกับสามเณรแกนนำ และแบบสอบถามในการติดตามและประเมินผลกับสามเณรแกนนำ ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์การจัดหมวดหมู่ของข้อมูล


     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้ร่วมกันออกแบบโปรแกรมการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์พาหะนำโรค ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติตามแผนทั้งหมด 5 สัปดาห์ และผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังการให้ความรู้พบว่า คะแนนความรู้หลังจากให้ความรู้  (มัธยฐาน 15.50, IQR 5.75) สูงกว่าก่อนได้รับการให้ความรู้ (มัธยฐาน 23.00, IQR 2.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p < 0.001) และผลการประเมินความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรม ผู้ประเมินความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการนำโปรแกรมไปใช้มีเกณฑ์มาตรฐานที่ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น 6 ข้อ ดังนั้ นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมนี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา กาญจนสินนท์. (2536). โครงสร้างและการเข้าถึงเครือข่ายเศรษฐกิจนอกระบบในชนบท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

จีระศักดิ์ ทัพผา, และดิเรก ดิษฐเจริญ. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 8 ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2562, จาก http://ryssurvey.com/vichakarn/downloadq.php?f=ddc_201710181134557859_150_1001ca.pdf&fc=title%2094.pdf

จิราภรณ์ จองฉิม. (2558). สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา(สิ่งแวดล้อม). สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563, จาก https://prezi.com/ohrbd6b2njzm/presentation/

ทัพพ์ขวัญ ศรีรัตยาวงค์, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร, และอะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2555). การพัฒนาโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. พยาบาลสาร, 39(1), 48-63.

ปาริชาต แอนเดรส, วราภรณ์ บุญเชียง, และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2559). การพัฒนาศักยภาพของแกนนำนักเรียนในการจัดการขยะในโรงเรียนโดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พระภาวนาวิริยคุณ. (2554). หลวงพ่อตอบปัญหา. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์2562, จาก https://www.dmc.tv/pages/good_QA/ฆ่ายุงใช้ยาฆ่าแมลง-หลวงพ่อตอบปัญหา.html#q2

พินิจ ลาภธนานนท์. (2556). สุขภาวะของพระสงฆ์ ปี 2555. กรุงเทพฯ: จรัสสนิทวงศ์การพิมพ์.

พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, นิตยา ไทยาภิรมย์, และพระชินภัทร ชินภทฺโท. (2556). กระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพสามเณร โรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์. พยาบาลสาร. 40 (พิเศษ), 57-66.

รพีพรรณ ยงยอด, และรัตนี คํามูลคร. (2561). การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในเขตพื้นที่การประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 56-68.

ศูนย์สุขภาพชุมชนนครพิงค์. (2560). รายงานปฏิบัติงานสำรวจลูกน้ำยุงลาย. [รายงานประจำปี 2560]. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน2560, จาก http://mis.nkp-hospital.go.th/

ศูนย์อนามัยที่ 1 กรมอนามัย. (2559). สามเณรทำได้สู่การพัฒนาสุขภาพอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562, จาก http://oec.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=721

สอาด มุ่งสิน. (2556). แนวคิดและทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน2563, จาก http://www.bcnsp.ac.th/2011/admin/att/05-07-2013aorsaard_course.doc

Bloom. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.