ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด (2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 216 ราย โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติแบบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีคะแนนระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 38.9 และมีคะแนนระดับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 98.60 ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด (r = 0.344,p =< 0.001) การเพิ่มระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพควรดำเนินการผ่านการสร้างโอกาสการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมและระบบบริการในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ มีช่องทางการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวก ปรับกระบวนการสื่อสารกับผู้ป่วย มีการให้สุขศึกษา ตลอดจนสร้างสื่อสุขภาพที่มีข้อมูลเที่ยงตรง เชื่อถือได้ เพื่อเกิดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อผู้ป่วย
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กองสุขศึกษา, กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
ปัทมาพร ธรรมผล, นพวรรณ เปียซื่อและสุจินดา จารุพัฒนมารุโอ. (2559). ความแตกฉานด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). สถิติประชากรศาสตร์ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563, จาก http://www.nso.go.th.
โสภิต ก่อพูนศิลปและทิพาพร พงษ์เมษา. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในช่วงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. สงขลานครินทร์เวชสาร. 35(4), 14-25.
หน่วยงานหลังคลอดและนรีเวช. (2563). สถิติผู้ป่วยหลังคลอด. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563, จาก http://www.med.swu.ac.th/msmc/w8-2.
อัญชลี จันทรินทรากร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของสาธารณสุข (อสม.) ในเขตเทศบาลตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
Yamane, T. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 32(4), 567-574.