ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

Main Article Content

พิชญ์ศุภากาณต์ ไต่เมฆ
ปรารถนา กันทอน

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด  (2)ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 216 ราย เลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าของกลุ่มตัวอย่าง และเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่มีการตรวจคุณภาพเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาหาค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


     ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในภาพรวมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 38.9) (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การนับถือศาสนา ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประวัติการเป็นโรคมะเร็งของคนในครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ (3)ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด การเพิ่มระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพควรดำเนินการผ่านการสร้างโอกาสการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมและระบบบริการในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ มีช่องทางการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวก ปรับกระบวนการสื่อสารกับผู้ป่วย มีการให้สุขศึกษา ตลอดจนสร้างสื่อสุขภาพที่มีข้อมูลเที่ยงตรง เชื่อถือได้ เพื่อเกิดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถิติสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563, จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_statistic2558.pdf.

กองสุขศึกษา, กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.

ธนาลักษณ์ สุขประสาน (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันข้อมูลสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปัทมาพร ธรรมผล, นพวรรณ เปียซื่อ, และสุจินดา จารุพัฒนมารุโอ. (2559). ความแตกฉานด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). สถิติประชากรศาสตร์ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563, จาก http://www.nso.go.th.

โสภิต ก่อพูนศิลป, และทิพาพร พงษ์เมษา. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในช่วงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. สงขลานครินทร์เวชสาร. 35(4), 14-25.

หน่วยงานหลังคลอดและนรีเวช. (2563). สถิติผู้ป่วยหลังคลอด. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563, จาก http://www.med.swu.ac.th/msmc/w8-2.

Nutbeam, D. (2008). Health Literacy and adolescents: a framework and agenda for future research. Health Education Research. 23(5). 48-56.

Pender, N.J. (2002). Pender's Health Promotion Theory. Retrieved August 5, 2002, from: http://www.nurse.ubu.ac.th/sub/knowledgedetail/PD.pdf.

Yamane, T. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 32(4), 567-574.