ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของเกษตรกรสูงอายุ ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วิทชย เพชรเลียบ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของเกษตรกรสูงอายุ ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรสูงอายุ ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 236 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรเพศหญิง ร้อยละ 55.9 เพศชาย ร้อยละ 44.1 อายุเฉลี่ย 59.43 ± 6.56 ปี ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 19.50 ±8.19 ปี และระยะเวลาการทำงานเฉลี่ย 7.13 ± 1.50 ชั่วโมง/วัน กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ร้อยละ 52.5 ลักษณะอันตรายจากอุบัติเหตุ พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของตัด บาด ทิ่มแทง ร้อยละ 51.6 รองลงมาคือ ลื่น หกล้ม ร้อยละ 45.2 ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ไม่ถึงขั้นหยุดงาน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยพฤติกรรมความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.031) โดยผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ปลอดภัยมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานเป็น 1.73 เท่า (95%CI = 1.10-2.95) ของผู้ที่มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานในกลุ่มเกษตรกรสูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
จิว เชาว์ถาวร, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, และวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล. (2557). ภาวะสุขภาพตาม
ความเสี่ยงจากการทำงานของเกษตรกรปลูกหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา.
พยาบาลสาร. 41(2), 35-47.
ทศพล บุตรมี, กานต์พิชชา เกียรติกิจโรจน์, และพีรญา อึ้งอุดรภักดี. (2557). ภาวะสุขภาพและสภาพการ
ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของแรงงานนอกระบบภาคการเกษตร จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร
ความปลอดภัยและสุขภาพ. 7(3), 17-26.
น้ำเงิน จันทรมณี. (2560). ความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของอาชีพแรงงานนอก
ระบบภาคเกษตรกรรม อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(3), 112-123.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี, และวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2553). วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน.
พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ: โครงการสนับสนุนเทคนิคอุตสาหกรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-
ญี่ปุ่น).
สำนักงานสถิตแห่งชาติ. (2562). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562.
กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานเกษตร จังหวัดนครราชสีมา. (2562). ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม
2562, จาก http://www.khorat.doae.go.th/web/index.php/2014-11-27-04-36-03.
สำนักงานเทศบาลตำบลพุดซา. (2562). ข้อมูลจำนวนเกษตรกร พ.ศ.2562. นครราชสีมา: เทศบาลตำบล
พุดซา.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559).
คู่มือแรงงานนอกระบบปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ: กลุ่มอาชีพเกษตรกร. นนทบุรี: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์
แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อนุวัฒน์ อัคคีสุวรรณ์, นุจรีย์ แซ่จิว, จำนงค์ ธนะภพ, และจันจิรา มหาบุญ. (2558). การบาดเจ็บและอาการ
ทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูกอันเนื่องมาจากการทำงานของเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพสวน
ปาล์ม เขตพื้นที่ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 8(3),
48-58.
อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, และดุสิต สุจิรารัตน์. (2558). ความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
ของแรงงานนอกระบบ. พุทธชินราชเวชสาร. 32(2), 162-170.
Best, J.W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.
Bhattarai, D., Singh, B. S., Baral, D., Sah, B. R., Budhathoki, S. S., & Pokharel, K. P. (2016). Work-
related injuries among farmers: a cross-sectional study from rural Nepal. Journal of Occupational
Medicine and Toxicology, 48(11), 1-7.
Bloom, B.S.(1971). Handbook on formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York:
McGraw-Hill Book Company.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and
Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Rujoub, A. R., Khatib, A. I., Shami, A. N., & Salahat, J. (2019). Occupational Safety and Health Practices
among Farmers in Wadi Al Far’a Area, Palestine. Palestinian Journal of Technology and Applied
Sciences, 2(1), 49-60.
Yiha, O., & Kumie, A. (2010). Assessment of occupational injuries in Tendaho Agricultural Development
S.C, Afar Regional State. Ethiopian Journal of Health Development, 24(3), 167-174.