ภาวะไตเสื่อมกับความท้าทายในการส่งเสริมสุขภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคไตเสื่อม (Chronic Kidney Disease: CKD) มีสาเหตุมาจากการเสื่อมตามวัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การใช้ยาแก้ปวดเป็นเวลานาน การมีโรคเรื้อรัง แต่สาเหตุหลักที่ทำให้ไตเสื่อมมากกว่าสาเหตุอื่นคือการบริโภคโซเดียมมากเกินไป โรคนี้มีระยะเวลาดำเนินโรคช้าๆ ไม่ปรากฏอาการ สามารถตรวจพบได้ทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น จึงทำให้บุคคลละเลยการดูแลไตกว่าจะรู้ก็อาจสายเกินไป และเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ดังนั้น การป้องกันการเกิดโรคจึงท้าทายสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ต้องดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในทุกกลุ่มวัย
กลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย ในด้านการสร้างนโยบายสาธารณะ ยังมุ่งเน้นการดำเนินงานในกลุ่มป่วยเป็นหลักทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่ควรมุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ด้านการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันและชะลอไตเสื่อม ถึงแม้มีการสร้างสื่อทุกรูปแบบในการรณรงค์ต่างๆแต่อาจต้องประเมินการเข้าถึงสื่อของกลุ่มวัยต่างๆที่ควรมีทั้งสื่อร่วมและสื่อเฉพาะกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ยังต้องการการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการปัญหาไตเสื่อม โดยเฉพาะการรณรงค์และการมีมาตรการของชุมชน ด้านการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลยังพบว่ามุ่งเน้นในกลุ่มป่วยเป็นหลัก การละเลยกลุ่มที่ยังไม่ป่วยอาจทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้ และด้านการปรับระบบบริการสุขภาพ นอกจากระบบการคัดกรองกลุ่มป่วยเพื่อการรักษาแล้ว ควรมุ่งเน้นกลุ่มเสี่ยงสูงโดยเฉพาะวัยทำงาน ซึ่งจะทำให้เกิดลดค่าใช้จ่ายในอนาคตหากคนเหล่านี้ไม่เป็นโรคไตเสื่อม
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
นีโลบล เนื่องตัน และนันตรา สุวันทารัตน์. (2553). การวัดระดับไมโครอัลบูมินในปัสสาวะ (Microalbuminuria). สืบค้นจาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=411
พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, ประทีป หมีทอง. (2561). ปัจจัยที่เป็นตัวทำนายโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 35(2), 26-37.
พัชรีมณี ไพโรจน์. (2562). กระบวนทัศน์การพัฒนาระบบสุขภาพไทย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ (P-ISSN: 2586-811X, E-ISSN: 2730-2644), 3(2), 62-71.
วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. (2561). โครงการพัฒนาต้นแบบโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพในการจัดการอาหารสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม. สืบค้นจาก https://thlp.ops.moph.go.th/pdf/docdownload
วาสนา รวยสูงเนิน, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์, สมจิต แดนสีแก้ว, นพนันท์ ชัยภูมิ, รุ่งทิวา ขันธมูล, เกษม ดำนอก. (2561). สถานการณ์การรับประทานอาหารโซเดียมสูงและการรับรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโซเดียมสูงกับการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 36(3), 242-250.
วิศิษฏ์ สิตปรีชา. (2560). แนวโน้มคนไทยป่วยไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น สธ.เร่งผุดคลินิกชะลอไตเสื่อมใน รพ.ทั่วประเทศ. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2017/08/14351
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, สันติลาภ เบญจกุล และดวงดาว ศรียากูล. (2562) การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบนำร่องการปฏิรูประบบบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคระดับพื้นที่. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สายหยุด มูลเพ็ชร. (2558). การสำรวจปริมาณโซเดียมที่ขับออกมาทางปัสสาวะและปัจจัยที่มีผลต่อการกินเค็มในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). ความหมายของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content-s9-define
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). ยุทธศาสตร์ (ยุติ) ความเค็ม. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/47702
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). เผยสถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี. (2559). การบริโภคอาหารถูกส่วนจากแหล่งอาหารคุณภาพด้วยสูตร อาหาร 2:1:1 และสูตรอาหาร 6:6:1.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). สปสช.เผย 6 ปี ช่วยผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเข้าถึงการรักษา ปัจจุบันดูแลกว่า 2.7 หมื่นราย. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=OTU4
สุรศักดิ์ กันตชูเวชศิริ. (2559). ตำราโรคไตเรื้อรัง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่นจำกัด.
สุรศักดิ์ กันตชูเวชศิริ. (2560). คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. สืบค้นจาก http://www.nephrothai.org
Almirall J. (2016). Sodium Excretion, Cardiovascular Disease, and Chronic Kidney Disease. JAMA. Sep 13;316(10):1112. [PubMed]
Bello, A. K., Alrukhaimi, M., Ashuntantang, G. E., Bellorin-Font, E., Gharbi, M. B., Braam, B. and Johnson, D. W. (2018). Global overview of health systems oversight and financing for kidney care. Kidney international supplements, 8(2), 41-51.
Bindroo S., Bryan S., Rodriguez., Hima J., Challa. (2020). Renal Failure. Retrieved From https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK519012/
Boozari, M., Hosseinzadeh, H. (2017). Natural medicines for acute renal failure: A review. Phytotherapy research, 31(12), 1824-1835.
Centre for Food Safety. (2019). Reduction of Dietary Sodium and Sugar. Retrieved From https://www.cfs.gov.hk/english/programme/programme_rdss/FAQ_Sodium_Public.html
Desmedt, S., Spinewine, A., Jadoul, M., Henrard, S., Wouters, D. and Dalleur, O. (2018). Impact of a clinical decision support system for drug dosage in patients with renal failure. International Journal of Clinical Pharmacy, 40(5), 1225-1233.
e Silva, G. F., de Souza, A. L. T., Sousa, B. D. O. P., Watanabe, M., da Fonseca, C. D. and Vattimo, M. D. F. F. (2020). Identification of acute kidney injury in an intensive care unit: parameters for clinical nursing evaluation. Research, Society and Development, 9(3), 80932451.
Khan, Y. H., Mallhi, T. H., Sarriff, A., Khan, A. H. and Tanveer, N. (2018). Prevalence of Chronic Kidney Disease in Asia: A Systematic Review of Population-Based Studies. Journal of the College of Physicians and Surgeons Pakistan, 28(12), 960-966.
Lindner A, Sherrard DJ. (1996). Acute renal failure. N. Engl. J. Med. Oct 24;335(17):1320-1; author reply 1321-2. [PubMed]
Ma, J., Lee, S., Kim, K. and Lee, Y. K. (2020). Sodium reduction in South Korean restaurants: A Daegu-based intervention project. Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition, 29(2), 404.
Morales, C. and Rusmevichientong, P. (2020). Dietary Salt-Related Knowledge, Attitude, Behaviors, and Hypertension in a Rural Northern Thailand Population. Current Developments in Nutrition, 4(Supplement_2), 870-870.
Nerbass, F. B., Calice-Silva, V. and Pecoits-Filho, R. (2018). Sodium intake and blood pressure in patients with Chronic Kidney Disease: a salty relationship. Blood Purification, 45(1-3), 166-172.
Park, H. K., Lee, Y., Kang, B. W., Kwon, K. I., Kim, J. W., Kwon, O. S. and Kim, C. (2020). Progress on sodium reduction in South Korea. BMJ Global Health, 5.5: e002028.
Park, S., Lee, H., Seo, D. I., Oh, K. H., Hwang, T. G. and Choi, B. Y. (2016). Educating restaurant owners and cooks to lower their own sodium intake is a potential strategy for reducing the sodium contents of restaurant foods: a small-scale pilot study in South Korea. Nutrition Research and Practice, 10(6), 635-640.
Perlman, A., Heyman, S. N., Matok, I., Stokar, J., Muszkat, M. and Szalat, A. (2017). Acute renal failure with sodium-glucose-cotransporter-2 inhibitors: Analysis of the FDA adverse event report system database. Nutrition, Metabolism and Cardiovascular Diseases, 27(12), 1108-1113.
Wong, A. S. C., Coyle, D. H., Wu, J. H. and Louie, J. C. Y. (2020). Sodium concentration of pre-packaged foods sold in Hong Kong. Public Health Nutrition, 23(15), 2804-2810.
World Health Organization. (1986). Health promotion. Retrieved From https://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/
World Health Organization. (2020). Salt reduction. Retrieved From https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/salt-reduction
World Heath Organization. (2000). The World Health Report 2000: Health Systems: Improving performance. Geneva, WHO.