ความรู้ ความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง 2 ระยะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรู้ ความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนและหลังกิจกรรมระยะที่ 1 และ 2 ของการอบรมเชิงปฏิบัติการ และ (2) เปรียบเทียบความรู้ ความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกับการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนและหลังกิจกรรมระยะที่ 1 และ 2 ของการอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้สูงอายุในตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยาจำนวน 44 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องกิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้การดูแลสุขภาพ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบจับคู่
ผลการศึกษาพบว่า (1) ความรู้ก่อนการอบรมส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลาง หลังกิจกรรมระยะที่ 1 และหลังกิจกรรมระยะที่2 อยู่ระดับมาก ความรอบรู้ก่อนและหลังกิจกรรมระยะที่ 1 และ 2 อยู่ในระดับมากทั้งสามระยะ พฤติกรรมก่อนและหลังกิจกรรมระยะที่ 1 ส่วนใหญ่ระดับพฤติกรรมเหมาะสมปานกลางและหลังกิจกรรมระยะที่ 2 ส่วนใหญ่ระดับพฤติกรรมเหมาะสมดี และ (2) เมื่อเปรียบเทียบความรู้ ความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพพบว่า ความรอบรู้รวมหลังกิจกรรมระยะที่1และ 2 มากกว่าก่อนการอบรมและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพหลังกิจกรรมระยะที่ 1 ต่างจากหลังกิจกรรมระยะที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการให้ความรู้จึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อพฤติกรรมสุขภาพในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
โรค ความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรค ความดันโลหิตสูง . Rama Nurse J. ปีที่25(3): 280-295. กรุงเทพฯ.
กฤษฎา พรหมสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองไม้แก่น.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏราชนครินทร์. ฉะเชิงเทรา.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข. ค้นเมื่อ มกราคม 2561,
จาก: www.bps. moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ
และพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 7-14 ปี และกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป.ฉบับปรับปรุง 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และดวงเนตร ธรรมกุล. (2558). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากร
ผู้สูงวัย. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 9(2): 1-8. กรุงเทพฯ.
จุฑาพร แหยมแก้ว. รูปแบบการจัดกิจกรรมผู้สูงอายุในโรงเรียนสร้างสุข ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง
จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
ชนวนทอง ธนสุขกาญจน์. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ.ค้นเมื่อ มกราคม 2561.จาก,
https://www.ayo.moph. go.th/ncd/file_upload/subblocks/HLO_chanuanthong.pdf
ฐิติชญา ฉลาดล้น สุทธีพร มูลศาสตร์ และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริม
สุขภาพผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ คลังปัญญา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุขปี ที่27(2) 154-167.ค้นเมื่อ มีนาคม 2561.จาก,
https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=206983
ณัฐนันท์ ขำเดช และ คณิสสร สุภกิจ. (2562). รายงานการฝึกประสบการวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
ปีการศึกษา 2561/2. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ณรงค์ กรชัยวงศ์, ปัณณทัต บนบุนทด. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อ การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ Predicting Factors Preventive Behaviors for Coronary Heart Disease among Persons at Risk to Disease . Journal of Nursing and Health Care 37 (2), 6-15
ดลนภา ไชยสมบัติ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อน
สูงอายุ. NJPH Vol. 29 No. 3 September – December 2019.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี
เทพไทย โชติชัย. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดัน
โลหิตสูง ของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ปีที่ 7(1) มกราคม - เมษายน 2563:45-56. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยการพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
ธัญชนก ขุมทอง วิราภรณ์ โพธิศิริและขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้าน
สุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร 2559; 3(6): 67-85. กรุงเทพฯ
ธวัช บุญนวล. (2560). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการสื่อสาร สุขภาพกับ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิทยาการจัดการ ปีที่ 4(2): 257-283. กรุงเทพฯ
ปัทมา สุพรรณกุล. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
ชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ปีที่ 11(1): 211-223 ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.ปทุมธานี
ประไพพิศ สิงหเสม, พอเพ็ญ ไกรนราและวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้
ทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ 2ส.ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 11(1): 38-51. อุตรดิตถ์
พนิดา จันทร์ดีแก้วสกุล. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง
ชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้ .Vol 36(1): 31-43.Journal of Nursing Science. กรุงเทพฯ
พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารวิชากร
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. ปีที่ 2(1) ค้นเมื่อ มีนาคม 2561,จาก
https://www.tci-thaijo.org/index.php/ EAUHJSocSci/article/view/28613
พงศธร ศิลาเงิน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุใน
จังหวัดพะเยา.สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.ปทุมธานี.
ภาวินี ศรีสันต์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้น
หัวใจ. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือปีที่(25)1: 1-13.เชียงใหม่: บริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด
รสสุคนธ์ มกรมณี. (มปป). (2562). เทคนิคการฝึกอบรม:สื่อ ประเภทวิธีการ. (อินเตอร์เน็ต). ค้นเมื่อ
สิงหาคม 2562,จาก https://www.academia.edu/4373947/
วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติกาพยาบาล.
วารสารแพทย์นาวี; 44(3): 183-197. กรุงเทพฯ
วชิระ เพ็งจันทร์. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ
บุคลากรกรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
วาสนา สิทธิกัน, สายหยุด มูลเพ็ชรและสามารถ ใจเตี้ย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. ลำปางเวชสาร 38(2) :49-58. ลำปาง
วรนัน คล้ายหงส์. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอของผู้สูงอายุ
โรคเบาหวานชนิดที่ 2. Vol. 24(1) วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.ชลบุรี
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). โรงเรียนผู้สูงอายุ เปลี่ยนไม้ใกล้ฝั่งให้เป็น
พลังทางสังคม. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2561,จาก: https://www.thaihealth.or.th
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติประชากรไทย. ค้นเมื่อ สิงหาคม 2562,จาก:
http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx
สุภามาศ ผาติประจักษ์,สมจิต หนุเจริญกุลและนพวรรณ เปียซื่อ. (2557). ปัจจัยทำนายความสามารถใน
การดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 . รามาธิบดีพยาบาลสาร 20,(1),97-111. กรุงเทพฯ
สุรพันธ์ สิทธิสุข. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย
ฉบับปรับปรุง ปี 2557.พิมพ์ครั้งที่ 2หน้า 15-41. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด
สุวิมล รอบรู้เจน. (2560 ). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ปีที่ 9(3)
ค้นเมื่อ สิงหาคม 2562,จากfile:///C:/Users/admin/Downloads/99136-Article%20Text-248260-1-10-20170915%20(3).pdf
อารีย์ แร่ทอง. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุข
ประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปีที่ 15(3): 62-70.นนทบุรี
เอกชัย ชัยยาทา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการรับประทานยา
และการมาตรวจตามนัด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดลำพูน.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่(28)1: 182-196. ลำปาง
Amy K. Chesser, Nikki Keene Woods, Kyle Smothers and Nicole Rogers. (2016). Health Litracy
and Older Adult a systematic review. Geronto Geriatr Med. 2016 Jan-Dec; 2:
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5119904/
Green, L. W., & Kreuter, M. W. (1999). Health promotion planning third edition an
educational and ecological approach (3rd ed.). California: Mayfield publishing co.
Hersh L, Salzman B, Synderman D. Health literacy in primary care practice. Am Fam
Physician. 2015; 92(2): 118-24.