ความรู้ ความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เนตรนภา สาสังข์
นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง 2 ระยะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรู้  ความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนและหลังกิจกรรมระยะที่ 1 และ 2 ของการอบรมเชิงปฏิบัติการ และ  (2) เปรียบเทียบความรู้ ความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกับการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนและหลังกิจกรรมระยะที่ 1 และ 2 ของการอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้สูงอายุในตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยาจำนวน 44 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง  ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องกิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้การดูแลสุขภาพ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบจับคู่


     ผลการศึกษาพบว่า (1) ความรู้ก่อนการอบรมส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลาง หลังกิจกรรมระยะที่ 1 และหลังกิจกรรมระยะที่2  อยู่ระดับมาก  ความรอบรู้ก่อนและหลังกิจกรรมระยะที่ 1 และ 2 อยู่ในระดับมากทั้งสามระยะ  พฤติกรรมก่อนและหลังกิจกรรมระยะที่ 1 ส่วนใหญ่ระดับพฤติกรรมเหมาะสมปานกลางและหลังกิจกรรมระยะที่ 2 ส่วนใหญ่ระดับพฤติกรรมเหมาะสมดี  และ (2) เมื่อเปรียบเทียบความรู้ ความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพพบว่า ความรอบรู้รวมหลังกิจกรรมระยะที่1และ 2 มากกว่าก่อนการอบรมและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพหลังกิจกรรมระยะที่ 1 ต่างจากหลังกิจกรรมระยะที่ 2  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการให้ความรู้จึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อพฤติกรรมสุขภาพในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ การีสรรพ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรค ความดันโลหิตสูง. Rama Nurse J. ปีที่25 (3): 280-295. กรุงเทพฯ.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2561, จาก: www.bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 7-14 ปี และกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป.ฉบับปรับปรุง 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, และดวงเนตร ธรรมกุล. (2558). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากร ผู้สูงวัย. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 9 (2): 1-8. กรุงเทพฯ.

จุฑาพร แหยมแก้ว. (2560). รูปแบบการจัดกิจกรรมผู้สูงอายุในโรงเรียนสร้างสุข ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ

ฐิติชญา ฉลาดล้น, สุทธีพร มูลศาสตร์, และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ คลังปัญญา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ปีที่27(2) 154-167. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2561.จาก, https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=206983

ณัฐนันท์ ขำเดช, และคณิสสร สุภกิจ. (2562). รายงานการฝึกประสบการวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน ปีการศึกษา 2561/2. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ณรงค์ กรชัยวงศ์, และปัณณทัต บนบุนทด. (2562). Predicting Factors Preventive Behaviors for Coronary Heart Disease among Persons at Risk to Disease. Journal of Nursing and Health Care 37 (2), 6-15

เทพไทย โชติชัย. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นที่ 7. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยการพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2563:45-56

ภัทรสิริ พจมานพงศ์, จารุวรรณ กฤตย์ประชา, และทิพมาส ชิณวงศ์.(2556). พฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจกำ เริบซํ้าในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เฉียบพลันหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ. เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4; 2556.

ประไพพิศ สิงหเสม, พอเพ็ญ ไกรนรา, และวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ 2ส.ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 11(1): 38-51. อุตรดิตถ์

พนิดา จันทร์ดีแก้วสกุล. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้ . Journal of Nursing Science. Vol 36(1): 31-43

พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารวิชากรมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. ปีที่ 2(1) สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2561,จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/ EAUHJSocSci/article/view/28613

รัตนา ทรัพย์บำเรอ.(2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติกาพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี; 44(3): 183-197. กรุงเทพฯ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). โรงเรียนผู้สูงอายุ เปลี่ยนไม้ใกล้ฝั่งให้เป็นพลังทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2561,จาก: https://www.thaihealth.or.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติประชากรไทย. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2562,จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2555). สรุปรายงานการป่วย พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบราชูปถัมภ์; 2556

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561). ข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ หน่วยบริการปฐมภูมิ. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562, จาก: http://www.gishealth.moph.go.th/

World Health Organization. (2014). Global status report on noncommunicable diseases 2014.[Cited 2015 June 2]. Available from: http://www.who.int/ nmh / publications/ncd-status-report-2014/en/